แชร์ลูกโซ่ คืออะไร หมายถึงอะไร แชร์ลูกโซ่แบบใหม่ ผิดกฏหมายอะไร

แชร์ลูกโซ่ คือ ลักษณะของการระดมทุนรูปแบบหนึ่งที่ไม่ได้มีกฏหมายรองรับ โดยการระดมทุนจะนำเงินจากทุกคนในวงแชร์มารวบรวมไว้ที่คนใดคนหนึ่ง นำเงินมาลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนที่สูงเพื่อจูงใจให้คนลงทุนเพิ่ม

แชร์ลูกโซ่อาจจะเป็นกลุ่มคน กลุ่มบริษัท หรือว่าเป็นกลุ่มนิติบุคคลก็ได้ แชร์ลูกโซ่ที่มีชื่อเสียงได้แก่ แชร์แม่ชม้อย ซึ่งเป็นวงแชร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง มีการสร้างความเสียหายในวงกว้าง

แชร์ลูกโซ่คืออะไร

แชร์ลูกโซ่หมายถึงอะไร

แชร์ลูกโซ่อาจจะมาจากการเล่นแชร์ ซึ่ง หรือการเปียร์แชร์ ซึ่งเป็นการนำเงินมาลงขันกัน โดยมีคนกลางเรียกว่า “ท้าวแชร์” ซึ่งจะเป็นคนเปียมือสุดท้ายและไม่เสียดอกเบี้ย คนที่ต้องการได้เงินจากการรวบรวมเงินนั้นจะต้อง จ่ายดอกเบี้ยเพื่อให้ได้เงินดอกเบี้ยจากวงแชร์

อย่างไรก็ตาม แชร์ลูกโซ่ ส่วนใหญ่ จะนำเสนอผลตอบแทนที่สูงในระยะเวลาอันสั้น เช่น 10 – 20 % ต่อเดือน แชร์ลูกโซ่มีหลายรูปแบบ และแพร่ระบาดไปหลายวงการ

แชร์ลูกโซ่หมายถึงอะไรบ้าง

แชร์ลูกโซ่ เริ่มระบาดในประเทศไทย เป็นอันมาก มีการทำการหลอกลวงต้มตุ๋นแชร์ ทำให้สูญเสียเป็นอันมากปัจจุบัน รูปแบบของแชร์ลูกโซ่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ มิจฉาชีพคิดวิธีการในการหลอกลวงแยบยลมากขึ้น

รูปแบบของแชร์ลูกโซ่หมายถึงอะไรได้บ้าง เรามาดูกันว่า รูปแบบของแชร์ลูกโซ่ปัจจุบันเป็นอย่างไรดังนี้

  • แชร์ลูกโซ่ที่ตกลงกันระดมทุนมาเพื่อที่จะตกลงให้กับคนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด แต่ว่าพอรวบรวมเงินได้มาแล้ว กลับเชิดเงินหนีหายไป
  • แชร์ลูกโซ่ที่หลอกลวงให้ทำงาน เช่น มีงานให้ทำ สมัครงาน และแฝงรูปแบบการลงทุนเข้าไว้ด้วย
  • แชร์ลูกโซ่ที่หลอกลวงให้ดูยอดวิว ดูเว็บ ทำงานออนไลน์แต่รายได้สูง สร้างแรงจูงใจให้คนเข้ามาและแอบระดมทุน
  • แชร์ลูกโซ่ที่นำเสนอการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง เช่น ทำฟาร์ม ลงทุนในหุ้น ลงทุนในบิตคอย ลงทุนใน Forex ลงทุนในคริปโต ลงทุนในเหมืองขุด หรือธุรกิจธนาคาร ลงทุนในเว็บชื่อดัง
  • แชร์ลูกโซ่ที่อ้างอิง เว็บชื่อดัง เช่น Xiaomi เพื่อที่จะดึงความน่าเชื่อถือ ว่าจะขายหุ้นบริษัท

