Category Archives: Passive Trading

การออกแบบระบบเทรด Passive Trading (เฉพาะสมาชิก)

1 จำนวนเงินที่ฝากเข้าต่อครั้ง

การออกแบบพอร์ต พอร์ตลงทุนของคุณคือ ขนาดเงินลงทุนที่คุณมีทั้งหมด ซึ่งจะใหญ่กว่าจำนวนเงินที่เข้าเทรดจะต้องมีประมาณ 5 เท่าของการฝากเข้าบัญชีเทรด MT4 ดังนั้น พอร์ตที่คุณต้องบริหาร ถ้าคุณมีเงิน 1000 USD หรือประมาณ 30,000 บาท คุณสามารถฝากเข้าต่อครั้งได้ที่ครั้งละ 200 USD เราจะไม่ฝากเข้าอีก จนกว่าจะล้างพอร์ตและเงิน 200 USD จะใช้เป็นเงินตั้งต้น ถ้าหากคุณมีเงินลงทุน Forex ประมาณ 10,000 USD คุณก็ลงทุนครั้งละ 2000 USD วิธีคิดง่าย ๆ คือ เอาเงินที่คุณมีทั้งหมด หารด้วย 5 ดูตัวอย่างได้จากภาพด้านล่าง จำนวนเงินที่ฝากเข้าต่อครั้ง เมื่อคุณฝากเข้าแล้วคุณจะเทรดด้วยเงินที่มีเท่านั้น สิ่งที่คุณต้องคำนวณคือ ขนาดของการเข้าออเดอร์ สำหรับเงิน 200 USD ให้คุณส่งคำสั่งด้วยขนาด 0.10 Lot ไม่เกิน 3 ชุด ต่อ 1 ค่าเงิน ถ้าหากคุณมีเงิน [อ่านเนื้อหา]

Passive Trading ตัวอย่างการวิเคราะห์ตลาดจริงและการเข้าออก

Passive Trading เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาโดย Forexduck เผยแพร่แก่นักลงทุนหน้าใหม่ให้มีระบบเทรดเข้าซื้อขายอย่างเป็นระบบ มี mm อย่างถูกต้อง คำนวณทุกอย่างมาแล้ว สามารถใช้ได้ง่าย และทำกำไรได้จริง มีที่ปรึกษาดูแลให้ความรู้ นี่เป็นตัวอย่างในการวิเคราะห์ตลาดจริง เราจะใช้เครื่องมือคำนวณการวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์ในตลาดเพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ของค่าเงิน ที่พัฒนาขึ้นมาเฉพาะ และเลือกค่าเงินที่ถูกต้องโดยไม่มีความสัมพันธ์กันเชิงเศรษฐกิจและไม่สัมพันธ์กับตัวมันเองโดยขั้นตอนมีดังต่อไปนี้ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ passive trading ค่าเงินจะถูกติดตามทดสอบการเคลื่อนไหว เลือกคู่ค่าเงินเพื่อติดตามค่าความสัมพันธ์ เมื่อถึงเวลาค่าเงินเหมือนกันเรามีความคาดหวังอย่างไร เกณฑ์การเลือกการตัดสินใจ ค่าความสัมพันธ์ที่ถูกเฝ้าดูเราจะมีวิธีแนวทางว่า ถ้าค่าความสัมพันธ์ใดมันเป็นบวกสูง ๆ มันจะเหวี่ยงกลับมาเป็นลบ ถ้าค่าความสัมพันธ์ใดเป็นลบกันมาก ๆ มันจะกลับมาเป็นบวก การเหวี่ยงตัวบวกและลบของค่าความสัมพันธ์ เมื่อเราดูความสัมพันธ์ของกราฟแล้วพบว่า ช่วงนี้มันเหมือนกันมากแล้ว เราไปดูกราฟจริง เพื่อจะตัดสินใจว่าจะส่งคำสั่งแบบใด การส่งคำสั่ง ค่าความสัมพันธ์ของค่าเงิน 2 คู่ช่วงเวลาเดียวกันเมื่อผ่านการดูความสัมพันธ์ ในภาพเส้นสีน้ำเงิน เป็นช่วงที่ตลาดมีความสัมพันธ์กันสูง เราดูแล้วว่า “มันมีโอกาสที่จะกลับมาไม่สัมพันธ์กัน” เรารอจนถึงช่วงเวลาที่เราใช้ indicator ในการวัดจุดกลับตัวแล้วส่งคำสั่ง ช่วงเส้นสีน้ำเงิน คือ ช่วงที่กราฟสัมพันธ์กันสูงเกินเป็นค่า + เกิน 70 % หมายความว่า ต่อไปคือ [อ่านเนื้อหา]

