shopee affiliate รายได้ดีไหม จ่ายจริงไหม รวมข้อมูลประสบการณ์คนที่ทำมาก่อน จาก pantip

shopee affiliate program รายได้ดีไหม จ่ายจริงไหม

Shopee Affiliate คือ

Shopee Affiliate คือ โปรแกรมที่สามารถสร้างรายได้ให้กับทุกคนแบบง่าย ๆ โดยใช้วิธีการแชร์ ซึ่งทาง Shopee นั้นได้เปิดโอกาสให้ทุกคนมาร่วมเป็น Partner เพื่อสร้างคอนเทนต์บนหน้าโซเชียลของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นรีวิว หรือบอกต่อ ทั้งสินค้า โปรโมชั่น แคมเปญ และกิจกรรมน่าสนใจของทาง Shopee เพียงนำลิงก์ไปวาง ทุกยอดขายจากลิงก์ของคุณหรือลิงทืของร้านค้า

รายได้ คือ รับค่าคอมมิชชั่นไปเลยสูงสุด 28% เป็นการหารายได้แบบไม่ต้องลงทุน แถมเพื่อนได้สินค้า เราได้ค่าคอมมิชชั่น! อีกด้วย

เข้าร่วม shopee affiliate

shopee affiliate รายได้ดีไหม

shopee affiliate ถือว่าเป็นช่องทางที่สร้างรายได้ดีมาก รายได้ของ shopee affiliate มาจากค่าคิมมิชชั่นที่ได้ และเป็นอีกช่องทางหนึ่งและเป็นที่นิยมกันมาก ให้เหล่าเน็ตไอดอลนำสินค้ามารีวิว บอกต่อกัน โดยเฉพาะเหล่า “อินฟลูเอนเซอร์” พากันรีวิวสินค้าพร้อมตบท้ายด้วยลิงก์ซื้อผลิตภัณฑ์ได้ใน Shopee

วิธีแบบนี้ นั่นคือกลยุทธ์ใหม่ของแพลตฟอร์ม shopee นี้ เพราะอินฟลูเอนเซอร์ที่ส่งลูกค้าเข้าไปกดซื้อได้จริงตามลิงก์ จะได้รับค่าคอมมิชชันการขายสินค้าต่างๆด้วย! ถือเป็นไอเดียการตลาดแบบวิน-วินทั้งสองฝ่าย เอาง่ายๆเรียกภาชาวบ้านคือ มีผลประโยชน์ร่วมกัน

เพราะแพลตฟอร์มได้ขายของแน่นอน ส่วนอินฟลูเอนเซอร์จะมีรายได้ตามศักยภาพตัวเอง ขณะที่ในมุมลูกค้า…นี่อาจจะเป็นกลวิธีขายของแบบใหม่ที่ต้องระวังตัว เท่าที่สืบค้นได้จาก Shopee Blog อีคอมเมิร์ซเจ้านี้เริ่มเปิด Shopee Affiliate Influencer Program ครั้งแรกช่วงเดือนมีนาคม 2563 และมีการย้ำการเปิดรับสมัครอีกครั้งช่วงเดือนมิถุนายนนี้เอง โดยรับจำนวนจำกัดด้วย อันนี้ถ้าอยากทำลองหาข้อมูลเพิ่มกันหน่อยนะ

กลยุทธ์ของโปรแกรมนี้ คือ การรับสมัคร “อินฟลูเอนเซอร์” มาช่วยโปรโมตสินค้าจากแพลตฟอร์ม Shopee อินฟลูเอนเซอร์ที่ได้รับเลือกสามารถรีวิวสินค้าที่มีขายใน Shopee ได้ไม่จำกัดจำนวน จะเป็นสินค้าใดก็ได้ หรือจะโปรโมตตัวแคมเปญโปรโมชันของแพลตฟอร์มก็ได้ ลักษณะการโปรโมตก็ระบุว่าไม่จำกัดเช่นกัน จะเขียนโพสต์เองในช่องทางของตัวเอง หรือไปคอมเมนต์ตามโพสต์ต่างๆ ก็ได้

