Payment Gateway คืออะไร 3rd Party Payment Gateway คือ เจ้าไหนดีในไทย

Payment Gateway คือ

Payment Gateway คือ ผู้ให้บริการระบบชำระเงินออนไลน์ เพื่อให้ลูกค้าซื้อสินค้าออนไลน์ได้อย่างรวดเร็ว สามารถดำเนินการจ่ายเงินได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต เช่น Visa, Mastercard, UnionPay, JCB และอื่น ๆ

  • เหมาะกับธุรกิจออนไลน์ที่มีการซื้อขายหรือจ่ายค่าบริการบ่อย ๆ
  • ลูกค้าสามารถจ่ายค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
  • ลูกค้ามีช่องทางในการจ่ายเงินได้หลากหลายวิธีการมากขึ้น
  • ลูกค้าไม่ต้องส่งสลิปโอนเงิน เนื่องจากระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติทันที
  • การซื้อสินค้าออนไลน์บนหน้าเว็บไซต์ ทำได้รวดเร็วขึ้น

payment gateway มีอะไรบ้าง

รูปแบบของ Payment Gateway ปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 2 รูปแบบใหญ่ ๆ ได้แก่

  • ระบบชำระเงินที่เชื่อมกับทางธนาคารโดยตรง
  • ระบบชำระเงินที่เชื่อมผ่านผู้ให้บริการตัวกลางต่าง ๆ

ระบบชำระเงินที่เชื่อมกับธนาคารโดยตรง

ระบบชำระเงินที่เชื่อมกับธนาคารโดยตรง หรือ Payment Gateway Bank คือ ระบบชำระเงินที่ธนาคารเป็นตัวกลางโดยตรง ธนาคารที่ให้บริการ Payment Gateway Bank เช่น

  • ธนาคารกรุงศรี : ระบบ Krungsri Biz Payment Gateway
  • ธนาคารกรุงเทพ : ระบบ Merchant iPay
  • ธนาคารกรุงไทย : ระบบ KTC GATEWAY
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ : ระบบ SCB Payment Gateway
  • ธนาคารกสิกรไทย : ระบบ K-Payment Gateway
  • ธนาคารออมสิน : ระบบ GSB Pay

เหมาะสำหรับผู้ประกอบการหรือบริษัทขนาดใหญ่ สามารถขอ Payment Gateway จากธนาคาร โดยต้องมีเงินฝากค้ำประกันประมาณ 100,000 – 200,000 บาท มีค่าธรรมเนียมและค่าบริการรายปี

ระบบชำระเงินที่เชื่อมผ่านผู้ให้บริการตัวกลาง

ระบบชำระเงินที่เชื่อมผ่านผู้ให้บริการตัวกลาง หรือ Payment Gateway Non-Bank คือ ระบบชำระเงินที่ผ่านผู้ให้บริการด้านการเงิน ซึ่งไม่ใช่ธนาคาร เช่น

  • PayPal
  • BitPay
  • 2C2P
  • AIS mPAY
  • Rabbit LINE Pay
  • Paysbuy
  • GB Prime
  • Omise
  • Pay Solution
  • SiamPay

เหมาะสำหรับผู้ประกอบการหรือบริษัทขนาดเล็ก และขนาดกลาง สมัครด้วยตนเองทางออนไลน์ง่าย ๆ ไม่ต้องมีเงินฝากค้ำประกัน ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี

3rd Party Payment Gateway คือ

3rd Party Payment Gateway คือ ระบบชำระเงินที่เชื่อมผ่านผู้ให้บริการตัวกลาง หรือ Payment Gateway Non-Bank นั่นเอง

3rd Party Payment Gateway ที่ได้ชื่อนี้เพราะบริษัทที่ให้บริการทางด้านการเงินจะมาเป็นตัวกลางระหว่างบริษัทของคุณและธนาคาร ลูกค้าของคุณจะชำระเงินผ่าน 3rd Party Payment Gateway ซึ่งเป็นตัวกลางในการชำระเงินของคุณ

ข้อดี 3rd Party Payment Gateway

ข้อดีของ 3rd Party Payment Gateway ได้แก่

  • สมัครง่าย ใครก็สมัครได้
    • ไม่ต้องมีเงินฝากค้ำประกัน
    • เอกสารที่ใช้สมัครมีน้อย
  • ติดตั้งง่าย ขั้นตอนน้อย
  • ระบบอัตโนมัติ ทำให้เมื่อลูกค้าจ่ายเงินแล้วระบบแจ้งเตือนทันที
  • เมื่อระบบแจ้งชำระเงินแล้ว สามารถส่งสินค้าได้ทันที
  • ปลอดภัยมากกว่าการชำระเงินแบบทั่วไป
    • ระบบตั้งรหัสป้องกันรายละเอียดบัตรของลูกค้าไว้
  • เมื่อเกิดข้อผิดพลาด คืนเงินลูกค้าได้ทันที
  • ลูกค้าชำระเงินได้หลายช่องทาง
    • บัตรเดบิต
    • บัตรเครดิต
    • QR Code
    • Bar Code

