ก้อง อรรฆรัตน์ นิติพน อายุน้อยร้อยล้าน ประวัติ พี่น้อง อายุเท่าไหร่

ก้อง อรรฆรัตน์ นิติพน อายุน้อยร้อยล้าน

ในปัจจุบัน มีวัยรุ่นยุคใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ แปลกใหม่ กล้าคิดนอกกรอบ และความกล้าที่จะลงมือทำ โดยที่ส่วนใหญ่จะล้มเหลวในการทำงานในช่วงแรก ๆ แต่ด้วยความเชื่อมั่นและศรัทธาในสิ่งที่ทำ ค่อย ๆ ปรับแต่งวิธีการ ปรับสินค้าและบริการที่ต้องการนำเสนอ จนได้รับการยอมรับและประสบความสำเร็จในที่สุด ในบทความนี้จะนำบุคคลที่ประสบ ความสำเร็จของอายุน้อยร้อยล้านมานำเสนอก็คือ คุณก้อง อรรฆรัตน์ นิติพล

ก้อง อรรฆรัตน์ นิติพน อายุน้อยร้อยล้าน

ก้อง-อรรฆรัตน์ นิติพน ที่ทุกคนเห็นกันจนคุ้นชินคงเป็นการทำหน้าที่พิธีกรรายการอายุน้อย 100 ล้าน หรือแม้แต่ภาพของการเป็นน้องชายอ่ำ อัมรินทร์ ซึ่งในข้างต้นเป็นเป็นเพียงภาพบางส่วนในฐานะคนเบื้องหน้าเท่านั้น

พิธีกรรายการอื่นๆ

  1. รายการตามไปดู
  2. สปอร์ต ฟอร์ ฟัน
  3.  Zapp Same Same
  4. ขบคมเซียน

          หลายคนอาจจะไม่ทราบว่าเขาเป็นผู้ก่อตั้งและผู้บริหารของ Mushroom Group บริษัทผลิตสื่อที่เปิดมายาวนาน กว่า 16 ปี

  • ซึ่งในบทบาทพาร์ทนี้เองที่เราจะมาทำความรู้จักกับเขาให้มากขึ้น ตั้งแต่แนวคิดการริเริ่ม ก่อตั้งบริษัทจากห้องเช่าเล็ก ๆ จนถึงวันนี้ผลิตไปแล้วกว่า 116 รายการ มีเวลาออนแอร์รวมทั้งหมดร่วม ๆ 10,000 ชั่วโมง
  • การเรียนรู้ในการเป็นผู้บริหารที่เริ่มต้นจากคนที่ทำแทบทุกอย่างในบริษัท จนถึงบทเรียนชีวิตราคาแพงในโลกธุรกิจ
  • ประสบการณ์อันล้ำค่าที่ก่อตัวขึ้นในทุกวัน ซึ่งเขาเอ่ยถึงสองคำอยู่เสมอคือ “การทำไปเรียนรู้ไป” และ “ต้องทำทุกอย่างให้ดีขึ้นทุกวัน”
  • ไม่เพียงจะผลิตรายการทีวีเท่านั้น ด้วยสิ่งที่เขาเชื่อมั่นและยึดถือมาตลอดในการสร้างสรรค์ผลงานคือวลีที่ว่า “Content Create Community”  จึงได้เห็น อายุน้อย 100 ล้าน ไม่ใช่เพียงรายการสร้างแรงบันดาลใจสำหรับคนรุ่นใหม่ในการทำธุรกิจทางหน้าจอทีวีเท่านั้น หากแต่ยกระดับสู่หน้าชีวิตจริง
  • โดยสร้างคอมมูนิตี้ของคนทำธุรกิจที่ต้องการเติบโตไปข้างหน้าพร้อมกัน ขยายองค์ความรู้ที่สั่งสมสู่ อะคาเดมี สัมมนา คอร์สเรียน ไปจนถึง Business Solution
  •  ซึ่งปีนี้เชื่อเหลือเกินว่ายังจะได้เห็นการยกระดับไปอีกขั้น

ก้อง อรรฆรัตน์ นิติพน ประวัติ พี่น้อง อายุเท่าไหร่

ประวัติของ คุณ ก้อง อรรฆรัตน์ นิติพน

  • เกิดเมื่อปี 2520 ตอนนี้อายุ 44 ปี
  • เกิดในครอบครัวที่คุณพ่อเป็นตำรวจ คุณแม่เป็นแม่บ้านเพียงอย่างเดียว
  • คุณพ่อมีภรรยา 4 คน แม่ของคุณก้องเป็นภรรยาคนที่ 4
  • คุณก้องมีพี่น้อง 9 คนจากแม่ทั้ง 4 คน และพี่น้องทุกคนอยู่บ้านเดียวกัน
  • คุณพ่ออายุเยอะเลยให้อิสระอย่างเต็มในการทำทุกอย่างเอง