โปรแกรมนี้ คือ Shopee จะมีระบบให้อินฟลูเอนเซอร์สร้างลิงก์เข้าไปที่หน้าสินค้า

  • ถ้ามีคนคลิกตามลิงก์นั้นเข้าไป
  • จนเมื่อเกิดการซื้อจริง ผู้รีวิวสินค้าจะได้ค่าคอมมิชชันด้วย
  • อัตราค่าคอมฯ ตั้งแต่ 3 – 28%

Shopee Affiliate ได้กี่%

ทาง Shopee เปิดโอกาสให้ทุกคนมาร่วมเป็น Partner และรายได้ Shopee Affiliate รับค่าคอมมิชชั่นไปเลยสูงสุด 28%

Shopee Affiliate รับค่าคอมมิชชั่นทำอย่างไรได้บ้าง

โดยการสร้างคอนเทนต์บนหน้าโซเชียลของตัวเอง เพียงนำลิงก์ไปวาง ทุกยอดขายจากลิงก์ของคุณ รับค่าคอมมิชชั่นไปเลยสูงสุด 28%

  • ไม่ว่าจะเป็นรีวิว
  • การบอกต่อตามช่องทางต่างๆ
  • โปรโมชั่น
  • แคมเปญ
  • กิจกรรมน่าสนใจของทาง Shopee

ความแตกต่าง ลิงท์ธรรมดา กับ ลิงท์ Affiliate

ความแตกต่าง shopee link ธรรมดา และ shopee affiliate link

ค่าคอมมิชชั่น Shopee คืออะไร

ค่าคอมมิชชั่นเป็นรูปแบบของค่าตอบแทนแบบผันแปรสำหรับบริการที่แสดงผลหรือผลิตภัณฑ์ที่ขาย คอมมิชชัน คือ ค่าตอบแทนเพิ่มเติมที่ได้รับตามประสิทธิภาพการทำงาน

  • คอมมิชชั่น (Commission) หมายถึง ค่านายหน้า, เงินส่วนแบ่งการขายสินค้า
  • ส่วนแบ่งเปอร์เซ็นต์หรือค่าคอมมิชชั่น (Commission) เป็นการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานและพาร์ทเนอร์ สร้างผลกำไรให้ได้ยอดตามเป้าของผู้ประกอบการ/บริษัท

วิธีคิดค่าคอมมิชชั่น

  • ให้นำราคาสินค้าทุกชิ้นที่ขายได้ทั้งหมดมารวมกัน จากนั้นนำมา หาร 100 คูณด้วย เปอร์เซ็นต์ค่าคอมมิชชั่น จะเท่ากับจำนวนเงินค่าคอมมิชชั่นที่เราจะได้ครับ
  • วิธีคิด ตามข้อมูลร้านคอมที่นาย A ได้ทำ 500,000 / 100 * 3 = 15,000

shopee social partner

วิธีการคิดค่าคอมมิชชั่น Shopee รายได้ shopee affiliate

รายได้ shopee affiliate ตรงนี้มาจาก 2 ส่วนด้วยกัน คือ

1.ค่าคอมมิชชั่นจากแบรนด์

2.โปรโมทสินค้าจากแบรนด์ที่ร่วมโครงการ

อธิบายค่าคอมมิชชั่นเพิ่มเติม

นอกจากค่าคอมมิชชั่นจาก Shopee พาร์ทเนอร์จะได้รับค่าคอมมิชชั่นจากแบรนด์ เมื่อโปรโมทสินค้าจากแบรนด์ที่ร่วมโครงการอีกด้วย

ค่าคอมมิชชั่น shopee affiliate

ตัวอย่างการคิดค่าคอมมิชชั่น

รายการ
สินค้าทั่วไป
สินค้าของแบรนด์
ราคาสินค้า
100 บาท
100 บาท
ค่าคอมมิชชั่นจาก Shopee
2 บาท (2% x 100)
2 บาท (2% x 100)
Brand Bonus Commission
(-)
30 บาท (30% x 100)
ค่าคอมมิชชั่น
2 บาท
32 บาท

shopee affiliate จ่ายเงินยังไง จ่ายจริงไหม ค่าคอมเท่าไหร่ ?

