วิกฤติเศรษฐกิจ คืออะไร เกิดจากอะไร ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลก 2008, 2015

วิกฤติเศรษฐกิจ คือ

วิกฤษเศรษฐกิจ คือเหตุการณ์ที่ระบบการเงินปรับตัวเข้าสู่ทิศทางสวนกับการเติบโต หรือการลดลงอย่างมีนัยสำคัญของมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงิน ส่งผลเสียต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือในระดับโลก ในการเทรด วิกฤติเศรษฐกิจถือเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายให้กับนักเทรดได้สูงสุด

ในการเทรด Forex สิ่งที่นักเทรดต้องทำการศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูลอย่างหนึ่ง คือ วิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินมหาศาลมาก และเกิดเป็นเทรนด์ระยะยาวทำให้นักเทรดขาดทุนจนล้างพอร์ตได้ในจำนวนมหาศาล ดังนั้น วันนี้เราจึงมาดูไทม์ไลน์ของวิกฤติเศรษฐกิจใหญ่ ๆ ที่เป็นที่รู้จักและส่งผลต่อตลาดการเงิน สาเหตุของมันว่าเกิดจากอะไร

สาเหตุของวิกฤติเศรษฐกิจ

การเกิดวิกฤติเศรษฐกิจย่อมมีสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการที่ระบบเศรษฐกิจไม่สามารถขับเคลื่อนไต่อไปได้ เกิดการเทขายสินทรัพย์อย่างหนัก ความเชื่อมั่นทางด้านการถือครองสินทรัพย์ลดลงอย่างรวดเร็ว ผู้คนแสวงหาสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ซึ่งได้แก่ ทองคำ หรือ ค่าเงินที่มีเสถียรภาพสูงอย่าง ค่าเงินสวิสฟรัง (CHF) ซึ่งถือเป็น Safe Heaven ของเงินลงทุน โดยสาเหตุของวิกฤติเศรษฐกิจมาจาก 2 สาเหตุหลัก คือ

1 การเพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์อย่างรวดเร็ว

การเพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์อย่างรวดเร็ว

การเพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์จนเกิดภาวะที่เรียกว่า “ฟองสบู่” หรือเศรษฐกิจฟองสบู่ ซึ่งอาจจะเกิดจากการเก็งกำไร กล่าวคือ มีการเก็งกำไรในตลาดหุ้น หรือตลาดใด ตลาดหนึ่ง ที่ส่งผลต่อความเสียหายเป็นวงกว้าง นั่นคือ มีการเข้าซื้อสินทรัพย์ชนิดใด ชนิดหนึ่ง เพื่อเก็งกำไร เมื่อราคาเพิ่มสูงขึ้น จะมีการเทขาย

และเมื่อสินทรัพย์ถูกเทขาย มันจะทำให้เกิดภาวะวิตกกังวล จนทำให้เกิดปรากฏการณ์เทขาย (Short Sell) หมู่ในตลาดหลักทรัพย์ เหตุการณ์การเก็งกำไรนี้ เคยเกิดขึ้นกับการเก็งกำไรในตลาดดอกทิวลิปของเนเธอแลนด์ หรือเรียกว่า Tulip Crisis หรือ Tulip mania ซึ่งตามที่มีการบันทึกข้อมูลไว้ พบว่า ราคาดอกทิวลิปพุ่งสูงขึ้นภายในระยะเวลา 3 เดือนในช่วงเดือน

ที่มา: wikipedia

 

การเก็งกำไรราคาดอกทิวลิป

การเก็งกำไรราคาดอกทิวลิปเกิดในระยะสั้น ๆ จากไม่มีมูลค่า ไปจนถึงราคา 200 ในระยะเวลา 3 เดือนในประเทศเนเธอแลนด์ ช่วงปี ค.ศ. 1636 – 37 และราคาร่วงจนเหลือแบบไม่เหลือมูลค่าภายในระยะเวลา 1 – 2 เดือน

ตัวอย่างการเกิดวิกฤติต้มยำกุ้งในประเทศไทยก็มีการเก็งกำไรในตลาดหลักทรัพย์จนดัชนี Set พุ่งสูงไปจนถึงที่ 1800 จุด ในปี 2540

การเกิดภาวะฟองสบู่ในหนี้สิน

นอกจากการเกิดฟองสบู่ในตลาดสินทรัพย์จากการเก็งกำไรแล้ว การเกิดวิกฤติเศรษฐกิจยังเกิดในการที่มีหนี้สินเพิ่มขึ้นจำนวนมาก