ออกไปค้นหาชีวิตได้ด้วยตัวเอง

  • มีโอกาสได้ไปเที่ยวกับเพื่อนตั้งแต่ ป.3-ป.4
  • ไปต่างประเทศคนเดียว
  •  กระทั่งการย้ายโรงเรียนก็ด้วยตัวเอง เลยทำอะไรด้วยตัวเองมาตั้งแต่เด็ก

การใช้ชีวิตตั้งแต่เด็ก อาจจะมีความคาบเกี่ยวว่าเกเรก็เกเรเลย กับได้ดีก็ดีเลย

  • ผ่านช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อมาก็ไม่รู้ว่ารอดด้วยดวงหรือว่าอะไรบางอย่าง ตั้งแต่อยู่มัธยมก็ไม่เรียนหนังสือ เข้าห้องเรียนน้อยมาก อยู่มหาวิทยาลัยก็เลือกเรียนกฎหมาย เพราะจะได้ๆไม่ต้องเข้าเรียน อ่านหนังสืออย่างเดียว
  • สิ่งที่ทำให้รอดมาได้เพราะคุณพ่อขออยู่สองอย่าง คืออยากให้ชอบในดนตรีและกีฬา
  • คุณพ่อให้เรียนเปียโนตั้งแต่ ป.4 จนถึงมัธยม เรียนตั้ง 8 ปี แต่ว่าไม่ชอบเลย เป็นสิ่งเดียวที่ทำให้ท่านไม่ค่อยได้ ส่วนกีฬามีโอกาสเป็นนักวิ่ง 100 เมตร ตั้งแต่ ป.2 จนถึงมหาวิทยาลัยปี 3 ซึ่งคิดว่าเป็นตัวชี้นำให้มีวินัยและอยากทำทุกวันให้ดีขึ้น รวมทั้งมีความอดทนในสิ่งที่คนอื่นไม่ได้อยากทำ

ไม่คิดอยากจะเอาดีในการเป็นนักวิ่ง 100 เมตร

  • ตอนนั้นทำให้รู้ว่าต้องยอมรับอะไรบางอย่างมากกว่า สมัยประถมอยู่โรงเรียนอัสสัมชัญ คิดว่าน่าจะวิ่งเร็วเป็นลำดับประมาณ 1 ใน 3 ของโรงเรียน ได้เป็นตัวแทนเขต ตัวแทนจังหวัด
  • มัธยมมาอยู่โรงเรียนเตรียมพัฒน์ คนเยอะขึ้น มีคนวิ่งเร็วกว่าเยอะมาก นั่นทำให้การเป็นนักกีฬาที่เมื่อก่อนอยู่อันดับต้น ๆ ต้องยอมรับว่าจริง ๆ แล้ววันที่เราเก่ง จะมีคนที่เก่งกว่าเสมอ
  • ได้เรียนรู้ว่าโลกมันใหญ่ต้องยอมรับว่าเราไม่ใช่ผู้ชนะ จาก 100 เมตรคนเดียว ก็เป็น 4×100 เมตร เพราะเราใช่ไม่เบอร์หนึ่งไง

ในช่วงวัยรุ่นไม่คิดอยากจะเข้าวงการบันเทิงอย่างพี่สาวพี่ชาย

  • ก็เป็นความท้าทายนะ พี่สาว (คุณอุ๋ม-อาภาศิริ นิติพน) เป็นนางแบบและนักแสดง พี่ชาย (คุณอ่ำ-อัมรินทร์ นิติพน) ก็เป็นนักร้องและนักแสดง
  • มันก็ดีตรงที่เราเป็นน้องชายของพี่ เขาก็เอ็นดูพาเราไปเจอผู้คน แต่สิ่งหนึ่งที่อยู่ในใจเลยคือก้องน้องอ่ำ แล้วอยู่ภายใต้ร่มเงาของพี่มานานเหมือนกัน
  • ทำงานก็อยู่ในบริษัทของพี่ อายุ 19-20 มีโอกาสได้เป็นพิธีกรรายการตามไปดู
  • ช่วงเรียนใกล้จะจบก็เป็นผู้จัดการพี่อ่ำ ได้เดินทางทั่วประเทศ ไปคอนเสิร์ต ออกกองละคร บริษัทดาราวิดีโอก็เลยชวนเล่นละครบ้าง
  • ในช่วงวัยรุ่นเลยมีโอกาสได้เล่นละคร 5 เรื่อง ภาพยนตร์ 4 เรื่อง มิวสิควิดีโอ 2 เรื่อง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ดี ทำให้นักเรียนกฎหมายอย่างเราได้ใกล้ชิดกับคำว่าวงการบันเทิง