  • shopee affiliate จะจ่ายเงินให้จริง โดยคิดตามสัดส่วน เป็นค่าคอม หรือ คอมมิชชั่นนั้นเอง (ได้อธิบายไว้ในส่วนแรกแล้ว)

อัตราค่าคอมมิชชั่นที่จะจ่ายให้

  • อัตราค่าคอมมิชชั่นค่าธรรมเนียมที่ Shopee จะชำระให้ Affiliate ในแต่ละเดือน
  • (“ค่าคอมมิชชั่น”) จะคำนวณตามอัตราที่ประกาศไว้บนเว็บไซต์ของแพลตฟอร์ม หรือตามที่ได้ตกลงกันต่างหากระหว่าง Affiliate และ Shopee เป็นลายลักษณ์อักษร แล้วแต่กรณี (อัตรานั้น เรียกว่า “อัตราค่าคอมมิชชั่น”)

การคิดคำนวณค่าคอมมิชชั่น

  • การคิดคำนวณค่าคอมมิชชั่น ค่าคอมมิชชั่น ของแต่ละเดือนจะคำนวณจาก (ค่าคอมมิชชั่นที่ Affiliate มีสิทธิได้รับจะโอนเข้าใน บัญชีคงค้าง ของ Affiliate เป็นรายเดือน)
  • งบประมาณที่ยืนยัน (Confirmed Budget) หรือ (Shopee จะชำระเงินให้ Affiliate ผ่านการโอนเงินเข้า บัญชีคงค้าง ของAffiliate เป็นรายเดือน ภายใต้เงื่อนไขว่า ในวันกำหนดชำระเงิน บัญชีคงค้างนี้จะต้องมียอดเงินขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 500 บาท (“ยอดขั้นต่ำในการชำระเงิน”)
  • ยอดสุทธิของการซื้อที่สมบูรณ์ (Net Completed Purchase Value) คูณด้วยอัตราค่าคอมมิชชั่น
  • แล้วแต่ว่าจำนวนใดจะน้อยกว่า ค่าคอมมิชชั่นทั้งหมดที่จะได้ชำระให้และจะได้รับโดย Affiliate รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว Shopee จะหักค่าบริการจากค่าคอมมิชชั่นตามอัตราที่กำหนดบนเว็บไซต์ของแพลตฟอร์ม หรือตามที่ตกลงกันไว้

ยอดขั้นต่ำในการชำระเงิน

  • ค่าคอมมิชชั่นที่ Affiliate มีสิทธิได้รับจะโอนเข้าใน บัญชีคงค้าง ของ Affiliate เป็นรายเดือน
  • Shopee จะชำระเงินให้ Affiliate ผ่านการโอนเงินเข้า บัญชีคงค้าง ของAffiliate เป็นรายเดือน ภายใต้เงื่อนไขว่า ในวันกำหนดชำระเงิน บัญชีคงค้างนี้จะต้องมียอดเงินขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 500 บาท (“ยอดขั้นต่ำในการชำระเงิน”)
  • หากใน บัญชีคงค้าง ของ Affiliate มียอดเงินไม่ถึงขั้นต่ำในการชำระเงินภายในรอบการชำระเงินใดๆ Shopee สงวนสิทธิ์ที่จะคงเงินที่ถึงกำหนดชำระแก่ Affiliate ไว้จนกว่าจะถึงรอบการชำระเงินที่บัญชีคงค้างของ Affiliate มียอดเงินถึง ยอดขั้นต่ำในการชำระเงิน

