เสี่ยปู สมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล ประวัติการลงทุน

ประวัติ เสี่ยปู่

คุณสมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล หรือฉายา เสี่ยปู่ เป็นนักลงทุนหุ้นรายใหญ่ที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก เนื่องจากเป็นนักลงทุนอาวุโสที่มีความสามารถ มีอายุกว่า 70 ปีแล้วในปี 2565 ประวัติการลงทุนของเสี่ยปู่มีความเป็นมาที่ไม่ธรรมดา ใช้ความพยายามกว่าจะมีพอร์ตหุ้นมูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท

  • คุณสมพงศ์เป็นเซียนหุ้นที่นักลงทุนหุ้นรายย่อยให้ความเคารพเลื่อมใสและติดตามอย่างต่อเนื่อง
  • ลงทุนในหุ้นมายาวนานต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2529 รวมระยะเวลากว่า 36 ปี
  • เริ่มต้นลงทุนที่ 500,000 บาท ปัจจุบันมูลค่าพอร์ตอยู่ที่ 2,000 ล้านบาท เติบโตกว่า 4,000%
  • ลาออกจากราชการหลังจากศึกษาหุ้นมาเป็นอย่างดีเพื่อมาเทรดหุ้นอย่างเดียว
  • ไอดอลของเสี่ยปู่ ในการศึกษาเกี่ยวกับหุ้น คือ วอร์เรน บัฟเฟตต์
  • ตั้งเป้าหมายการลงทุนไว้ว่าจะลงทุนในหุ้นไปจนตลอดชีวิต

เสี่ยปู่

1 เสี่ยปู่

ประวัติส่วนตัว

เสี่ยปู่มีการรักษาความเป็นส่วนตัวอย่างเข้มข้น รายละเอียดวันเดือนปีเกิด และประวัติบางอย่างไม่ปรากฎบนโลกออนไลน์

  • ภรรยา : คุณวารุณี ชลคดีดำรงกุล
  • มีลูก 2 คน ลูกสาวและลูกชาย

ประวัติการลงทุน

เสี่ยปู่เริ่มต้นจากการเป็นข้าราชการในสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่นโยบายและแผน ก่อนจะลาออกจากงานในวัย 36 ปี มาเข้าตลาดหุ้นเต็มตัวในปี 2530 ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้น 500,000 บาท

เสี่ยปู่มีแนวทางการลงทุนในช่วงที่เข้าตลาดหุ้นใหม่ ๆ คือ การเก็งกำไร เนื่องจากในตลาดหุ้นช่วงนั้นไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วเท่ากับปัจจุบัน

ต่อมาในปีเดียวกัน เกิดเหตุการณ์เลวร้ายที่สุดในตลาดหุ้น หรือ Black Monday ทำให้พอร์ตลงทุนของเสี่ยปู่ลดลงเหลือเงิน 200,000 บาท

วิกฤตครั้งต่อไปของเสี่ยปู่คือวิกฤตต้มยำกุ้ง แต่ก็รอดมาได้เนื่องจากเทขายไปจนเกือบหมด แทบไม่ถือหุ้นอะไรไว้เลย ก่อนจะมาเข้าซื้อหุ้น KK ที่ราคา 0.91 บาท ขายออกไปตอนราคา 2 บาท ทำเงินให้เสี่ยปู่ประมาณ 50 ล้านบาท

เสี่ยปู่บอกว่าการขาย KK ไปในราคา 2 บาท เป็นการขายที่ผิดพลาด เนื่องจาก 2-3 ปีต่อมาราคาพุ่งไปอยู่ที่ 80 กว่าบาท หากเสี่ยปู่ไม่ขายไปในช่วงเวลานั้น จะสามารถทำเงินได้มากกว่าเดิมหลายเท่าตัว เสี่ยปู่จึงคิดว่าถ้าหากมีความรู้เรื่องหุ้นจะสามารถถือหุ้นยาวได้

ต่อมาภายหลังเสี่ยปู่ได้รับของขวัญปีใหม่เป็นหนังสือของวอร์เรน บัฟเฟตต์ “วาทะวอร์เรน บัฟเฟตต์” จากคุณมนตรี ศรไพศาล ซึ่งขณะนั้นเป็น CEO บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง จึงเปลี่ยจากการลงทุนเก็งกำไรมาเป็นการลงทุนแบบเน้นคุณค่า หรือ VI แทน

เสี่ยปู่ใช้เวลาประมาณ 10 ปีในการปั้นพอร์ตหุ้นให้ขึ้นมามีมูลค่า 100 ล้านบาท ด้วยแนวคิด ขายหุ้นที่นักลงทุนให้ความสนใจเพื่อไปเก็บซื้อหุ้นที่ไม่มีใครสนใจ ตรงกับหลักการค้าที่ดี คือ ซื้อของถูก ขายของแพง รับผลกำไร

ปัจจุบันเสี่ยปู่มีพอร์ตหุ้นมูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท ถือหุ้น 90% ของพอร์ตลงทุนทั้งหมด โดยมีหุ้นที่ถืออยู่ในมือทั้งหมดจำนวนเกือบ 30 ตัวด้วยกัน

