ทฤษฎีการลงทุน ในหุ้น ตลาดหลักทรัพย์ เศรษฐศาสตร์

ทฤษฎีการลงทุน คืออะไร

ทฤษฎีการลงทุนในตลาด ไม่ว่าจะเป็นตลาดหลักทรัพย์ คริปโต ตลาด Forex จะต้องมีหลักยึด ว่าเป็นไปตามหลักการใด ดังนั้นทฤษฎีจึงใช้เป็นแนวทางในการลงทุน แต่ละทฤษฎีมีความเชื่อแตกต่างกัน มีการพิสูจน์ตามหลักวิชาการ แล้วแต่ละทฤษฎีมีอะไรบ้างเป็นอย่างไรบ้าง มาดูกัน

  • ทฤษฎีตลาดมีประสิทธิภาพ ( Efficient Markets Hypothesis)
  • ทฤษฎี 50 % ของคนในตลาด (Fifty-Percent Principle)
  • ทฤษฎีคนโง่ผู้ยิ่งใหญ่ (Greater Fool Theory)
  • ทฤษฎี Odd Lot
  • ทฤษฎีกลัวขาดทุน (Prospect Theory)
  • ทฤษฎีความคาดหวังอย่างมีเหตุผล (Rational Expectations Theory)
  • ทฤษฎีพื้นฐานของกิจการ
  • ทฤษฎีการวิเคราะห์ทางเทคนิค

ทฤษฎีตลาดมีประสิทธิภาพ ( Efficient Markets Hypothesis)

ก่อนอื่นเรามาดูรายละเอียดเกี่ยวกับทฤษฎีตลาดมีประสิทธิภาพกัน

ตลาดที่มีประสิทธิภาพ (Efficient Market) คืออะไร

ตลาดที่มีประสิทธิภาพคือ ตลาดที่ราคาหลักทรัพย์ได้สะท้อนถึงมูลค่าที่แท้จริงอยู่แล้ว สะท้อนระดับความมีประสิทธิภาพตามระดับของข่าวสารไปยังนักลงทุนเรียบร้อย

  • Efficient Market Hypothesis (EMH) เป็นทฤษฎีของ Eugene Fama University of Chicago
  • ได้ตีพิมพ์ผลงานในปีค.ศ. 1995 โดย มีความเชื่อว่า
  • ตลาดเงินจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเสมอ
  • นั่นคือ ราคาของสินทรัพยจะสะท้อนข่าวออกมาแล้วผ่านมูลค่า

ตลาดที่มีประสิทธิภาพ (Efficient Market) คืออะไร

ระดับของข่าวสาาร

ข่าวสารขอ้มูลที่แพร่ไปยงัผลู้งทุน อาจจา แนกออกเป็น 3 ระดับ คือ

  1. ข้อมูลตลาด (Market Information) คือ ข้อมูลเกี่ยวกับราคาและปริมาณที่เกิดขึ้นแล้ว
  2. ข้อมูลสาธารณะ(Public Information) คือ ปัจจัยพื้นฐานของบริษัท เช่น กำไร ปันผล ควบรวมกิจการ ผลิตภัณฑ์ใหม่ วิธีการทางบัญชี
  3. ข้อมูลทุกประเภท (All Information) ข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในและภายนอก

ความมีประสิทธิภาพในระดับต่ำ (Weak–Form Efficiency)

คือ รูปแบบข่าวสารที่ใช้ประเมินเพื่อตัดสินใจขื้อขายหุ้น ข้อมูลตลาด

  • ได้แก่ ข้อมูลด้านปริมาณ ราคาการหุ้นที่เกิดแล้ว
  • แสดงว่าไม่สามารถใช้ข้อมูลในอดีตด้านปริมาณหรือราคามาใช้พยากรณ์ราคาในอนาคต
  • เพราะราคาปัจจุบันได้สะท้อนข่าวสารแล้ว

ความมีประสิทธิภาพของตลาดในระดับกลาง (Semi-Strong-Form Efficiency)