การชำระเงิน

  • การชำระเงิน ตาม “ยอดขั้นต่ำในการชำระเงิน” Shopee จะตรวจสอบและอนุมัติค่าคอมมิชชั่นที่จะต้องชำระ และ Shopee จะชำระเงินให้แก่ Affiliate ภายในหกสิบ 60 วัน นับจากวันที่ได้รับการอนุมัติในระบบ Affiliate ได้นำส่งใบแจ้งหนี้ตามเงื่อนไขที่ Shopee กำหนดให้แก่ Shopee เรียบร้อยแล้ว
  • ค่าคอมมิชชั่นที่คิดคำนวณโดย Shopee ถือว่าถูกต้องและเป็นที่สุด
  • Affiliate มีหน้าที่ออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีให้กับ Shopee ในรูปแบบที่ Shopee ยอมรับ และนำส่งให้แก่ Shopee ผ่านระบบที่ Shopee กำหนดภายใน 15 วันนับจากวันที่ Shopee ชำระค่าคอมมิชชั่นและ/หรือค่าบริการ
  • ในกรณีที่ Affiliate เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายไทย Affiliate ดังกล่าวจะต้องนำส่งใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีตัวจริงให้แก่ Shopee ตามที่อยู่ที่ Shopee กำหนดภายใน 30 วันนับจากวันที่ Shopee ได้ชำระค่าคอมมิชชั่นและ/หรือค่าบริการดังกล่าว

shopee affiliate สร้างรายได้และจ่ายเงินจริง ต้องเริ่มจากอะไร

  • สมัครได้ที่: https://affiliate.shopee.co.th/auth?step=1

สมัคร shopee affiliate ขั้นตอนที่ 1

  • ศึกษาระบบและระยะเวลาในการจ่ายพาร์ทเนอร์: https://shopee.co.th/m/Affiliate-SPM-payment

ขั้นตอนการตรวจสอบภาษี ถ้ามีรายได้แล้ว

  • ข้อนี้เป็นอีกข้อที่สำคัญ เมื่อมีรายได้แล้ว การจะเสียภาษีไหมนั้น ควรต้องศึกษาข้อมูลให้ดี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาย้อนหลังและสามารถจัดการปัญหาได้เร็วขึ้น ตามขั้นตอนด้านล่างนี้

สมัคร shopee affiliate ขั้นตอนที่ 2

ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม

  • (มีผลตั้งแต่ 10 ต.ค. 2565)

โดยค่าธรรมเนียมการขายเป็นดังนี้

  • ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป: เพิ่มค่าธรรมเนียมการให้บริการประเภทค่าธรรมเนียมการขายสำหรับ Non-Mall Sellers จาก 1% เป็น 2% (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ของราคาตั้งต้นของสินค้าในทุกหมวดหมู่
  • * หักด้วยส่วนลดสินค้าที่ผู้ขายรับผิดชอบ (ไม่รวมค่าขนส่งสินค้าและส่วนลดอื่นๆ)
  • ซึ่งจะเรียกเก็บสำหรับผู้ขายประเภท Non-Mall sellers
  • ทุกท่านที่ใช้บริการซื้อขายสินค้าผ่านทางช้อปปี้แพลตฟอร์มและศูนย์ผู้ขายของช้อปปี้เพิ่มเติมจากค่าธรรมเนียมการให้บริการที่เรียกเก็บอยู่ในปัจจุบัน

shopee affiliate ค่าธรรมเนียมการขาย

สำหรับผู้ขาย ชำระเงินผ่านทุกช่องทางการชำระเงิน

  1. สำหรับผู้ขาย Shopee Non-Mall สินค้าในทุกหมวดหมู่ ที่รับชำระเงินผ่านทุกช่องทางการชำระเงิน ยกเว้น ช่องทางการทำธุรกรรมแบบผ่อนชำระผ่านบัตรเครดิต และ Special SPayLater

สามารถคำนวณค่าธรรมเนียมการขาย และค่าธุรกรรมการชำระเงิน ได้ตามตัวอย่างการคำนวณด้านล่างนี้

Shopee ค่าธรรมเนียมทุกหมวดหมู่

สำหรับผู้ขาย กรณีผ่อนชำระผ่านบัตรเครดิต

  1. สำหรับผู้ขาย Shopee Non-Mall สินค้าในทุกหมวดหมู่ กรณีผ่อนชำระผ่านบัตรเครดิต (ระยะเวลาการผ่อนชำระ 10 เดือน) สามารถคำนวณค่าธรรมเนียมการขาย และค่าธุรกรรมการชำระเงิน ได้ตามตัวอย่างการคำนวณด้านล่างนี้