การทำงานของแชร์ลูกโซ่จะทำการระดมเงิน โดยนำเสนอผลตอบแทนสูง ๆ ให้ลูกค้าฝากเงินเข้าและเอาเงินของลูกค้าไปจ่ายเงินให้กับลูกค้า แต่เรียกว่าผลตอบแทน เมื่อลูกค้าได้รับเงินคืนมาก็คิดว่า ผลตอบแทนเยอะมาก เพราะว่า เงินต้นของตนก็ยังอยู่ แท้ที่จริงแล้ว ผลตอบแทนที่ได้มาก็คือ เงินต้นของตนนั่นแหละที่เอามาจ่าย

หลังจากนั้น ก็จะสร้างการสร้างแรงจูงใจในการดึงคนเพิ่ม นั่นคือ การกระจายข่าว โดยการให้นักลงทุนที่ได้กำไร ชักชวนคนที่รู้จักใกล้ชิดเข้ามาลงทุนเพิ่ม โดยช่วงแรก ก็จะจ่ายผลตอบแทนอย่างที่ได้สัญญาไว้

หลังจากที่วงขยายไปอย่างรวดเร็วและปริมาณเงินมีขนาดใหญ่พอสมควรแล้ว ก็จะปิดหนีอย่างรวดเร็ว ในวงการคริปโตอาจจะเรียกว่า Rugpull ก็ได้ คือ การหลอกลวงนั่นแหละ

แชร์ลูกโซ่ในสมัยก่อน

เมื่อก่อนรูปแบบของแชร์ลูกโซ่ไม่ได้มีรูปแบบซับซ้อนและเข้าใจสังเกตุได้ง่าย โดยรูปแบบและขั้นตอนมีดังต่อไปนี้

  • นำเสนองาน นำเสนอโปรแกรมที่ให้ผลตอบแทนสูง เช่น 50 % ต่อเดือน ผ่านการโปรโมท ชักชวน การตลาด
  • ให้ลูกค้าลงทุน และนำเงินที่ลงทุนมาจ่ายคืนลูกค้า
  • ให้ลูกค้ากระจายข่าว กระจายการลงทุน โดยเสนอผลตอบแทนเพิ่ม ถ้าหาลูกค้าเพิ่มได้
  • เมื่อวงขยายใหญ่ ก็จะหามาเรื่อย ๆ จนวงเริ่มเป็นที่พอใจของคนควบคุมวง
  • เมื่อพอใจแล้วก็จะเชิดเงินหนีหายไป

แชร์ลูกโซ่แบบใหม่

ปัจจุบันแชร์ลูกโซ่แบบใหม่ มีรูปแบบต่างออกไปมาก การใช้กลยุทธ์แบบเดิม คือ โปรโมทผลตอบแทนและที่ชอบใช้ในตลาดหุ้นเริ่มหายไป แต่ระบาดไปทุกวงการตัวอย่างเช่น

  • แชร์ลูกโซ่ฟาร์มเห็ด
  • แชร์ประเภทฝากลงทุนให้ดูแล
  • แชร์หลอกให้ทำงาน
  • แชร์หลอกเว็บดังเช่น ลงทุนซื้อหุ้นกับบริษัทยักษ์ใหญ่ ใช้ชื่อคล้ายแบรนด์ดัง
  • แชร์หลอกให้ขายของ หลอกให้ซื้อสินค้า

แชร์ลูกโซ่ผิดกฏหมายอะไร

การกระทำใดก็ตามที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน หรือเข้าข่ายหลอกลวงประชาชน จะเรียกว่าเป็นการผิด พรก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 ซึ่งแชร์ลูกโซ่ถือว่าผิด พระราชกำหนดนี้อย่างชัดเจน โดยเนื้อหาหมวดสำคัญได้แก่

  • พระราชกำหนด การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527
  • ประมวลกฏหมายอาญา หมวด 3 ความผิดฐานฉ้อโกง
  • พระราชบัญญัติขายตรงและการตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545