แนวทางการลงทุน

เลือกหุ้นที่มีพื้นฐานดี สามารถเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว โดยไม่เลือกว่าอยู่ในหุ้นกลุ่มใด และต้องเป็นหุ้นที่คนอื่น ๆ ยังมองไม่เห็นหรือยังไม่เป็นที่นิยม โดยมีปัจจัยในการเลือกหุ้นของเสี่ยปู่มีทั้งหมด 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่

  • อัตรากำไรเจริญเติบโต
  • ROE สูง
  • การแข่งขันทางธุรกิจต่ำ
  • ผู้บริหารมีความสามารถและมีคุณธรรม

เสี่ยปู่ชอบเลือกหุ่นที่มีกำไรต่อหุ้น Earning per Share หรือ EPS ที่เติบโตสม่ำเสมอ เพราะค่อนข้างเป็นหุ้นที่มีความมั่นคง โดยต้องมีเกณฑ์ EPS ประมาณ 20-30% ต่อปี ยิ่งถ้ามี P/E ต่ำ ๆ ประมาณน้อยกว่า 10 การเติบโต Growth สูง ก็จะมีความน่าสนใจมาก

2 เสี่ยปู่ชอบเลือกหุ่นที่มีกำไรต่อหุ้น

สามารถคำนวณว่าหุ้นตัวใดน่าลงทุนจาก PEG หรือ P/E นำมาหารด้วย Growth หากต่ำกว่า 1 ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว ยิ่งไปกว่านั้นหาก PEG ต่ำถึง 0.5-0.6 เสี่ยปู่ก็จะชอบมากเป็นพิเศษ ยิ่งถ้าเป็นหุ้นที่มีการจ่ายเงินปันผล ก็จะเป็นสมบูรณ์แบบ

ความสามารถของผู้บริหารรวมถึงประวัติการทำกำไรของผู้บริหารก็มีส่วนสำคัญในการเลือกหุ้น หากเป็นผู้บริหารที่พูดแล้ว ถึงเวลาทำได้อย่างที่พูดไว้ก็จะดีมาก เนื่องจากเน้นไปที่การเติบโตของของหุ้นมากกว่าเงินปันผล หากเติบโตมากแต่ปันผลน้อยก็ไม่เป็นไร

ถ้าบริษัทไม่โต ต้องขายหุ้นทิ้ง
ถ้าดูพลาดก็มีโอกาสขาดทุนได้

สมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล

เสี่ยปู่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับหนี้สินของบริษัท เนื่องจากมองว่าเป็นการมีหนี้สินเพื่อสร้างการเติบโต หากอยู่ในมือผู้บริหารที่มีความสามารถที่กู้เงินมาเพื่อลงทุนขยายกิจการต่อ กำไรที่ได้ก็จะดีกว่าดอกเบี้ยอยู่แล้ว ซึ่งบริษัทที่ไม่มีหนี้สินอาจจะไม่โต

หากหุ้นไม่ดี หุ้นไม่มีพื้นฐานก็จะไม่ลงทุน เพราะเสี่ยปู่เชื่อว่า ราคาหุ้นจะขึ้นไปอยู่ในราคาที่แท้จริงเสมอ หากลงทุนในหุ้นที่พื้นฐานไม่ดี เสี่ยปู่เปรียบเสมือนมาร่วมด้วยช่วยกันเป่าลูกโป่ง การลงทุนทุกครั้งต้องมองพื้นฐานให้ดี

เสี่ยปู่ พอร์ต

ปัจจุบันหุ้นที่คุณสมพงศ์รวมกับของภรรยา มีหุ้นที่ถืออยู่หลายตัว ประมาณ 20 ตัว โดยหุ้นที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับ ของเสี่ยปู่และภรรยา ได้แก่

  • ORI มูลค่า 1,026 ล้านบาท
  • AJ มูลค่า 384 ล้านบาท
  • BROCK มูลค่า 212 ล้านบาท
  • ICN มูลค่า 42 ล้านบาท
  • SA มูลค่า 41 ล้านบาท

คุณสมพงศ์มองว่าถือหุ้นเยอะเกินไปก็อยากจะปรับพอร์ตลงทุน ถ้าหากถือหุ้นไม่เกิน 10 ตัวได้ก็จะทำให้โฟกัสได้ดีกว่าถือหุ้นเยอะ ๆ

คุณสมพงศ์ เคยทำเฟสบุ๊คแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับหุ้นอยู่ช่วงปี 2015 ก่อนที่จะหยุดการเคลื่อนไหวลงในปี 2017

การเข้าซื้อหุ้น

คุณสมพงศ์จะเข้าซื้อหุ้นในช่วงเวลาที่แย่ ๆ ตลาดลงแรง ๆ หุ้นปรับฐานลง เป็นจังหวะที่ดีในการเข้าซื้อ หากมีความมั่นใจในหุ้นก็จะเข้าซื้อหุ้นเลย ด้วยการคำนึงถึงมูลค่าแฝงของบริษัทร่วมด้วย เช่น บริษัทที่มีที่ดินเยอะ มูลค่าที่ดินสูงกว่าราคาตลาด คุณสมพงศ์ก็จะมองว่าเข้าซื้อที่ดิน เป็นต้น