Shopee ค่าธรรมเนียมผ่อนชำระผ่านบัตร

หมายเหตุ:

  • อัตรายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7% บริษัทจะเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%(VAT) หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงตามกฑหมายกำหนด เพิ่มเติมเข้าไปในค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม ค่าธรรมเนียมการขาย ค่าบริการ เเละอื่น
  • เงื่อนไขทั้งหมดเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนดและบริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

รวมข้อมูลประสบการณ์คนที่ทำมาก่อน จาก pantip

  • ก่อนจะพูดถึง pantip จะพามารู้จักกันก่อนว่า shopee ประสบความสำเร็จและเป็นที่พูดถึงกันมากขนาดนี้ ด้วยสาเหตุอะไร และใคร คือ คนที่อยู่เบื่องหลังกับกิจกรรมต่างๆ

shopee มาแรงมากในยุคปัจจุบันหลายคนต่างพูดถึงกัน และไม่มีใครที่ไม่รู้จัก ปฏิเสธไม่ได้ว่าตลาดอีคอมเมิร์ซ ผ่าน E-Market place เฟื่องฟูในบ้านเรามาก โดยเฉพาะแคมเปญดับเบิ้ลเดท (Double Date) หรือจะเรียกง่ายๆ ว่า แคมเปญเลขคู่ที่เราคุ้นเคย ไม่ว่าจะเป็น 9.9 10.10  11.11  12.12 ซึ่งวันนี้ ความสำเร็จของแคมเปญดับเบิ้ลเดท ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในกลุ่มมาร์เก็ตเพลสแล้ว แต่ตอนนี้มันได้ขยายไปสู่ธุรกิจอื่นๆ ด้วย

ยกตัวอย่างข้อมูลผู้ทำให้ shopee โด่งดัง เดินหน้าไปได้ด้วยดี

  • “คุณออ – สุชญา ปาลีวงศ์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาด ช้อปปี้ ประเทศไทย”

วันนี้เราได้โอกาสมาคุยกับแม่ทีมคนสำคัญที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ ครึ่งปีหลังนี้มีแผนจะขับเคลื่อนเรื่องอะไร และอนาคตก้าวต่อไปของอีมาร์เก็ตสีส้ม คุณออ – สุชญา ปาลีวงศ์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาด ช้อปปี้ ประเทศไทย”

ความสำเร็จ 7 ปี ของ ‘แคมเปญดับเบิ้ลเดท’

(ข้อมูล marketingoops)

คุณออ – สุชญา ปาลีวงศ์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาด ช้อปปี้ ประเทศไทยย้อนรอยให้ฟังว่า สำหรับ Shopee ปีนี้ก้าวสู่ปีที่ 7 แล้ว ซึ่งในแง่ของตลาดแล้ว ต้องบอกว่าในช่วงที่เราเข้ามาไทยยังไม่คุ้นเคยกับตลาด Ecommerce สักเท่าไหร่ ดังนั้น ช่วงแรกยังต้องเป็นเรื่องที่ต้องเอ็ดดูเคทตลาดค่อนข้างเยอะว่า Ecommerce คืออะไร ซื้อผ่านแพล็ตฟอร์มคืออะไร หรือในแง่ของความปลอดภัยเป็นอย่างไร

ดังนั้น ช่วงแรกคือต้องใส่ความรู้ให้กับตลาดก่อนทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย

ส่วนแคมเปญโปรโมชั่น ในตอนแรกเราก็ยังไม่ได้ใช่ชื่อตามวันต่างๆ ของแคมเปญดับเบิ้ลเดท ยังใช้ชื่อแคมเปญว่า Mobile shopping day ในปี 2016 เพราเราเข้ามาเป็นโมบาล์ ให้ประสบการณ์ผ่านมือถือซึ่งถือว่าเป็นอุปกรณ์สำคัญของผู้ใช้งานอย่างมาก ผ่านไป 2 ปี เราก็เปลี่ยนมาเป็น Super shopping day