ชีวิตช่วงเริ่มต้นวัยทำงานเป็นอย่างไร

  • ตอนที่เรียนจบกฎหมายก็มีโอกาสได้ทำงานเป็นนักกฎหมายฝึกหัดที่บริษัทธรรมนิติ เป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายในแง่สัญญาขององค์กร ทำประมาณปีนิดๆ ก็เกิดเป็นทางแยกของชีวิต
  • เดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2543 พี่เขา (คุณอ่ำ-อัมรินทร์ นิติพน) ได้แอร์ไทม์จากช่อง 9 ยุคคุณมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ เป็นผู้อำนวยการ อ.ส.ม.ท. ก็ลอนช์รายการเกี่ยวกับกอล์ฟชื่อ สปอร์ต ฟอร์ ฟัน
  • ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งของชีวิตแล้วล่ะว่า จะทำงานเป็นนักกฎหมายหรือทำธุรกิจคอนเทนต์มีเดีย แรกๆ ทำคู่กัน จนหัวหน้าถามว่าจะเอายังไงกับชีวิต
  • เวลาทำงานยังส่งแฟ็กซ์สัญญาโฆษณา ใบขอถ่ายรายการโทรทัศน์ ก็ต้องเลือกว่านักกฎหมายยังไงอาจจะกลับมาก็ได้ แต่โอกาสตรงนั้นไม่ได้มีบ่อยถ้าทำงานกับบริษัทของพี่
  • ซึ่งทำรายการก็มีโอกาสได้ไปนั่นมานี่ มีเวลานอกเหนือจากงานก็ได้ไปออกกองถ่ายละคร
  • อายุ 23-25 เดินทางไปสนามกอล์ฟทั่วประเทศ คอนเสิร์ตทั่วประเทศ
  • ซึ่งที่บริษัทมีอยู่ 5 คน จึงต้องดูงานเบื้องหลังในออฟฟิศด้วย ตั้งแต่หาโฆษณา เป็นคนซื้อคอมเครื่องแรกให้กับบริษัท
  • ส่วนพี่ชายทำหน้าที่เบื้องหน้า เนื้อหารายการ ก็เริ่มต้นจาก 0 ไม่มีอะไรเลย ก็เป็นชีวิตที่สนุกมากช่วงหนึ่ง

วันที่คิดจะเริ่มต้นทำ Mushroom วางแผนไว้อย่างไร

ก้อง อรรฆรัตน์ นิติพน Mushroom Group

ความฝันและบทเรียน

  • ย้อนกลับตอนมหาวิทยาลัยปี 4 มีโอกาสได้เป็นพิธีกรรายการชื่อ 2001 ตามไปดู คู่กับ ตั้น พิเชษฐ์ไชย ผลดี และติ๊ก เจษฎาภรณ์ ผลดี
  • ซึ่งสมัยก่อนเป็นของหมอซ้ง (ทรงวิทย์ จิรโศภิน) แล้วมาทำใหม่ในรูปแบบของคนรุ่นใหม่ ทำอยู่ 6 เดือนก็ถูกปลด เพราะว่าไม่ได้ทำหน้าที่พิธีกรที่ดี จึงคิดว่าเก่งเลยไม่ซ้อม
  • หลังจากที่ถูกปลดก็เก็บความฝันนั้นไว้ แล้วคิดว่าสักวันหนึ่งถ้ามีโอกาสจะกลับมาทำงานตรงนี้อีก ก็ไหลผ่านไป มาทำงานกับพี่ ทำหน้าที่การตลาดและเบื้องหลังของออฟฟิศที่ดี

จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นในปี 2545-2546

  • ตอนนั้น UBC Inside หรือ True Inside ในปัจจุบันต้องการหาผู้ผลิตรายการทีวีเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์และเซเลบริตี้
  • ซึ่งเปิดโอกาสให้โปรดักชัน เฮาส์ ได้เสนองานเข้าไป คนที่บอกข่าวคือคุณโบ๊ต จามร จีระแพทย์ คิดว่ามีโอกาสได้เสนอ Proposal ถ้าขอเป็นพิธีกรได้ก็จะได้ทำรายการในแบบที่อยากทำ
  • เสนอไป 3 รายการ ได้มา 1 รายการ คือ Zapp Same Same กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นผู้ผลิตรายการ
  • โดยเริ่มรายการประมาณกันยายน ปี 2546 พอทำได้สัก 3 เดือนก็ขยับเป็นรายการที่ 2 จนผลิต 3-4 รายการต่อสัปดาห์
  • ประมาณครึ่งปียอดขึ้นมาเกือบ 10 ล้านบาท เลยคิดว่าควรตั้งบริษัทของตัวเองได้แล้ว
  • โดยอยากได้ชื่อที่คนจดจำได้ง่ายๆ ตอนนั้นมีบริษัท Orange Apple เลยใช้บริษัทชื่อแรกว่า Garlic Group แล้วก็อยากมีแฟมิลีของมันเลยนึกถึง Mushroom เพราะเห็ดทำอะไรก็อร่อย ตั้งแต่ต้มยำยันสเต็ก
  • จนถึงวันที่จดทะเบียน Mushroom Television ในเดือนกันยายน 2547

Mushroom Group ในปัจจุบัน มีผลงานใดบ้าง

จากที่เริ่มต้นตอนปี 2547 ปัจจุบันก้าวเข้าสู่ปีที่ 19

  • ตอนนี้ผลิตแล้ว 116 รายการ ถ้านับเวลาออนแอร์ทั้งหมดก็เกือบ 10,000 ชั่วโมง ผลิตเยอะที่สุดคือ 12 รายการต่อสัปดาห์ เสาร์อาทิตย์มีรายการทั้งช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 9 Workpoint อัมรินทร์ และ PPTV นี่คือแผนกผลิตรายการทีวี
  • เมื่อก่อนรับจ้างผลิตรายการหรือ OEM แต่ความฝันของคนผลิตคอนเทนต์คือต้องเป็นเจ้าของเวลา

ในปี 2549 ถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งหนึ่ง

  • เรามีรายการของตัวเอง โดยซื้อแอร์ไทม์รายการไม่ธรรมดาต่อจากเขามา ด้วยความไม่รู้ คิดว่าอย่างนี้มันโอเค
  • อายุ 29 ติดลบประมาณ ​10 กว่าล้านบาท เพราะว่าค่าแอร์ไทม์สูงเกินไป ต้นทุนค่าแอร์ไทม์อย่างเดียว 400,000 บาทต่อเทป เดือนหนึ่งก็ 1,600,000 บาท รวมค่าโปรดักชั่น 2,000,000 กว่าบาท
  • โดยเขาบอกว่าจะขายได้ แต่เดือนแรกได้ 300,000 บาท เดือนต่อมา 400,000 บาท
  • จนพี่น็อต มาช่วยพาไปช่อง ITV ทำให้แอร์ไทม์ลดลง ตัวเลขเริ่มกลับมาดีขึ้น เกือบจะหายติดลบแล้วนะ แต่แล้ว ITV จอดำคาตาเลย จนเป็นบาดแผลว่าเราจะกลับมาแก้แค้นให้ได้
  • ช่วงถูกงดออกอากาศ เราต้องหนีตาย ตอนนั้นปรับมาทำโฆษณาแต่ราคาไม่แพง เรียกว่า Scoop Spot
  • ซึ่งเริ่มต้นจากความคิดที่ว่าทำไมทำหนังโฆษณาตัวหนึ่งเป็นล้าน ถ้าเป็นรายการค่าจ้างผลิตตอนละ 50,000 กว่าบาท เราทำหนังโฆษณาสกูปละ 100,000 บาทได้ไหม
  •  ปรากฏว่าปีนึงผลิตไปเกือบ 100 ผลงาน ทำให้เติบโตจากตรงนั้น หลังจากนั้นก็มีรายการของตัวเอง ซื้อเวลาแล้วขายแอร์ไทม์เป็นสเต็ปไล่มาเรื่อย ๆ

