พอร์ต คืออะไร จัดพอร์ตลงทุนอย่างไรให้ถูกวิธี

พอร์ต หรือ พอร์ตโฟลิโอ คือ ขนาดของสินทรัพย์ที่มีอยู่ภายใต้การบริหารจัดการ พอร์ตการลงทุนสามารถหมายถึงเงิน หุ้น หรือคริปโตและสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ ได้อีก ที่อยู่รวมอยู่ในการบริหารจุดการชุดหนึ่ง

พอร์ตลงทุนแบบต่าง ๆ

พอร์ตลงทุนในแต่ละวงการจะมีความหมายที่แตกต่างกัน เช่น ตลาด Forex พอร์ตลงทุนจะหมายถึงยอดเงินในบัญชี พอร์ตหุ้นหมายถึงบัญชีนั้นมีเงินจำนวนเท่าไหร่เป็นต้น เรามาดูนิยามโดยรวมของทุกความหมายกัน

พอร์ตForex

พอร์ต Forex อาจจะหมายถึง Balance หรือยอดเงินทั้งหมดที่มีอยู่ในบัญชีซึ่งถ้าล้างพอร์ตหมายความว่า เงินหมดพอร์ต

พอร์ตForex

พอร์ตหุ้น

สำหรับพอร์ตหุ้น ก็เช่นเดียวกัน คือปริมาณการลงทุนทั้งหมดของคน ๆ หนึ่งซึ่งรวมถึงเงินสดที่ไม่ได้ลงทุนอยู่ในบัญชีด้วย

พอร์ตหุ้น

พอร์ตกองทุน

พอร์ตกองทุน หมายความว่า ในกองทุนนั้นเขาลงทุนในหุ้นสัดส่วนเท่าไหร่ ตราสารเท่าไหร่ นั่นคือพอร์ตที่กองทุนบริหาร

พอร์ตกองทุน

พอร์ตคริปโต

พอร์ตคริปโตคือ สัดส่วนการลงทุนในเหรียญต่าง ๆ ที่กระจายไปลงทุนในเหรียญแต่ละตัว หรือรวมทั้งการลงทุนใน De-Fi และการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนประเภทอื่น ๆ

พอร์ตคริปโต

จัดการพอร์ตลงทุนให้ถูกวิธี

สำหรับการจัดการพอร์ตลงทุน เป็นศาสตร์และศิลป์ของการลงทุนที่ต้องให้ความสำคัญ การจัดการพอร์ตลงทุนเป็นเรื่องที่สอนในมหาวิทยาลัย เรียกว่า “การกระจายการลงทุน” โดยจะขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

การกระจายการลงทุน มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุนขณะที่ผลตอบแทนไม่ได้ลดลง โดยเราสามารถกระจายการลงทุนไปยังหลายหุ้น หรือหลายสินทรัพย์

ตัวอย่าง พอร์ตของนาย A กระจายการลงทุนไปดังนี้

  • หุ้น 30 %
  • Forex 20 %
  • คริปโต 10 %
  • เงินสด 40 %

การกระจายพอร์ตการลงทุนจะแตกต่างไปตามช่วงสภาวะ ยกตัวอย่าง คือ กรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจจะมีการถือเงินสดมากกว่า 50 % กรณีที่เศรษฐกิจดีและกำลังฟื้นตัวจะถือเงินสดน้อยและลงทุนในสินทรัพย์ที่จำนวนมากกว่า

หลักการกระจายพอร์ตการลงทุนที่สำคัญมีดังต่อไปนี้

หลักการกระจายพอร์ตการลงทุนที่สำคัญ

Modern Portfolio Theory

  • ไม่ควรกระจายลงทุนมากกว่า 3 – 4 สินทรัพย์
  • การกระจายการลงทุนมาก ทำให้พอร์ตเติบโตได้ช้า
  • การกระจายน้อยเกินไปทำให้พอร์ตแกว่งตัวสูงและมีความเสี่ยงสูง
  • การกระจายการลงทุนนั้นขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ที่แตกต่างกัน
  • ความเสี่ยงของสินทรัพย์แต่ละประเภทต้องมีความสอดคล้องกัน
  • ต้องมีความเข้าใจเรื่องค่า สหสัมพันธ์ หรือ Correlation