Farm กับ Pool ต่างกันอย่างไร

Farm หรือเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ Liquidity farming หรือ Yield farming ที่ให้นักลงทุนเดิมพันเหรียญของตนเองก่อน โดยจะมีการฝากไว้ใน Protocol การให้ยืมผ่าน Dapps หรือแอพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ โดยนักลงทุนรายอื่นสามารถยืมเหรียญผ่าน Dapps เพื่อใช้ในการเก็งกำไร โดยที่พวกเขาจะได้กำไรจากการแกว่งตัวอย่างรวดเร็วของราคาเหรียญในตลาด

farm vs pool crypto

แตกต่างจาก Pool หรือ Liquidity pool ซึ่งเป็นกลุ่มของเงินทุนถูกล็อคไว้ใน Smart contract เพื่อให้ผู้อื่นสะดวกในการยืมใช้ซื้อขายแบบกระจายศูนย์กลางและยังเป็นแกนหลักของการแลกเปลี่ยนแบบกระจายอำนาจ เช่น Uniswap ซึ่งผู้ใช้จะเพิ่มมูลค่าของ Token สองตัวเพื่อสร้างตลาดโดยแลกกับการจัดหาเงินทุน ซึ่งพวกเขาจะได้รับกำไรเป็นค่าธรรมเนียมที่เกิดจากการซื้อขายในกลุ่มนั่นเอง

ฟาร์มเหรียญคริปโต คือ

Farm หรือที่หลายคนอาจเรียกง่ายๆ ว่าการฟาร์มเหรียญ เป็นการฟาร์มที่ให้ผลตอบแทนจากการให้ยืมสินทรัพย์อย่าง crypto โดยที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูงในรูปแบบของสกุลเงินดิจิทัล การทำฟาร์มในปัจจุบันเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตที่ใหญ่ที่สุดของแพล็ตฟอร์ม DeFi

แต่อย่างไรก็ตาม DeFi หรือการเงินแบบกระจายอำนาจยังคงเป็นนวัตรกรรมใหม่ที่มีความเสี่ยงและค่อนค่อนข้างผันผวน แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังคงได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานจำนวนมากโดยในปี 2563 มีการเติบโตมูลค่าทางทางตลาดจาก 500 ล้านดอลลาร์เป็น 10000 ล้านดอลลาร์

Pool เหรียญ คือ

Pool คือ แหล่งรวมของ Cryptocurrencies หรือ Token ที่ถูกล็อคใน Smart contract ซึ่งเป็นกระบวนการทางดิจิทัลที่ถูกกำหนดขั้นตอนการทำธุรกรรมเอาไว้ในรูปแบบอัตโนมัติ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการซื้อขายระหว่างสินทรัพย์สำหรับการแลกเปลี่ยนแบบกระจายอำนาจ

ซึ่งแพล็ตฟอร์มการเงินแบบกระจายอำนาจหรือ Defi อนุญาตให้มีการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในลักษณะแบบ Smart contract และไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานผ่านการใช้แหล่งรวมสภาพคล่อง

ความเสี่ยงของ Yield farming

ความเสี่ยงที่คุณต้อเจอเมื่อลงทุนใน Farm ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่

  • ความเสี่ยงจากการโดนหลอก
  • ความเสี่ยงจากโค้ด ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ไม่มีใครสามารถควบคุมได้ เนื่องจากเกิดจากข้อผิดพลาดของระบบ
  • ความเสี่ยงเรื่องค่าธรรมเนียม Ethereum ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่เกิดจากการทำธุรกรรมหรือการเปลี่ยนแปลงของค่าธรรมเนียม

ความเสี่ยงของ Liquidity pool

ความเสี่ยงในการลงทุนแบบ Liquidity pool ที่คุณต้องเจอแบ่งออกเป็น 3 ปัญหาหลัก ได้แก่

  • คุณอาจจะเผชิญกับการขาดทุนชั่วคราว ซึ่งมันจะเกิดขึ้นกับเหรียญดิจิทัลที่คุณได้ฝากลงทุนไว้ โดยสาเหตุที่เกิดขึ้นมีส่วนมาจากความผันผวนของราคาสินค้าดิจิทัลในตลาดโลก
  • ความเสี่ยงของ Smart contract หรือกระบวนการทางดิจิทัลที่ถูกกำหนดขั้นตอนการทำธุรกรรมเอาไว้ในรูปแบบอัตโนมัติ ซึ่งเมื่อคุณฝากเงินเข้าเข้าไปในกลุ่มแล้ว เนื่องจากเป็นระบบอัตโนมัติและไม่มีคนกลางในการถือเงิน หากมีข้อบกพร่องจากการกู้ยืมเงินในกลุ่ม คุณอาจต้องสูญเงินไปโดยที่ไม่มีใครสามารถรับผิดชอบได้
  • ในบางกรณีที่นักพัฒนาได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงกฎเพื่อควบคุมหลายๆ อย่างใน pool ซึ่งนักพัฒนาจะมีสิทธิเข้าถึง Smart contract ซึ่งเขาอาจทำสิ่งที่เป็นอันตรายได้ เช่น การควบคุมเงินลุงทุนใน pool เป็นต้น