จุดเปลี่ยนที่สำคัญของบริษัทคือ ปี 2555

  • อ.ส.ม.ท.ให้ทำรายการ ตอนนั้นก็ลอนช์ 2 รายการพร้อมกัน อายุน้อย 100 ล้าน กับ ขบคมเซียน ในอายุประมาณ 30 กว่า
  • ฉะนั้นสิ่งที่สนใจคือเรื่องธุรกิจ มีไอเดียว่าฟังคนอายุน้อยที่ประสบความสำเร็จแล้วมันไฟลุกโชน
  • ถ้าอยากรู้ คนอื่นก็น่าอยากจะรู้เหมือนกัน เพราะคิดว่าคนรุ่นใหม่ที่อยากทำธุรกิจและอยากเติบโตคงมีเยอะ เลยทำรายการอายุน้อย 100 ล้าน ขึ้นมา เริ่มต้น 1 มกราคม 2555

ทบทวนเส้นทางที่ผ่านมา ได้เรียนรู้อะไรบ้าง

  • ตอนแรกคนก็ไม่เชื่อว่าคนไทยจะมีคนอายุน้อยทำธุรกิจถึง 100 ล้านบาท
  • เมื่อก่อนคิดว่าการที่คนรุ่นใหม่ทำธุรกิจถึง 100 ล้านบาท เป็นเรื่องที่ยากมาก
  • คุณก้องก็เดินทางค้นหาธุรกิจเพื่อต่อสู้กับคำพูดนี้ ก็เจอแขกรับเชิญมากขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งทำยิ่งรู้ว่าคนไทยรุ่นใหม่เก่ง ทำให้เห็นว่าทุกคนสามารถประสบความสำเร็จได้ถ้ามุ่งมั่นพอ นี่คือแก่นของอายุน้อย 100 ล้าน ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ต้นทุนชีวิตแบบไหน การศึกษาเป็นอย่างไร
  • ในช่วงเริ่มต้นของรายการอายุน้อย 100 ล้าน ถูกเปลี่ยนเวลามาสักประมาณ 8 ครั้ง เลวร้ายที่สุดโดนเปลี่ยนมาเป็น 5 ทุ่มครึ่งวันพุธ ไม่มีสปอนเซอร์เลย 6 เดือน ติดลบระนาว
  • แต่คุณก้องก็ทำด้วยความเชื่อว่าวันหนึ่งเดี๋ยวเขาก็คงให้โอกาส จนมาอยู่ช่อง Workpoint  ก็ยังคงทำหน้าที่ของเรา คือสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ในการเป็นเจ้าของกิจการ

รายการนี้ยังได้ทำให้เข้าสู่โลกอีกโลกหนึ่ง

  • SMEs วันนี้ก้าวเข้าสู่ปีที่ 9 ระหว่างทางได้เก็บสะสมดาต้าของ SMEs ไว้เยอะ เลย Expand ต่อเป็น Business Solution
  • เมื่อ 3 ปีที่แล้วเริ่มทำสัมมนาธุรกิจ ซึ่งมีคนมาร่วมฟัง 1,800 คน เป็นสัมมนาเก็บเงินนะ แล้วก็ Road Show อีก 20-30 จังหวัดทั่วประเทศ นี่คือยูนิตของอะคาเดมี่สัมมนา
  • อายุน้อย 100 ล้านยังได้ไปออกอากาศที่ประเทศลาว เมียนมา กัมพูชา และเวียดนาม
  • นอกจากนั้นยังทำให้เข้าใจเรื่องกลไกตลาดทุน เราตัดสินใจร่วมทางกับบริษัท บางกอก โพสต์
  • ทำให้เข้าสู่กระบวนการ M&A (Mergers and Acquisition) คือ Acquire ไปที่ 51% มีมูลค่าธุรกิจ 300 ร้อยล้านบาท เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 1 ล้านบาท เป็น 80 ล้านบาท

อายุน้อย 100 ล้าน จะมีทิศทางเป็นอย่างไรบ้าง จะได้เห็นสิ่งใดบ้าง

ทำให้เข้มข้น

  • หลังจากเป็นแรงบันดาลใจแล้ว อยากเป็น Know How ที่จับต้องได้ ก็สะท้อนผ่านอะคาเดมี่ แล้วมีเรื่องที่เป็นประโยชน์ของคนทำธุรกิจมากยิ่งขึ้น
  • พยายามตอบสนองในสิ่งที่ SMEs ต้องการ เป็นเครื่องมือทางการตลาด แฟลตฟอร์มทางดิจิทัล Skill Set ที่ต้องเติมสำหรับธุรกิจที่ถูกดิสรัปชั่น
  • ในโลกดิจิทัลที่จะต้องรู้ รวมถึงแหล่งทุน เราก็พยายามที่จะเป็นตัวกลางเพื่อให้ SMEs สามารถก้าวไปข้างหน้า