ตัวอย่างของการเกิดวิกฤติหนี้สินนี้ สามารถดูได้จากการเกิดวิกฤติต้มยำกุ้งในไทย และวิกฤติ Hamberger Crisis หรือ Sub-prime ของสหรัฐฯ

การเกิดวิกฤติต้มยำกุ้งของประเทศไทย ทางด้านฟองสบู่หนี้สิน เมื่อมีการเก็งกำไรจำนวนมากในการปล่อยกู้ดอกเบี้ยในอัตราสูงลิ่ว เพื่อให้ประชาชนนำไปซื้อบ้าน เก็งกำไร ทำให้มีหนี้ในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จำนวนมาก การปล่อยกู้ของประชาชน อนุมัติง่ายมิหนำซ้ำ ยังไปกู้จากต่างประเทศมาเพื่อมาปล่อยกู้ให้กับประชาชนในประเทศอีกต่างหาก

 

อัตราดอกเบี้ยที่สูงเพิ่มภาระหนี้

2 การเกิดภาวะฟองสบู่ในหนี้สิน

สาเหตุที่มีการกู้ต่างประเทศ มาปล่อยกู้ในประเทศเพราะประเทศไทยในยุคนั้นอัตราดอกเบี้ยสูงมาก สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของต่างประเทศ จึงมีการกู้จากต่างประเทศ และมาปล่อยกู้ให้คนไทย ก็ยังกำไรจากอัตราดอกเบี้ย การกระทำเช่นนี้เป็น การซ้ำเติมเศรษฐกิจเพราะว่า ทำให้หนี้พุ่งสูงเป็นอย่างมาก

เมื่อมีธุรกิจมีกำไร จึงทำให้มีการปล่อยกู้แบบไร้ระเบียบวินัย จึงส่งผลต่อจำนวนหนี้ในประเทศที่พุ่งสูง

และเมื่อครบกำหนดชำระหนี้ นั่นคือ เหตุการณ์ที่คนที่เป็นหนี้ไม่มีเงินมาจ่าย จึงส่งผลให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจลุกลามไปทั้งภูมิภาค

สาเหตุอื่น ๆ

การเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ โดยมากเกี่ยวข้องกับสินทรัพย์และหนี้สินของประเทศ แต่การเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ นั้นเกิดจากสาเหตุใดเป็นตัวกระตุ้นก็ได้ แล้วลุกลามไปสู่ส่วนที่มีปัญหาที่แท้จริง คือ การเกิดฟองสบู่ หรือ Bubbles อย่างไรก็ตาม ถ้าหากเราพิจารณาว่า การเป็นตัวจุดชนวนแล้ว วิกฤติเศรษฐกิจอาจจะมาจากสาเหตุอื่น ๆที่นำไปสู่การเกิดวิกฤติเศรษฐกิจได้ เช่น

  • การเกิดโรคระบาด
  • การเกิดการดำเนินนโยบายผิดพลาดของภาครัฐ
  • การมีหนี้สาธารณะสูงมากเกินไป
  • การเกิดความเสื่อมความน่าเชื่อถือในรัฐบาล ทำให้เกิดเศรษฐกิจตกต่ำและเงินเฟ้ออย่างรุนแรง
  • การเกิดคอรัปชั่นในประเทศ
  • ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง นำไปสู่การปัญหาเศรษฐกิจเรื้อรังสะสม
  • อื่น ๆ ฯลฯ

ลำดับเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจที่สำคัญ

จากสาเหตุดังกล่าว เราสามารถลำดับ Timeline ของวิกฤติเศรษฐกิจสำคัญของโลกได้ดังต่อไปนี้

Japan Asset Bubbles

ฟองสินทรัพย์ญี่ปุ่น 1986-1991

3 ลำดับเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจที่สำคัญ

เกิดการเก็งกำไรสินทรัพย์ในตลาดหุ้นญีปุ่นจนราคาพุ่งสูง เมื่อมีการขายทำกำไร ทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ

ในช่วงปี 1989 ดัชนี NIKKEI พุ่งขึ้นถึง 40,000 จุดในช่วงปี 2021 คือ 30 ปีต่อมา ดัชนี NIKKEI ยังอยู่แค่ 28,000 จุดเท่านั้น