ในปี 2018 ซึ่งเราอยากให้ตลาดมันกลางมากขึ้น และมองเห็นว่า Desktop version ก็ยังซื้อขายผ่านเว็บไซต์ได้ หลังจากนั้นอีก 2 ปีถัดมา ในปี 2020 เราก็เริ่มทำแคมเปญดับเบิ้ลเดท ซึ่งทำตลอดทั้งปีเลย คือตั้งแต่ 2.2 ไปจนถึง 12.12 ทุกเดือนเกือบ 1 ปีเต็ม

ต้องบอกว่าเรารู้สึกว่าสิ่งนี้มันคือความสำเร็จของเราที่สามารถสรางภาพจำให้กับผู้บริโภคได้ ซึ่งปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมันไม่ใช่แค่เกิดในธุรกิจ Ecommerce แต่รวมไปถึงหลายๆ อุตสาหกรรมก็อด็อปสิ่งนี้ ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาล ประกัน คอนโด ฯลฯ เขาก็ทำเช่นกัน เราได้สร้างพฤติกรรมผู้บริโภคผ่าน แคมเปญแมคคานิก ที่เราทำผ่านการตลาด นี่ก็เป็น One of achievement ของเราเหมือนกัน”

จากนั้น เราก็ค่อยๆ ต่อยอดไปอีก ซึ่งแทนที่จะมีแค่ดับเบิ้ลเดท เราก็ทำ Mid-month เฉพาะคนไทยขึ้นมาเลย สร้างเป็นวันที่ 15 กลางเดือน แล้วก็ยังมีมี ShopeePay Day ด้วยให้มีทุกๆ วันที่ 25 ก่อนเงินเดือนออกด้วย เพื่อสร้างความจดจำง่ายๆ ทุกวันที่ 15 และก็ 25 โดยเป็นการต่อยอดของความสำเร็จจากแคมเปญดับเบิ้ลเดท

ทางเลือก Affiliate program

เส้นทาง Ecommerce กำลังเติบโต แต่ในแง่ของการแข่งขันก็นับว่าเป็นทะเลเดือดของเหล่าผู้ประกอบการหลายราย ทั้งรายย่อย รายเล็ก รายใหญ่ ซึ่งแพล็ตฟอร์มอย่าง Shopee มีคำแนะนำให้คนที่มาลงพื้นที่นี้ว่า อย่าเพิ่งไปกลัว การที่คนมาทำเยอะแสดงว่ามีดีมานด์เยอะ แต่สิ่งที่จะทำให้เราสู้กับเขาได้คือการมองหาช่องทางใหม่ๆ หรืออาวุธใหม่ๆ ให้สามารถลงไปสู้ในสนามรบได้

คุณออ บอกว่า คนส่วนใหญ่จะมองการแข่งขันในด้านที่ไม่ดี ชั้นต้องแพ้แน่เลย ดูน่ากลัว แต่การแข่งขันเยอะแปลว่าคนที่ได้ประโยชน์สูงสุดคือผู้บริโภค ส่วนในแง่ของผู้ประกอบ เราต้องเพิ่มความรู้ สร้างทักษะให้มากขึ้น เหมือนเวลาไปออกรบถ้าเราไม่มีโล่ ไม่มีเกราะ รบยังไงก็แพ้ แต่ถ้าเราใช้อาวุธลงไปสู้

เช่น ใช้เครื่องมือ ใช้เทคโนโลยี หรือการศึกษาความรู้ด้านการทำธุรกิจออนไลน์เพิ่มเติม อย่าง Shopee  เราก็มีคอร์สออนไลน์ มีทีมมาสอนให้กับผู้ค้าด้านเทคนิคต่างๆ หรือเราจะใช้ทูลส์ต่างๆ เข้ามาช่วยด้านการขาย ซึ่งเราก็มี