ก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าของธุรกิจ มีหลักการบริหารงานอย่างไรบ้าง 

ธุรกิจเปลี่ยนไปทุกวัน

  • 5 ปีแรกได้มันสนุกมากเลย ก็ Learning by Doing ไม่ใช่นักธุรกิจที่เก่งอะไรเลย แค่อยากทำทุกวันให้ดีขึ้น
  • หลักการคือพรุ่งนี้ต้องดีกว่าวันนี้ ถามว่าเหนื่อยมั้ยก็เหนื่อย ยากมั้ยก็ยาก แต่บอกกับตัวเองแล้วว่าจะทำสิ่งนี้ มุ่งมั่นที่จะทำแล้ว ก็ต้องแลก ทุกอย่างไม่ได้ง่าย
  • ซึ่งตอนนี้เชื่อว่าโลกมันเปลี่ยนไป Disruption ก็ต้องทำมากกว่าคนอื่น รู้เยอะกว่าคนอื่น

ทำให้รู้ว่าวันที่เราคิดว่าเก่ง ยังมีคนที่เก่งกว่าเราเสมอ

  • วันที่เรามีทุน จะมีคนที่มีทุนและใหญ่กว่าเราเสมอ ก็กลับมาที่วิ่ง 100 เมตร ทุกคนวิ่งได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถวิ่งเร็ว
  • นั่นหมายความว่าเราต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ อย่างวันที่เป็นการตัดสินใจสำคัญที่สุดคือวันที่ร่วมทุนกับบริษัท บางกอก โพสต์
  • ถามตัวเองว่าวันที่จะเสียความเป็นเจ้าของ เราจะโอเคมั้ย แต่ตอนนั้นก็เชื่อว่าร่วมกับคนที่เก่งกว่า มีประสบการณ์มากกว่า
  • ทำให้เรียนรู้จักการทำธุรกิจที่ใหญ่ขึ้นในรูปแบบ Corperate ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เลยต้องศึกษา AMC (Asset Management Company) ก็เป็นความท้าทาย

ในฐานะคนทำธุรกิจผลิตสื่อมีการเตรียมพร้อมปรับตัวอย่างไร

  • สิ่งที่ Mushroom Group และ อายุน้อย 100 ล้าน เชื่อคือ Content Create Community
  • คอมมูนิตี้ของเราคือคนที่มีธุรกิจแล้วอยากเติบโตไปข้างหน้า และเราตั้งใจจะเป็น Ecosystem ของ SMEs ที่มี Service และ Product มาดูแลคอมมูนิตี้ของเรา
  • ที่สำคัญคือเรามีคอนเทนต์อยู่ในทุกแฟลตฟอร์ม นอกจากมีแรงบันดาลใจแล้ว ยูนิตอะคาเดมี่ ยังมี Know How, Skill Set, สัมมนา, คอร์สเรียน Everest และ S100 ร่วมกับธรรมศาสตร์และศรีปทุม และคอร์สเรียน Miracle of Capital จากสิงคโปร์
  • คอร์สเรียนออนไลน์ Mushroomsuperclass ที่เอาคนที่เก่งที่สุดในแถวหน้าของเมืองไทยมาอยู่ในแฟลตฟอร์มออนไลน์
  • มียูนิตชื่อ Business Solution ซึ่งเอาดาต้าของคนที่อยู่ใน Ecosystem มาทำให้ผลิตภัณฑ์เติบโตไปข้างหน้า เผื่อใครที่อยากจะ Excerpt เข้าสู่คนกลุ่มนี้
  • มีสตูดิโอสำหรับให้คนมาเรียนรู้ฟังสัมมนาฟรีชื่อ Young Self Made Millionaire Club
  • หมายความว่าเราเป็นพื้นที่ของคนที่ต้องการจะเติบโต แล้วธุรกิจของเรายังเติบโตไปที่ สปป.ลาว เมียนมา กัมพูชา และเวียดนาม

อุปสรรคสำคัญของการทำธุรกิจที่ทำให้ไปไม่ถึง 100 ล้าน

  • ถอดใจก่อน หรือทำวิธีการเดิม ๆ ในขณะที่เขาใช้วิธีการใหม่ ธุรกิจก็เหมือนเดิม เพียงแต่ว่าคนเปลี่ยนไป
  • ต้องเข้าใจว่าธุรกิจของเราคืออะไร ลูกค้าเป็นใครกันแน่ จะเข้าถึงลูกค้าอย่างไร และ Value ของธุรกิจอยู่ที่ตรงไหน นั่นคือหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจที่ได้จากคนที่ประสบความสำเร็จ

