การจัดการพอร์ตลงทุนทุกสถานการณ์ (All weather story)

การจัดการพอร์ตลงทุน คือ

การจัดการพอร์ตลงทุน หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Money Management มีหลากหลายแนวคิด Ray Dalio นำเสนอแนวคิดการจัดการพอร์ตลงทุนที่สามารถทำกำไรได้ทุกสถานการณ์ โดยที่ความเสี่ยงอยู่ในรูปแบบที่ไม่ผันผวนสูง แนวคิดของเขาเรียกว่า All weather Story เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ Bridgewater.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของเขาเอง

แนวคิดการลงทุน

Ray Dalio กล่าวว่า เขาก่อตั้ง Bridgewater ในช่วงปี 1975 ในนิวยอร์ค และช่วงนั้นเขาเทรดโภคภัณฑ์ ค่าเงิน และตลาดเครดิต ช่วงแรกเขาทำธุรกิจเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาด้านความเสี่ยงแก่ลูกค้าองกรค์ โดยเขียน บทวิเคราะห์รายวันส่งทุกวัน

ในบรรดาลูกค้าของเขาทั้งหมด McDonald เป็นรายหนึ่งที่กังวลเกกี่ยวกับ ราคาไก่ที่อาจจะเพิ่มขึ้น ทำให้เขาต้องเลือกระหว่าง การเพิ่มราคา หรือว่ายอมเสียกำไรส่วนนี้ไป พวกเขาอยากจะ hedge ราคาไก่ แต่ว่ามันไม่มีตลาด Futures ของไก่ และคนขายไก่ก็ไม่อยากจะขายไก่ที่ราคาคงที่เพราะว่า ตัวว่าวันหนึ่งต้นทุนสูงขึ้นก็จะทำให้ขาดทุน

หลังจากใครครวญอยู่ Ray ก็เสนอไปกับทาง McDonal ว่า “ราคาไก่ ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่า ราคาลูกไก่ ราคาข้าวโพด และถั่วเหลือง แต่ราคาลูกไก่นั้นคงที่ ขณะที่ราคาข้าวโพด กับ ราคาถั่วเหลืองแกว่งตัวมาก เขาก็เลยแนะนำให้เอาราคาข้าวโพดกับถั่วเหลืองนี้ให้ทำเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของ McDonal แล้วทำการ Hedging เพื่อป้องกันความเสี่ยง ทำให้ McDonald จัดการความเสี่ยงนี้ได้

แนวคิดนี้ได้รับการขยายต่อมาเพราะว่า ไม่ว่าราคาอะไรก็ตามเราสามารถแตกย่อยมันออกมาได้เป็นองค์ประกอบ และสามารถนำกลับมาใช้รวมกัน เช่นเดียวกันกับ Portfolio ในการลงทุน ที่เป็นองค์ประกอบของราคาสินทรัพย์จำนวนหนึ่งในพอร์ตที่เราเลือกบริหาร

การแบ่งพอร์ตลงทุนเป็นบล็อค (Portfolio Building Blocks)

ช่วงแรกนั้น Ray กับ Bob ได้ทำการบริหารจัดการหนี้สิน ว่าจะทำยังไง พวกเขาได้เขียนแผนการจัดการความเสี่ยงขึ้นมา แผนพวกนี้จะประกอบด้วยขั้นตอน 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย

  1. การวิเคราะห์สถานะความเสี่ยงที่เป็นกลางสำหรับหน่วยงาน
  2. การออกแบบแผนการคานความเสี่ยงและได้ผลตอบแทน
  3. การจัดการแผนกำไรที่ได้มานั้น

การบริหารจัดการนั้น กองทุนได้จ้าง Bridgewater โดยจ่ายเงินตามผลตอบแทนที่ได้รับตามจำนวนออเดอร์ที่มีสถานะความเสี่ยงเป็นกลาง (neutral) แล้วทำให้ช่วงนั้น Bob กับ Ray จัดการความเสี่ยงหนี้องค์กรออยู่ 700 ล้านเหรียญ

แนวคิดการลงทุนของเขาไม่แตกต่างจากการลงทุน ที่บริหารจัดการหนี้นั้น นั่นคือ การหาออเดอร์ที่มีความเสี่ยงเป็นกลางผ่าน Bond Benchmark (พันธบัตร) และได้กำไรส่วนเพิ่มจากการจัดการมูลค่าเพิ่มมาจากความเสี่ยงเป็นกลาง เรียกว่า Value Added หรือ เรียกว่า Alpha คือการได้ผลตอบแทนเพิ่มจาก Benchmark