สมมติว่าบริษัทถือครอบที่ดิน 100 ไร่ หากมีหุ้น 10% ก็เท่ากับว่าถือครองที่ดิน 10 ไร่ หากบริษัทมีที่ดินทำเลดีติดทะเลหรือภูเขา และผู้บริหารมีความสามารถที่จะเข้าไปพัฒนา หุ้นก็จะมีโอกาสเติบโตขึ้นมหาศาล

ราคายิ่งต่ำลงมาเรื่อย ๆ แต่พื้นฐานดีและมีความมั่นใจในหุ้น ก็จะเข้าไปคุยกับผู้บริหารว่ามีปัญหาอะไรตรงไหนหรือไม่ ซึ่งการเข้าซื้อไม่ได้ดูราคา Bid และ Offer แต่อย่างใดเลย วิธีการเข้าซื้อจะเป็นการเข้าค่อย ๆ ทยอดเข้าซื้อเรื่อย ๆ

ถ้าซื้อแล้วราคาลงอีก ก็ซื้ออีก จะทำให้ซื้อได้ที่ต้นทุนต่ำ โดยคุณสมพงศ์ได้กล่าวว่าไม่ถนัดใช้เครื่องมือทางเทคนิคจึงไม่ได้ดูเครื่องมืออะไรเลย อีกทั้งไม่ได้สนใจเปอร์เซนต์การเข้าซื้อเลย หากซื้อเยอะแล้วก็จะหยุดซื้อ

การขายหุ้น

คุณสมพงศ์มีการขายหุ้นแบบดู Cycle ของตลาดหุ้น แบ่งออกเป็น 2 จังหวะ ได้แก่

  • P/E สูงระดับธรรมดา พื้นฐานยังโตได้ดี ก็จะแบ่งขาย รอจังหวะปรับราคาลงก็จะมีกำลังซื้อเพิ่ม
  • P/E สูงมาก จังหวะขึ้นเร็ว ก็จะขายหมดเลย

ตัวอย่างเช่น หุ้น AJ ซื้อที่ราคา 2 บาท จังหวะขึ้นแรงวันละ 15% ติดต่อกันเป็นเวลา 6 วัน ขายในวันที่ 7 ด้วยราคา 38-39 บาท

  • ถ้าหากราคาหุ้นต่ำลงชั่วคราวก็จะยังถือหุ้นไว้
  • ถ้า 2 ไตรมาสแรกไม่ดี แต่ไปดีที่ไตรมาสหลังก็จะยังถือหุ้นไว้
  • ถ้าหากผิดจากที่คาดเอาไว้ไปไกลก็จะขาย
  • ถ้าพื้นฐานเปลี่ยนแปลงก็จะขาย
  • ถ้าผู้บริหารบอกว่าหุ้นจะโตแต่ไม่โต มูลค่าลดลงก็จะขาย

ตัวอย่างเช่น หุ้น GL ถึงแม้จะขายไปหมดแล้ว กองทุนก็ขายกันหมดเลย แต่มองว่า Growth ยังดีอยู่ ราคาลงมาหนักมาก ๆ ก็ยังกลับเข้าไปลงทุนอีก

คำแนะนำสำหรับมือใหม่

3 คำแนะนำสำหรับมือใหม่

การเข้าซื้อแรกเริ่มคุณสมพงศ์จะเข้าซื้อด้วยเงิน 2-3% ของพอร์ตลงทุน แล้วค่อย ๆ ทยอยรับซื้อเมื่อราคาปรับลงมา จากนั้นเมื่อเวลาผ่านไปหุ้นปรับตัวสูงแล้วทยอยขาย ราคาปรับลงมาที่ราคาเข้าซื้ออาจจะเหมือนแพง แต่การปรับฐานทำให้ต้นทุนสูงขึ้นเพียงเล็กน้อยเพราะต้นทุนเฉลี่ยยังต่ำอยุ่

หุ้นที่มีกำไรผันผวน ควรดูประวัติการทำกำไรของบริษัท เช่น หากบริษัททำกำไรได้ไม่ดีมาโดยตลอด แต่ราคาหุ้นปรับขึ้นกะทันหัน หรือบริษัทประกาศว่ากำลังฟื้นตัวจากภาวะตกต่ำ บริษัทแบบนี้มักจะฟื้นตัวไม่จริง เป็นการสร้างกำไรช่วงสั้น ๆ ก่อนจะขายหุ้น

จุดสังเกตบริษัทที่ไม่ดีของคุณสมพงศ์ เช่ บางบริษัทออกใบสำคัญแสดงสิทธิ (warrant) หรือหุ้นลูกมาเยอะ ๆ แล้วแจ้งผลกำไรดีมาก ให้จับจุดสังเกตได้เลยว่าเป็น warrant ทั้งนั้น การเลือกหุ้นจึงต้องเลือกด้วยความระมัดระวัง