มองว่าคุณเป็นอายุน้อย 100 ล้านไหม

  • บอกตัวเองว่าถ้าเหนื่อย หลับไปเดี๋ยวก็หาย เรื่องใจก็แค่มีความเชื่อว่าจะผ่านมันไปได้
  • ได้ประโยชน์จากแขกรับเชิญ ทุกคนที่เชื่อว่าจะสำเร็จ แม้ในวันนี้ยังไม่สำเร็จก็ตาม
  • แต่สิ่งที่สำคัญคือมีเป้าหมายและวิธีการอย่างไร ก็ค่อยๆ เดินไป อย่างน้อยก็หลุดบ้าง เบี้ยวไปบ้าง สุดท้ายถ้าเป้าหมาย ทิศทางและวิธีการชัดก็จะบอกตัวเองได้
  •  ซึ่งสิ่งที่มันเหนื่อยใจเพราะไม่รู้ว่าข้างหน้าเป็นอย่างไร ไม่รู้ว่าอยู่ตรงไหนของเป้าหมายแล้ว
  •  ถ้าเรารู้ว่าเป้าหมายคืออะไร อยู่ตรงไหนแล้ว และวิธีการที่กำลังไปต่างจากแผนเดิมแค่ไหน ก็ทำให้ความเหนื่อยใจหายไปได้

Mushroom Group เป็นหนึ่งในธุรกิจ แล้วมีธุรกิจอื่นๆไหม

  • เมื่อปีที่ผ่านมามีแผนลงทุนใน Startup และมีโอกาสเป็นกรรมการในบางบริษัท อย่าง Refinn แฟลตฟอร์มเกี่ยวกับรีไฟแนนซ์ Shippop เกี่ยวกับโลจิสติกส์ และ WorkVenture เกี่ยวกับการหางาน
  • เปิดร้านอาหาร 2 ร้านคือ Gyuma Yakiniku กับจิ้มแจ่วหมูทอด ร้านเพชร Chateau de Gems และธุรกิจดิจิทัลเอเจนซีอีกหนึ่ง เป็นความท้าทายทำให้ต้องเรียนรู้เรื่องกลไกตลาดทุน 
  • อย่างเวลามีคนมา M&A นั่นหมายความว่าเขามีเป้าหมายในการลงทุนอะไร
  • Mushroom Group ก็มีแผนในการเข้าตลาดหลักทรัพย์ภายใน 3 ปี เลยต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างคือ ดำเนินการเหมือนกับบริษัทในตลาดหลักทรัพย์
  • เราเป็นบริษัทจากห้องเช่าเล็ก ๆ ที่จะเติบโตสู่ตลาดหลักทรัพย์

เห็นอะไรจากการบริหารของคนรุ่นใหม่

  • เขาเก็บสถิติข้อมูลการเติบโตเป็นรายวันเลย มีเทคโนโลยีเข้ามาเยอะ เราใช้ Clound System ยังไม่เก่งเลยเท่ากับว่าก็ย้อนกลับไปถึงการเป็นนักวิ่ง ที่ว่ามีคนที่เก่งกว่า ยิ่งเด็กรุ่นใหม่ก็ยิ่งพัฒนาฝีเท้าขึ้น
  • เขาวิ่งเร็วด้วยเทคโนโลยี เท่ากับว่าเราต้องมีเขาในการที่จะทำให้เรารู้ในเรื่องที่เราไม่รู้เหมือนกัน

คำแนะนำถึงคนรุ่นใหม่ที่คิดฝันจะเปิดโปรดักชันเฮ้าส์หรือบริษัทผลิตสื่อเป็นของตัวเองไหม