แนวคิดนี้เป็นวคิดที่สำคัญ เพราะในโลกการลงทุนมีผลิตภัณฑ์การลงทุนจำนวนมาก และจะมีองค์ประกอบของการลงทุนออกเป็น 3 รูปแบบนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง เขายกตัวอย่างว่า “ลองนึกถึงการซื้อกองทุนรวมดู ว่าการลงทุนอาจจะลงทุนในตลาดหุ้นเติบโตพื้นฐานแข็งแกร่ง”

แต่เขาเสนอว่า ผลตอบแทนของการลงทุน สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนเช่นเดียวกัน โดยที่ผลตอบแทนของการลงทุนประกอบด้วย 1.) ผลตอบแทนจากเงินสด 2.) ผลตอบแทนจากการที่มีรายได้เกินจากผลตอบแทนตลาด (Beta) ซึ่งเป็นผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราผลตอบแทนของตลาดดอกเบี้ย และ 3). การเลือกหุ้นของผู้จัดการ (alpha)

ส่วนใหญ่แล้วกองทุนจะไม่ได้สนใจเรื่องการแตกองค์ประกอบให้เป็นข้อย่อยแบบนี้ ทำให้มองไม่เห็นภาพการลงทุน แต่ว่าถ้าเราลงทุนในการลงทุน สมการการลงทุนของเราจะเท่ากับ

return = cash + beta + alpha

ผลตอบแทน = ผลตอบแทนจากดอกเบี้ย+ผลกำไรที่สูงกว่าดอกเบี้ย+การเลือกหุ้นของผู้จัดการกองทุน

หลายคนไม่ได้มองการลงทุนในมุมนี้ และทำให้พลาดอะไรไปมาก เพราะว่า ดอกเบี้ยควบคุมจากธนาคารกลางอยู่แล้ว เราควบคุมไม่ได้ ส่วนราคาหุ้นหรือพันธบัตร ก็ขึ้นลงตามผลตอบแทนของดอกเบี้ย

ลักษณะของ beta และ alpha แตกต่างกัน beta นั้นจะมีจำนวนน้อย และราคาถูก ขณะที่ Alpha (เช่น กลยุทธ์การเทรด) จะค่อนข้างมีไม่จำกัด แต่ว่าราคาแพง

Alpha เป็น Zero sum game ถ้าคุณซื้อ อีกคนหนึ่งขาย จะมีใครสักคนหนึ่งที่กำไรแน่นอน นักลงทุนส่วนใหญ่จะไปให้ความสนใจที่ Beta คือการกระจายความเสี่ยงแล้วให้ผลตอบแทนเหนือกว่าดอกเบี้ยเข้าไว้ แต่ไม่สนใจว่าจะเทรดยังไงให้ได้กำไรดีดี

ซึ่งหัวใจสำคัญของมันอยู่ที่การจัดการสัดส่วน หุ้น พันธบัตร แลแะ โภคภัณฑ์ แต่คำถามคือ “แล้วจะต้องถืออะไรสัดส่วนเท่าไหร่ ถึงจะสามารถอยู่ได้รอดตลอดทุกสถานการณ์?” ทั้ง Ray และ Bob พยายามตอบคำถามนี้ โดยแบ่งผลตอบแทนการลงทุน แยกจาก Cash Beta และ Alpha ออกจากกันก่อน

การปรับความเสี่ยงและปรับพอร์ตลงทุน (Balancing and Risk Adjusting Assets)

แนวคิดการจัดการการลงทุนหรือการปรับพอร์ตลงทุน มาจากแนวคิดที่ว่า “พันธบัตรจะให้ผลตอบแทนได้ดีช่วงเงินเฟ้อต่ำ ขณะที่หุ้นให้ผลตอบแทนได้ดีช่วงที่ตลาดเติบโตสูง และอัตราดอกเบี้ยจะให้ผลตอบแทนได้ดีเมื่อเงินฝืด” แนวคิดนี้นำไปสู่แนวคิดที่สินทรัพย์จะทำผลตอบแทนได้ดีเมื่อสิ่งแวดล้อมเป็นใจ Ray เรียกมันว่า Environmental Biases