Payment Gateway เจ้าไหนดีในไทย

ประเทศไทยมีผู้ให้บริการ Payment Gateway หลายราย ผู้ให้บริการที่ติดอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย เช่น

123Sevice ของบริษัท 2C2P

123Sevice ของบริษัท 2C2P

บริษัท 2C2P เป็นบริษัทผู้ให้บริการ Payment Gateway รายใหญ่ของประเทศไทย โดย Internet Banking ของทุกธนาคารจะมีการจ่ายค่าสินค้าหรือบริหารผ่านช่องทางนี้

  • ระบบชำระเงินออนไลน์ที่มีผู้ใช้งานทั้งธุรกิจทุกขนาด ใหญ่ กลาง เล็ก ใช้ได้หมด
  • เจ้าของธุรกิจดูความเคลื่อนไหวเงินเข้าได้แบบเรียลไทม์
  • มีความปลอดภัยสูงจากการเข้ารหัสในการชำระค่าบริการ
  • ค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 3.65%
  • สามารถรับชำระเงินได้หลายช่องทาง
    • บัตรเครดิต
    • บัตรเดบิต รองรับทั้งบัตร Visa และ Mastercard
    • Counter Service

PayPal

PayPal

ช่องทางการชำระเงินที่ผู้ใช้บริการจากทั่วโลก หากเน้นขายของให้ชาวต่างชาติ แนะนำให้ใช้ช่องทางนี้ เนื่องจากผู้ใช้งานจากทั่วโลกมีจำนวนมาก

  • สามารถรับเงินได้ทุกที่ไม่ว่าประเทศไหน
  • สามารถชำระเงินได้หลายช่องทาง
    • บัตร Visa
    • บัตร Mastercard
    • Internet Banking
  • เสียค่าธรรมเนียม 4.4% หรือต่ำกว่า หากมียอดการใช้งานจำนวนมาก

Omise

Omise

Omise (โอมิเซะ) ผู้ให้บริการด้าน Payment Gateway ของเมืองไทย มีชื่อเสียงที่ดี

  • ระบบชำระเงินออนไลน์ที่ร้านค้าออนไลน์หลายรายไว้วางใจ
  • ความปลอดภัยสูง มีมาตรฐานระดับโลก
  • ฟังก์ชันการทำงานที่หลากหลาย มีความสะดวก สบายในการใช้งาน
  • สามารถรับชำระค่าบริการได้หลายรูปแบบ
    • บัตรเครดิต
    • บัตรเดบิต
    • ระบบผ่อนชำระเงิน
  • ค่าธรรมเนียม 3.65%
  • ไม่เสียค่าติดตั้ง
  • ไม่มีค่าบริการรายเดือน
  • ไม่มียอดการใช้งานขั้นต่ำ

Paymeny Gateway Pantip

น้องเป็ดได้รวบรวมความคิดเห็นจากผู้ใช้งานจริงบนเว็บบอร์ดพันทิป เกี่ยวกับ Payment Gateway ของประเทศไทย ดังนี้

เจ้าตลาดเฉพาะในเมืองไทย ไม่นับรวมต่างประเทศ ก็มีบริษัท Omise (Paysbuy เดิม), 123Sevice ของบริษัท 2C2P etc.
ถ้าอยากเริ่มต้นจริงๆ คุณเริ่มจากการเป็น Vendor ให้โรงแรม/ห้างร้าน สัก 2-3 แห่งที่ขายสินค้าหรือบริการทางออนไลน์ เชื่อมต่อการชำระเงินผ่านออนไลน์ ทั้งแบบบัตรเครดิตและเงินโอน คุณจะได้ไอเดียมากขึ้น
จากนั้นพัฒนา Platform เป็นของตัวเอง เริ่มจาก Customize ก็อกแก็ก ไปตาม Standard ของแต่ละธนาคารไปก่อนครับ เพราะเราต้องพึ่งธนาคารซะส่วนใหญ่ ต้องยอมทำตามธนาคาร จะเหนื่อยหน่อยตรงทำเชื่อมต่อหลายธนาคารก็ต้องทำตามแต่ละที่ที่แตกต่างกัน
เมื่อไหร่ที่ Platform พร้อม และต้องการเปิดตัว เพื่อเป็นตัวแทนรับชำระเงิน ให้ไปขอใบอนุญาตตัวแทนชำระเงินจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย
เจ้าตลาดบางเจ้า ก็เริ่มต้นมาจากแบบนี้ครับ

