RTM  Forex คือ อะไร Demand Supply ด้วย Price Action Forex

RTM  Forex คือ

RTM Forex คือ เว็บบอร์ดและเว็บไซต์ที่ให้บริการความรู้เกี่ยวกับ Forex ซึ่งเป็นเว็บภาษาอังกฤษ ( Read the Market) นอกจากนี้ยังมีคอร์สออนไลน์สอน Forex อีกด้วย RTM หรือ Read The Market มีชื่อเสียงในการวิเคราะห์ตลาด Forex ด้วยหลักการ Demand Supply ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ด้วย Price Action รูปแบบหนึ่ง

RTM เป็นที่พูดถึงอย่างมากในเว็บไซต์ Forexfactory และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการวิเคราะห์ทั้งหมดด้วย Demand Supply Zone ด้วย Price action ตลอดจนมีการพูดถึง Quasimodo หรือ QM ในเมืองไทย

RTM ได้ปล่อยเอกสารออกมาหนึ่งชุดเป็น File PDF เรื่อง “Supply and Demand” โดย Readthemarket ซึ่งนั่นเป็นแนวคิดการวิเคราะห์กราฟด้วยวิธีการวิเคราะห์ Supply and Demand ซึ่งเริ่มเป็นที่พูดถึงอย่างมากในเมืองไทย โดยมีสอนเทรดเบื้องต้น ในเพจ กัปตันเทรดดิ้ง รวมทั้งช่อง Video ของ กัปตันใน Youtube อย่างไรก็ตาม Forexduck ไม่ทราบว่าความรู้นั้นตรงกับต้นฉบับหรือไม่อย่างไร ไม่มีการยืนยัน

RTM Forex คือ อะไร

Supply and Demand โดย Readthemarket (RTM)

เนื้องหาของ RTM เกี่ยวกับ Supply Demand Ebook นั้นเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ทางเทคนิค ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้

  • การอ่านราคา (Price Reading)
  • การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis)
  • แนวรับแนวต้านหน้าตาเป็นยังไง (What do support & Resistance look like?)
  • Support and Resistance Breakout

สำหรับเนื้อหาของ Price Action จะแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ

Past

  • Supply and Demand
  • Support and Resistance
  • PAZ- Price Action Zones
  • Caps on Price – RBD/DBR
  • Flg Limits – DBD/RBR
  • Fail to Return – FTR

Approach

  • Compression
  • 3 Drive

Reaction

  • Engulf
  • Quasimodo
  • Diamond
  • The CanCan

เนื้อหาทั้งหมดแหวกทุกแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับ Price Action ที่เคยมีเผยแพร่ในอดีต และมีการนำไปใช้และประสบความสำเร็จจำนวนมาก สำหรับเนื้อหาที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคงจะหนีไม่พ้น Quasimodo ที่มี cheatsheet ออกมาในเวอร์ชั่นภาพ ซึ่งมี Quasi Modo cheat Sheet ด้วย โดยสามารถค้นหาได้ในเว็บเรา หรือ ที่นี่

สำหรับเวอร์ชั่น PDF ของ RTM สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่

Past

องค์ประกอบของ Pass มี 6 องค์ประกอบดังนี้

  1. Supply and Demand

Supply กับ Demand คือ โซนราคาที่คนที่มีความต้องการซื้อขายมาวางออเดอร์ซื้อขาย ทำให้เกิดโซนราคากัน Supply ก็คือ โซนที่คนส่วนใหญ่อยากขาย ส่วน Demand ก็คือ โซนที่คนส่วนใหญ่อยากซื้อ

1 Supply and Demand

จะเห็นว่า โซนที่คนวางขาย คือ ด้านบน (Supply) ส่วน Demand คนจะวางด้านล่าง เพราะคนต้องการซื้อถูกและขายแพงซึ่งจะมีรูปแบบย่อย คือ RBD DBR and RBR DBD

  • R = Rally (วิ่ง)
  • D = Drop (พุ่ง)
  • B = Base (พักฐาน)

RBD DBR

1 1RDB BDR

การเคลื่อนไหว จะเกิดตามภาพ ซึ่งแตกต่างตามขาขึ้นและขาลง โดยทางด้านซ้ายคือ (RDB) ขาลง ส่วน BDR (ขาขึ้น)

RBR DBD

ขณะที่บางครั้งการเคลื่อนไหวจะสั้น

1 2RBR DBD

DBD เท่ากับ การเคลื่อนไหวขาลง และ RBR เป็นขาขึ้น

  1. Support and Resistance

Support Resistance เกิดขึ้นเมื่อ ราคาไม่สามารถเคลื่อนไหวข้ามไปได้ เพราะว่า ปริมาณซื้อขายพื้นที่ดังกล่าวยังไม่หมด สืบเนื่องจากหลักของ Demand Supply ถ้าหากหมดจะเปลี่ยนแปลงขึ้นไปได้

2 Support and Resistance

จะสังเกตุว่า Support ก็คือ Demand Zone ถ้า Demand เหลือน้อยกว่า Supply ราคาก็ลดลง เพราะไม่มีคนซื้อแล้ว แต่คนขายมีจำนวนมาก ขณะที่ขาขึ้นก็จะตรงข้ามกัน