การปรับพอร์ตลงทุน (Risk Adjusting and Balancing) แม่นยำ 80 %

1 การปรับพอร์ตลงทุน คือ

การปรับพอร์ตลงทุน คือ การปรับพอร์ตลงทุน เป็นกลยุทธ์ในการบริหารจัดการพอร์ตที่นิยมทำในหมู่กองทุน ในการเล่นหุ้น จะมีการจัดพอร์ตลงทุนออกเป็นตามระดับความเสี่ยง มีการจัดค่า Beta (เบต้า) คือความชันของหุ้น ซึ่งจะมีการจัดตามสัดส่วนการลงทุน เช่น หุ้นที่มีค่าความสัมพันธ์สูง หุ้นที่เคลื่อนไหวตามดัชนี หุ้นที่เคลื่อนไหวตรงข้ามกับดัชนี เมื่อหุ้นขึ้น หุ้นที่เคลื่อนไหวตามดัชนีจะทำกำไรได้ แต่หุ้นที่เคลื่อนไหวไม่สอดคล้องกับดัชนีก็จะไม่ทำกำไร ทีนี้คำถามมีอยู่ว่า แล้วต้องขายตัวไหน? ขายตอนไหน? เพราะถ้าเลือกจังหวะขายไม่ดีก็จะเป็นการขายเร็วเกินไป ตลาดหุ้นเรียกว่า “ขายหมู” ดัชนีการเคลื่อนไหวตลาดกับการเคลื่อนไหวของหุ้นและอุตสาหกรรม การหาคำตอบว่าขายตอนไหน จึงเรียกว่า เป็นการ “ปรับพอร์ตลงทุน” เพื่อดูว่าตัวไหนควรมีการเลือกเข้าพอร์ตใหม่ ตัวไหนควรมีการเลือกออกจากพอร์ตลงทุน เรียกง่าย ๆ ว่า “ทำกำไร” และ “ตัดขาดทุน” ปรับพอร์ตลงทุนตัวไหน ปรับเปลี่ยนน้ำหนักการลงทุน ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุน การจัดพอร์ตลงทุนในตลาด Forex นั่นก็เป็นการจัดพอร์ตลงทุนในตลาดหุ้น พอเราพูดถึงการจัดพอร์ตลงทุนในตลาด Forex ก็ต้องมีการทบทวนเรื่องของทิศทางของตลาด ว่าตลาดเป็นไปในทิศทางใด ตลาด Forex แตกต่างจากตลาดหุ้น ทำให้การจัดพอร์ตลงทุนนั้น ไม่สามารถอ้างอิงการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดเงินได้ เพราะว่าตลาดเงินแต่ละตลาดมีตลาดเป็นของตัวเอง แล้วเราจะใช้อะไรหล่ะในการวัดว่า ตลาดกำลังอยู่ในภาวะอิ่มตัวและพร้อมเปลี่ยนทิศทางแล้ว? [อ่านเนื้อหา]

ความสัมพันธ์ของค่าเงิน Correlation การสร้างระบบ Passive Trading +90 % คืออะไร

ความสัมพันธ์ของค่าเงิน คือ ความสัมพันธ์ของค่าเงิน คือ ค่าการเคลื่อนไหวของราคาที่มีความสอดคล้องกัน โดยค่าความสัมพันธ์เป็นค่าทางสถิติ โดยมากใช้ Pearson correlation คำนวณจากระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยมากแล้วมีค่าให้ทั่วไป แต่ค่าทั่วไปนั้นไม่ถูกต้องนัก ต้องมีการหาค่าที่ดีที่สุดและจำเพาะสำหรับค่าเงินที่เลือกต้องไม่สัมพันธ์กันแตกต่างกันตามแนวคิดของ Ray (อ่านเพิ่มเติมได้ใน Passive Trading) สำหรับค่าความสัมพันธ์ หรือ Correlation จะเป็นการคำนวณทางสถิติที่ไม่ซับซ้อนเรียกชื่อว่า Correlation Coefficient มีสูตรคือ สูตรคำนวณ Pearson Correlation ค่าสัมประสิทธ์แบบ Pearson ที่คำนวณออกมาได้จะมีค่าต่ำสุดเป็นเปอร์เซ็น คือ เหมือนกันมากที่สุดคือ +100 % และแตกต่างกันมากที่สุดคือ – 100 % สามารถตีความตามตัวอย่างในกรณีของค่าเงิน EURUSD กับค่าเงิน USDJPY ว่า ถ้าค่าความสัมพันธ์ของ EURUSD กับ USDJPY เท่ากับ + 100 ตีความว่า ถ้า EURUSD ขึ้น USDJPY [อ่านเนื้อหา]

Passive Trading คืออะไร?

แนวคิดของ All weather Story

Passive Trading คือ Passive Trading คือระบบเทรดที่นำเอาคอนเซปต์ของ All weather Story ของ Ray Dalio มาใช้ในตลาด Forex โดย Passive Trading จะเป็นระบบที่เราไม่ต้องทำการวิเคราะห์มาก แต่ใช้ประโยชน์จากความต่างของการเคลื่อนไหวของราคาในแต่ละช่วง เรียกว่า Environmental Biases ซึ่งเสนอโดย เร ดาลิโอ ที่มาของระบบ Passive Trading แนวคิดของ All weather Story ที่มาของระบบ Passive Trading เริ่มจาก ผู้จัดการกองทุนของเรา ได้ศึกษาแนวคิดของ Ray เกี่ยวกับ All weather Story Ray Dalio ได้เผยแพร่การลงทุนที่สามารถอยู่ได้ทุกสภาพแวดล้อม หรือเรียกว่า All weather Story ในเว็บของ Bridgewater ซึ่ง แนวคิดของเขาเริ่มแรกจาก การที่เขาได้บริหารจัดการความเสี่ยงให้กับลูกค้าเจ้าใหญ่อย่าง [อ่านเนื้อหา]