สิ่งที่เรียกว่า Shopee Affiliate Marketing Solution เป็นมาร์เก็ตติ้งโซลั่นให้กับผู้ขาย โดยที่เรามีกลุ่มของ Influencers ในเว็บไซต์มากกว่า 20,000 ราย จะทำหน้าที่ในการนำสินค้าไปโปรโมท เขียนบล็อก ถ่ายรูป ทำวิดีโอ แล้วแปะลิงก์ ซึ่งจะไดร์ฟเซลล์ให้กับร้านค้า เป็นการลงทุนที่การันตีผลลัพธ์ได้เลย ซึ่งรูปแบบนี้ในต่างประเทศนิยมใช้กันเยอะมาก

คุณออ – สุชญา ปาลีวงศ์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาด ช้อปปี้ ประเทศไทย มองว่า “สุดท้ายสิ่งที่จะทำให้เราชนะในเกมการแข่งขันได้ก็คือ เราต้องหยุดแล้วคิดว่า อะไรที่เวิร์คสำหรับเรา มองรอบข้าง แล้วทดลองอะไรใหม่ๆ อย่าไปยึดติดกับรูปแบบเดิม หรือยึดติดกับโปรดักซ์ตัวเองมากเกินไป หากจะพุชในฝั่งของเราเพียงอย่างเดียวก็ยาก นี่คือสิ่งที่ Shopee มองเห็นและอยากให้คำแนะนำกับผู้ประกอบการทุกราย เราต้องปรับตัวให้ได้ไม่มีอะไรแน่นอน แต่อะไรที่สำคัญต่อผู้บริโภคก็ให้เราไปตรงนี้ก็จะทำให้เรามีโอกาสรอดได้ในธุรกิจนี้”

สำหรับก้าวต่อไปของ Shopee คุณออ ได้บอกสื่อว่า ที่ผ่านมาเราก็เน้นเรื่องของแคมเปญดับเบิ้ลเดท และโปรโมชั่นอย่างหนักหน่วง แต่ปีนี้เราจะให้ความสำคัญกับผู้ขายมากขึ้น เพราะมองว่าผู้ค้าอัปสเกลได้ดีขึ้น

ดังนั้น Shopee ก็อยากจะซัพพอร์ตในมุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Affiliate Solution หรือบริการแบบผ่อนชำระ ที่ไม่เพียงแค่ทำกับแบงกกิ้ง แต่กับนอนแบงก์เราก็ทำให้สำหรับคนที่ไม่มีบัตรเครดิต ซึ่งหลายบริการก็สร้างความพอใจให้กับผู้ใช้งาน ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ดังนั้น Next step ต่อไปก็คือทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ เราจะนำเสนอบริการที่ดีตอบโจทย์ให้กับเขาได้มากขึ้นต่อไป

shopee affiliate จากประสบการณ์ตรง pantip

shopee affiliate รีวิวจาก pantip

จากหัวข้อการทู้: สร้างรายได้ผ่านการขายกับ Shopee

ก่อนหน้านี้ไปเจอโพสต์บนเฟซบุ๊กว่าเราสามารถได้ยอดขายเป็นเปอร์เซ็นต์จากช็อปปี้ โดยยอดต้องมาจากการซื้อผ่านลิงค์ที่เรานำไปโพสต์เท่านั้น

แต่ตอนนี้หาโพสต์ไม่เจอ อยากรู้ว่าสามารถทำได้จริงและมีรายได้จริงมั้ยครับ พอดีมีเพจที่ทำและผู้ติดตามค่อนข้างจะพอสมควรอยู่ เลยอยากลองหารายได้ดู ใครที่รู้หรือกำลังทำอยู่ช่วยแนะนำช่องทางด้วยครับ

  • สมาชิกหมายเลข 4078964
  • 30 ตุลาคม 2563 เวลา 11:49 น.