ตัวอย่างการหา Support resistance

2 1 Support and Resistance

  1. PAZ- Price Action Zones

PAZ มันคือ โซนราคาที่เกิด Price Action ไม่ว่าจะเป็น poles, flags, stacked supply/demand and compression ซึ่งยิ่งทดสอบแล้วไม่ผ่าน หรือ FTR (Failure To Return) นั่นเองมีตัวอย่างดังนี้

3 PAZ Price Action Zones

  1. Caps on Price – RBD/DBR

คือ การที่ ราคาพุ่งขึ้นมาจนถึง RBD คือ พุ่งมาแล้วพักฐาน แล้วจะมีการทำกำไร ซึ่งจะทำให้เกิดการทดสอบ ดังรูปใน RBD

4 Caps on Price RBD DBR

หลังจากนั้นจะเกิดการทำกำไรใน Engulf หรือ Compression ทำให้ร่วงลง แต่ว่าไม่สามารถทำ new low ได้และมีแนวโน้มพุ่งขึ้นไป นั่นคือ การใช้ประโยชน์ได้

  1. Flag Limits – DBD/RBR

Flag Limit ซึ่งเป็นรูปแบบ DBD และ RBR จะเกิดขึ้นเมื่อ เกิด Long Pole (ลงยาว) ขึ้นยาว (แล้วแต่ Buy Sell) หลังจากนั้นราคาจะแกว่งตัว ซึ่งจะมีสัญญาณที่เรียกว่า Flag Limit Area หลังจากนั้น ราคาจะแกว่งตัวเป็น Side way เพราะราคาเปลี่ยน momentum ดังรูป

5 Flag Limits – DBD RBR

การเกิด Flag Limit ทำให้เรารู้ว่าคาจะเปลี่ยน momentum แล้ว ทำให้เราสามารถมาเทรด Demand Supply ได้

  1. Fail to Return – FTR

FTR หรือ Fail to Return คือ ไม่สามารถกลับตัวได้ จะเปลี่ยนไปในทิศทางเทรนด์อยู่เช่นนั้น คือ พักฐานแล้วก็ไปต่อ พักฐานแล้วก็ไปต่อ ดังตัวอย่าง

6 Fail to Return – FTR

Approach

ต่อไปเป็น Approach ของการเทรด

  1. Compression

Compression คือ การที่ราคากระจุกตัว เกิดเป็นพื้นที่ที่ราคาอัดแน่นกัน ดังนี้

ตัวอย่าง Compression

Approach 1

ในภาพ Clean D คือ Demand Zone ชัด ๆ CP คือ Compression ซึ่งจะมีการกำหนดลักษณะของ Compression ที่ทำให้ราคากระจุกตัว ในพื้นที่บริเวณ Demand Zone ทำให้พื้นที่นั้นผ่านยากยิ่งขึ้น

  1. 3 Drive

3 Drive คือ การเคลื่อนที่ต่อเนื่องของราคา 3 ครั้ง ดังต่อไปนี้

Approach 2

3 Drive ในภาพประกอบด้วย 3 เวฟ

  1. Price move to QM Level คือ ราคากลับไปที่ Quasimodo level
  2. CP down to Strong D คือ การเกิด Compression ค่อย ๆ บีบอัดลงไปที่ Demand Zone
  3. Move quicly to SR คือ ไปที่แนวรับแนวต้านอย่างรวดเร็ว
  4. Compress down ไปที่ Resistance แนวรับ
  5. พุ่งขึ้นไปยัง Source
  6. และหลังจากนั้นจะเกิดการลงครั้งใหญ่

Reaction

ต่อไปปฏิกิริยาในการเทรด

  1. Engulf

Engulf หรือ Engulfing เป็นรูปแบบราคาที่เกิด Engulf หรือ การกลืนกินเข้าไป ในภาพเกิดพักฐาน หลังจาก Engulf ที่ Demand Zone สีฟ้า

Reaction Engulf 1

  1. Quasimodo

QM คือ ระดับราคาที่ไปทดสอบการเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากที่รายใหญ่เข้ามามีส่วนร่วมในตลาด ต่อเนื่องจาก ENGULF ซึ่งรูปแบบของ Quasimodo เป็น Price Action ที่มีการพูดถึงมากที่สุดในการเทรด Supply Demand สามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ Quasimodo

Reaction Quasimodo 2

ตัวอย่างจะเห็นการเกิด Quasimodo ในการทดสอบ Supply Zone รอบที่ 2 ในพื้นที่สีส้ม

  1. Diamond

ยังหาข้อมูลไม่ได้

  1. The CanCan

รูปแบบต่อไปนี้ไม่ได้ปรากฏใน sheet สรุปแต่เป็นจากหน้าวิเคราะห์ของ RTM ซึ่งใน Tradingview สามารถให้แค่ว่า Cancan หน้าตาเป็นอย่างไรเท่านั้น

Reaction The CanCan

หมายเหตุ: สรุปจาก RTM โดยย่อเท่านั้น