แนวคิดนี้ได้ถูกนำไปต่อยอดมากมายในการลงทุน เพื่อปรับความเสี่ยง โดยสิ่งแรกที่ Ray ให้ความสนใจคือ การปรับความเสี่ยง มากกว่าผลตอบแทนของการลงทุน จะทำอย่างไรให้ความเสี่ยงที่มีอยู่เป็นกลาง โดยมากใช้วิธีการ Hedge กับผลตอบแทนอื่น ๆ ที่เป็นบวกในช่วงเวลาดังกล่าว เช่น Beta ทำให้เกิดเป็น Investing Block ของการลงทุนและเลือก Platform ของตลาด โดยเลือกเอาสถานการณ์ ช่วงที่ตลาดเติบโต และเงินเฟ้อ และความคาดหวังของตลาดมาอธิบาย ดังนี้

Invesment Block

การปรับความเสี่ยงและปรับพอร์ตลงทุน

แนวคิดการจัดพอร์ตลงทุนของ Ray จึงใช้สถานการณ์และเฝ้าระวังเหตุการณ์ดังกล่าว เช่น เมื่อใดที่เศรษฐกิจเติบโต เมื่อไหร่ที่มีสัญญาณเงินฝืด เมื่อไหร่ที่มีสัญญาณตลาดฟองสบู่ จะมีการปรับและจัดขนาดพอร์ตลงทุน เพราะการดูการเคลื่อนไหวของตลาดในภาพรวมอาจจะยาก แต่เมื่อแตกปัจจัยออกเป็นทีละปัจจัยที่ส่งผลต่อผลตอบแทนการลงทุนจะสามารถเฝ้าระวังได้ง่าย

การใช้แนวคิดการลงทุนในตลาด

ปัจจุบันมีความพยายามนำแนวคิดการลงทุนมาใช้กับรายย่อยเป็นจำนวนมาก โดยที่ไม่ได้เข้าใจหลักแนวคิดดีเพียงพอ โดยความพยายามนำเอาสินทรัพย์มาจัดการลงทุน โดยคิดว่านั่นคือการใช้หลักการที่จะสามารถพอร์ตลงทุนที่สามารถอยู่รอดได้ในทุกสภาวะตลาด ภายใต้การเติบโตของมูลค่าการลงทุนหลายเท่า โดยไม่ทราบข้อจำกัดของแบบจำลองของ Ray Dalio

แนวคิดการลงทุนของ Ray Dalio จากหนังสือหลัก ๆ มีเพียง 3 ข้อดังต่อไปนี้

  • การหาผลิตภัณฑ์ที่เป็น Risk Neutral Stat หรือผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างการ Hedging ได้เกือบสมบูรณ์ โดยเป็นขั้นตอนการวางแผน
  • การสร้าง position ที่เป็น Neutral Risk หรือ position ที่ไม่ว่าตลาดแบบไหนก็จะไม่ขาดทุนจนล้างพอร์ต หรือมีความเสี่ยงอยู่ระดับหนึ่ง คำว่า Risk Neutral ไม่ได้หมายความว่าไม่มีความเสี่ยง เพียงแต่เมื่อตลาดเคลื่อนไหว ราคาจะคานกัน (Hedging) ทำให้ผลตอบแทนมีขึ้นและลง แต่ต้องไม่ลืมว่า ต้องอยู่ภายใต้สถานะ Position ที่จัดการได้
  • เมื่อได้ Position ที่เป็น Risk Neutral แล้ว จึงนำ Position นั้นเข้ามาจัดการให้เกิดผลต่างจากกำไรโดยที่ไม่เสียสภาวะ Risk Neutral นั้นไป ภายใต้ความซับซ้อนของสินทรัพย์ โดยใช้สถานการณ์ที่แตกต่างกันเป็นตัวควบคุม หรือเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ เรียกว่า Investment Block ตามภาพข้างต้น

ปัจจุบัน ในกลุ่มต่าง ๆ มีการเอาสมการ Return ข้างต้นไปใช้ในการลงทุนและเข้าใจว่านั่นคือเอกสารของ Ray Dalio โดยแท้จริงแล้วเป็นการแตกส่วนประกอบของผลตอบแทนของการลงทุนในตลาดให้ดูว่ามีอะไรบ้างเท่านั้น ผู้ที่อ่านแล้วไม่ได้มาอ่านต้นฉบับของ Ray จึงมีความเข้าใจผิดและคิดว่านั่นคือสมการที่ Ray สร้างขึ้น เพื่อตอบโจทย์ของการลงทุน

ที่มา: https://www.bridgewater.com/research-and-insights/the-all-weather-story