shopee affiliate ความคิดเห็นบน Pantip

ความคิดเห็นที่ 1-2

คำตอบนี้ชัดเลยค่ะ เราสมัครทำกับ Affiliate Shopee แล้วค่ะ ช่วงนึง ไล่ๆกับตอนทำดรอปริชปีที่แล้ว แต่ shopee เงื่อนไข โหดค่ะ คือ ตอนนี้ ยอดซัพ ยูทูป 20,000 ยอด follow แฟนเพจ หลักแสน ของเราตอนนั้น shopeeพึ่งมีระบบ Affiliate ใหม่ๆ ยูทูปเรามีคนติดตาม หลักหมื่น เลยได้เข้า ค่าคอมจากการแชร์ลิงค์สินค้าตอนนั้น ลูกค้าซื้อสินค้า 299 บาท เราได้ค่าคอา 4 บาทเองค่ะทู้กคนนนน

ช่วงนั้น กำลังศึกษาดรอปริชพอดี โมเดลเดียวกัน เด๊ะ แต่แค่ เรามองว่า shopee เค้าเอากำไร รายได้ไปทุ่มสื่อโฆษณา พรีเซนเตอร์ มากกว่า แล้วแทบจะไม่ง้อ คนช่วยโปรโมทเหมือนดรอปริช เพราะเข้าจะมีอำนาจต่อรอง ในการดีลกับคนขายสินค้าอยู่แล้ว

ส่วนดรอปริชเอากำไรมาหั่นระหว่าง เจ้าของแอพ กับนักโปรโมทแอพ เจ้าของแบรนด์ได้ ลูกค้าได้ เจ้าของแอพ(เจ้าของตลาด)ก็ได้ แล้วนักโปรโมทอย่างเราก็ได้ด้วย เป็นแอพของคนไทยแท้ๆ แต่พออะไรที่มักเป็ฯของคนไทย

ส่วนใหญ่มักจะตั้งแง่ ทั้งที่มีเอกสารจากหน่วยงานตรวจสอบ รับรอง แต่ก็ต้องปล่อยไปค่ะ สำหรับใครที่จ้องมองอยู่ว่า มันจะล้มแน่ๆถ้าไม่มีลูกค้า จะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายให้นักโปรโมท เพี้ยนเบลอ ถ้าเครือข่ายมือถือ ไม่มีคนใช้กำไรไม่ถึงเป้า ถ้าร้านอาหารไม่มีคนเข้า จะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายพนักงาน มาจ่ายลูกจ้าง ละคะ

เราคิดแบบตื้นๆ ก่อน เจาะลึกเนาะ เพราะฉะนั้น การเรียนรู้แล้วเอาไปศึกษา ค้นหาคำตอบที่สงสัย มันสำคัญมากๆค่ะ ถ้าเราศึกษาหลวมๆ แล้วไปกล่าวหาในจุดที่เราไม่ได้รู้จริง สุดท้าย ถ้าคนไม่สนใจ เขาก็จะไม่ได้ใส่ใจที่ค้นหาคำตอบอยู่ดี

สำหรับเรา อยากบอกคนที่ทำดรอปริชว่า ดรอปริช เป็นเหมือนตลาดสดค่ะ ที่มีเจ้าของอาจจะเคยมีข่าวไม่ดี

แต่อยากให้ดูว่าวันนี้ เขาพยายามปรับปรุงตลาด ให้แผงแม่ค้าขายได้ แล้วถ้าใครมาช่วยโปรโมทตลาดให้มีคนเข้ามาซื้อของ

เจ้าของก็จะให้ค่าคอม … ถ้ากลับมาซื้อซ้ำอีก เราก็จะยิ่งได้อีก มันก็มีอยู่แค่นี้ละค่ะ สำหรับเรา…ถ้าเราจะหยุดทำ ก็ต่อเมื่อเจอการทุจริต ผิดกฎหมาย และถ้าข้อนี้ผ่านได้ ที่เหลือก็คือกลยุทธิ์การทำธุรกิจล้วนๆค่ะ แค่เราไม่ถูกเอาเปรียบจนเกินไปก็โอละค่ะเพี้ยนหลงรัก

  • koryahgrass
  • 28 กรกฎาคม เวลา 16:46 น.