  • ความท้าทายของคนรุ่นเก่าอย่างคุณก้องมากกว่า ในอดีตสิ่งที่คุณก้องทำเป็นเรื่องลึกลับ ผู้กำกับหลายคนบอกว่าเป็นพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์
  • การที่จะเอาคนคนหนึ่งมาถ่ายรูป ทำภาพเคลื่อนไหว สมัยก่อนอุปกรณ์แพงมาก วิธีการยากมาก มีไม่กี่คนที่มีกล้อง ตัดต่อได้
  • แต่ปัจจุบันคือทุกคนเกิดมาพร้อมกับโทรศัพท์ที่มีกล้องระดับคุณภาพ ตัดต่อได้จากมือถือ มีโดรนอยู่ในบ้านด้วยซ้ำ การทำวิดีโอเลยเป็นเรื่องที่ง่ายมาก
  • เมื่อก่อนแม้ว่าจะมีกล้องและตัดต่อได้ แต่ที่ที่จะออกอากาศเป็นเรื่องยาก ทีวีมีแค่ 4-5 ช่อง นั่นหมายความว่าความได้เปรียบคือการที่มีแอร์ไทม์ ตอนหลังหลักทุกอย่างถูกทำลายราบเป็นหน้ากลอง
  • ตอนนี้สำคัญที่สุดคือทุกคนสามารถมีสถานีอากาศทางโซเชียลมีเดีย ภายใต้ต้นทุนที่เป็น 0 เมื่อก่อนเราแข่งกันแค่ไม่กี่ 100 บริษัท
  • ตอนนี้มีคอนเทนต์ที่ต้องนำเสนอสู้กับ 8 ล้านสถานีในยูทูบ นั่นคือความท้าทายในฐานะผู้ผลิตคอนเทนต์
  • ทุกคนสามารถผลิตคอนเทนต์ สร้างคอมมูนิตี้ของตัวเองได้ นี่คือความท้าทายของโลกคอนเทนต์ในอนาคต
  • เวลาคนมีจำกัด ตาคนมีจำกัด นั่นหมายความว่าเขาติดตามในสิ่งที่สนใจ ในสิ่งที่เป็นตัวเขา Segment และ Fragment  ถึงเล็กลงเรื่อย ๆ แล้วก็ต้องเข้าใจว่าธุรกิจของเราคืออะไร และลูกค้าของเราเป็นใครด้วย

มองถึงวันเกษียณงานของตัวเองไว้ไหม

  • ยังไม่เคยมอง ไม่รู้ว่าจะเกษียณไปทำไม รู้สึกว่ายังสนุกในความท้าทาย คิดว่าตัวเองคงอายุถึง 90 ก็ต้องทำงานถึง 80 มั้ย
  • ตอนนี้อายุ 44 ปี ทำงานตอนอายุ 20 เท่ากับว่าเพิ่งทำงานได้ 24 ปี
  • ถ้าจะทำงานทั้งหมดคือ 60 ปี นั่นหมายความว่ายังไม่ถึงครึ่งหนึ่งของการทำงานเลย
  • ความรู้ที่มียังน้อย ยังต้องเรียนรู้ต่อไป ซึ่งยังเป็นแค่จุดเริ่มต้นของการทำงานของคุณก้องเอง

สรุป

  • จากประสบการณ์การงานและคลุกคลีอยู่ในแวดวงของธุรกิจของ คุณ ก้อง อรรฆรัตน์ นิติพน CEO บริษัท มัชรูม กรุ๊ป เจ้าของเพจและพิธีกรรายการ อายุน้อยร้อยล้าน ได้พบกับเรื่องราวที่ถือได้ว่าเป็นบทเรียนครั้งสำคัญในชีวิตมากมาย
  • ทำในสิ่งที่รักเป็นเรื่องหนึ่ง การทำธุรกิจก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะทำธุรกิจต้องมี “รายได้”
  • ทำธุรกิจที่ดีต้องมีกำไร กำไรมาจากความสามารถในการบริหารต้นทุน นั่นคือต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ ว่าจะทำธุรกิจอย่างไรให้ เก่งกว่าคนอื่นและถูกใจลูกค้าของเรามากที่สุด
  • ทำงานอย่างมืออาชีพ มืออาชีพคือ ทำงานที่ไม่อยากทำในเวลาที่เราไม่อยากทำ“ให้ดี” เพราะคนส่วนใหญ่อยากทำแค่งานที่อยากทำในเวลาที่อยากทำเท่านั้น
  • เมื่อลงสนามธุรกิจแล้วไม่มีคำว่ามือสมัครเล่น ต้องใส่ทุกอย่างอย่างเต็มที่
    อยู่เสมอ

อุปสรรคมาพร้อมกับโอกาสเสมอ เมื่อใดที่มีปัญหาหนักๆ แสดงว่าเรากำลังเติบโต เพราะถ้าไม่เติบโตก็จะไม่เจอปัญหา เมื่อผ่านไปได้เราจะแกร่งขึ้นเสมอ