Black Monday 19 ตุลาคม 1987

เหตุการณ์ Black Monday 1987

4 ฟองสินทรัพย์ญี่ปุ่น 1986 1991

เหตุการณ์ Black Monday เป็นวิกฤติเศรษฐกิจที่ลุกลากไปทั่วโลก โดยมีความรุนแรง และไม่ได้ตั้งตัว หลังจากที่ตลาดหุ้นร่วงหนักวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 1987

ตลาดที่เป็นตัวจุดชนวนของวิกฤติคือสหรัฐฯ ตลาด Dow Jones ลดลงกว่า 508 จุด คิดเป็น 22.6 %

วิกฤติต้มยำกุ้ง ปี 1998

วิกฤติต้มยำกุ้งในไทย 1997 – 1998

5 เหตุการณ์ Black Monday 1987

เหตุการณ์หลังจากที่หนี้ในประเทศสูงมากจากการไปกู้ต่างประเทศเพื่อมาปล่อยกู้ในประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยแตกต่างกันมาก ทำให้เกิดช่องว่างของความผิดปกติ

นำไปสู่การบริหารนโยบายการเงิน ที่ผิดพลาด จนทำให้เกิดช่องโหว่ และกองทุนเก็งกำไรข้ามชาติ หรือ Hedge Fund เห็นช่องโหว่นี้จึงเข้ามาเก็งกำไร Short ค่าเงินบาทจำนวนมาก เรียกว่า การโจมตีค่าเงินบาท

อย่างไรก็ตาม นั่นเป็นเพราะประเทศไทยบริหารผิดพลาดเอง เพราะกองทุนเล็งเห็นโอกาสทำกำไร จึงเข้ามาเก็งกำไร หลังจากนั้นเกิดการประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ทำให้อัตราแลกเปลี่ยน คงที่จาก 1 USD : 25 บาทกลายเป็น 1 USD : 53 บาท หมายความว่าหน่วยงาน (ธนาคาร) ที่ไปกู้ต่างประเทศมาเพื่อมาปล่อยกู้ให้กับประชาชนในประเทศ ต้องชดใช้เงินเพิ่มมากขึ้นจากที่เงินบาทอ่อนค่า

ผลของการประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ทำให้ธนาคารใหญ่หลายสถาบันในประเทศไทย ล้มละลาย ต้องปิดกิจการไปจำนวนมาก

Black Monday 19 ตุลาคม 1987

วิกฤติ Sub-Prime 2007 – 2008

7 วิกฤติต้มยำกุ้งในไทย 1997 – 1998

นี่เป็นวิกฤติหนี้เสียที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐฯ สาเหตุเพราะมีการปล่อยกู้ และนำหนี้มาทำการ รีไฟแนนซ์ โดยการมัดรวมหนี้เก่า กับ หนี้ใหม่ หนี้ดีกับหนี้เสีย แล้วขายให้กับสถาบันการเงินอื่น ซึ่งสถาบันการเงินอื่นที่รับซื้อไปก็จะได้ดอกเบี้ย

อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีหนี้เสียที่ปะปนไปทำให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้ จนกลายเป็นวิกฤติ มีธนาคารใหญ่ ๆ ในสหรัฐฯ ที่ได้รับผลกระทบ วิกฤติลุกลามไปทั่วโลก

วิกฤติ Covid-19 ปี 2020

วิกฤติ COVID-19 ปี 2020

8 วิกฤติ Sub Prime 2007 – 2008

การระบาดของวิกฤติ Covid-19 ทำให้ทั่วโลกต้องเผชิญกับการชะงักของเศรษฐกิจ เมื่อการระบาดแพร่เป็นวงกว้าง และมีการตายจำนวนมาก ร้านค้า ธุรกิจต้องปิดตัวจำนวนมาก เนื่องจากการประกาศภาวะฉุกเฉินเพื่อลดการแพร่ระบาด

ทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงัก ไม่มีการจับจ่ายใช้สอย ตลาดหุ้นร่วงหนักในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และเดือนมีนาคม

ข้อสังเกตุ

การเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ จากเหตุการณ์ที่กล่าวมาจะสังเกตุความเชื่อมโยงอย่างหนึ่งคือ การเกิดภาวะฟองสบู่ของเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการเก็งกำไรราคาสินทรัพย์ การเกิดฟองสบู่ของหนี้สิน ทำให้ขาดเงินในการชำระหนี้ การเกิดวิกฤติ Covid-19 ที่ทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงัก แต่ละเหตุการณ์เรียกว่า เกิดความเสียหายต่อสถานะเศรษฐกิจของประเทศในวงกว้าง