ความคิดเห็นที่ 2

2C2P ครบวงจร ลองถามรายละเอียดดูครับ

ความคิดเห็นที่ 1

PayPal เลยครับ รู้จักกันทั่วโลก

ความคิดเห็นที่ 2

Paypal สากลสุด ทั่วโลกรู้จัก ใช้ง่าย แค่โยน links ให้ลูกค้ากดจ่ายตังค์ จบ
ส่วนเจ้าอื่นๆ คุณต้องมีระบบการจัดการในส่วนของคุณด้วย เช่นมีเว็บไซด์ระบบตะกร้า

ความคิดเห็นที่ 4

Paypal ง่ายสุด เรทแพงสุด
2c2p มาตรฐานดีสุดในประเทศ
omise กลาง ๆ ติดปัญหาเรื่องการ support ต้องผ่าน email เท่านั้น
Gbprimepay ok ดี
ส่วนอีกเจ้าสีส้ม ๆ ที่ชื่อเหมือนเว็บพนันบอล ห่วย ระบบล่มบ่อย ปัญหาเยอะ โปรดักที่เซลล์มาขายบอกจะเสร็จเลื่อนแล้วเลื่อนอีก

ความคิดเห็นที่ 6

ใช้ของธนาคารโดยตรงต้องมียอดเรียกเก็บการันตีรายเดือน (หลักล้าน) มีค่าสมัคร (หลักแสน) มีเอกสารอีกล้านแปดแสน การต่อ api ค่อนข้างจะเรื่องเยอะมากกว่าแต่ก็มั่นใจได้ว่า gateway จะไม่ล่มเวลาเจอ transaction รัวๆ (ในระดับ พัน ต่อวินาที) ข้อดีคือ fee ต่ำ ปกติก็ 2% กว่า แต่ถ้ามีคนรู้จัก คุยเป็น ยอดเยอะ เค้าก็ดันลงมาให้ได้ที่ 1% กว่าได้เหมือนกัน

อีกอย่างนึงคือพวก 3rd party ทั้งหลาย
omise สมัครยากเหมือนกัน เอกสารเยอะ ต้องใช้แบงค์การันตีด้วย (บางธุรกิจ) ถ้าขายของพวกเครื่องสำอาง ก็ต้องมีใบนู่นนี่ ใบผลิตมายืนยัน บอกได้เลยว่าเยอะมากกกกก ระบบก็ค่อนข้างดูดี เพราะธุรกิจใหญ่ๆของบ้านเราก็ใช้กันเยอะ api version ใหม่ๆ ต่อวุ่นวายหน่อย หักก็ 4% กว่า

PayPal อันนี้ก็ 4.4% + transaction 11 บาท ถ้ามียอดเยอะๆ เดี๋ยวเค้าเชิญให้เข้า business เอง ค่าธรรมเนียมก็จะลงมาหน่อยเช่น 3% กว่า ยอดเรียกเก็บก็ต้องเป็นล้าน ข้อดีคือระบบเสถียร api ใช้ง่าย มีให้โหลดเยอะเลย github เพียบ ข้อเสียคือ ลค.มันจะ dispute เมื่อไรก็ได้ แล้วก็แจ้งเหตุผลสารพัด ของไม่ได้ ของไม่ตรง อาจจะโดน chargeback แล้วส่วนใหญ่ PayPal favor ทางนั้นด้วย ไม่ใช่ทางผู้ขายนะครับ เสี่ยงเงินหายได้เลย วันดีคืนดีมันก็อาจจะมา hold เงินของเราทั้งหมด เดือนนึงสองเดือน ธุรกิจล้มได้เลย ดังนั้นต้องถอนออกบ่อยๆอย่าดองเงินใน account

2C2P ไม่เคยใช้ แต่ก็จะคล้ายๆกัน ได้รับความนิยมพอสมควรจากบริษัทห้างร้านในไทยครับ
นอกจากนี้ก็มี Pay Solutions, payatall (เป็น gateway ให้กับ allticket) เยอะแยะครับ แต่อาจจะไม่ค่อยได้รับความนิยมมั้ง ส่วนใหญ่ก็จะเจอแค่ข้างบนนี้แหละ
อ้อ ตอนนี้ kbank / scb เปิด open api QR payment ลองไปสมัครดูก็ได้ครับ

ความคิดเห็นที่ 2