คือ ข่าวสารที่ใช้ประเมินเพื่อตัดสินใจซื้อขายหุ้น ได้แก่

  • ข้อมูลตลาด ซึ่งผู้ลงทุนยังใช้ข่าวสารได้รับทราบและมีอยู่
  • ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลอดีต ปัจจุบัน และการเดาอนาคต
  • แสดงว่าราคาปัจจุบันของหลักทรัพย์ในตลาด ได้สะท้อนข่าวสารไว้อย่างเต็มที่ ซึ่งในตลาดที่มีประสิทธิภาพ
  • ระดับกลางไม่สามารถใช้กลยุทธ์การลงทุนที่อิงอยู่บนข่าวสารที่เผยแพร่ต่อสาธารณะได้
  • เนื่องจากราคามีการเปลี่ยนเพื่อตอบสนองต่อข่าวสารสาธารณะอย่างเป็นระบบ เหมาะสม รวดเร็ว
  • เจ้าของหุ้นจะได้กำไรหรือขาดทุนจากหลักทรัพย์ทันทีที่มีการประกาศข่าวออก
  • หลังจากนั้นจะไม่มีคนทำกำไรได้จากข่าวนี้อีก

ความมีประสิทธิภาพของตลาดในระดับสูง (Strong-Form Efficiency)

คือ ข่าวที่ใช้ประเมินเพื่อตัดสินใจซื้อขายหุ้น ได้แก่

  • ข่าวสารทุกประเภทรวมที่เป็นสารธารณะ และไม่เป็นสาธารณะ
  • ข่าวสารที่อยู่ระหว่างการตัดสินใจของรัฐ
  • โดยไม่สามารถใช้ข้อมูลหรือข่าวสารที่มีนักลงทุนรู้ แม้เพียงคนเดียวมากำวิธีการทำกำไร
  • เนื่องจากข่าวสารทั้งหมดได้สะท้อนรวมอยู่ในราคาของหลักทรัพย์แล้ว

ความมีประสิทธิภาพของตลาดทั้ง 3 ระดับ มีความสัมพันธ์กันแบบต่อเนื่อง อย่างแยกไม่ได้

ทฤษฎี 50 % ของคนในตลาด (Fifty-Percent Principle)

หลักการ 50 % บอกว่า trend ที่เกิดขึ้น จะเคลื่อนไหว 20 % เป็นขาขึ้นก่อน ก่อนจะพักฐานครึ่งหนึ่ง คือ 50 % หรือก็คือ ราคาลง 10 % นั่นแหละ ก่อนที่จะไปต่อ ซึ่งแนวคิดนี้สามารถใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคได้

หลักการของทฤษฎี 50 %

หลักการของทฤษฎี 50 % ง่าย คือ ถ้าหากมีเรื่องต้องตัดสินใจ เหตุการณ์จะเกิดขึ้น เมื่อมีกลุ่มคนมากกว่าครึ่งหนึ่งที่เห็นว่า การตัดสินใจจะเป็นแบบนั้น ซึ่งการเกิดเกิน 50 % ก็จะส่งผลต่อผลของราคา ซึ่งนั่นก็คือ การเคลื่อนไหวของราคา โดยหลักการนี้จะถูกใช้ประยุกต์ในกราฟ โดยกล่าวว่า เมื่อราคาเพิ่มขึ้น 100 % จะมีคนกึ่งหนึ่งที่เห็นว่า ราคาขึ้นมาแพง และมีคนกึ่งหนึ่งขายออกมา

  • จะใช้ในการพยากรณ์โดยใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค ว่า การพักฐานจะเป็น 50 % ของเทรนด์
  • อย่างไรก็ตามมันไม่ได้ใช้ตัวเลข 50 % ตรงไปตรงมา แต่ใช้ 50 – 67 %
  • Technical analysts ใช้หลัก 50% ในการวิเคราะห์จุดเข้าในหุ้น และดูระดับแนวรับแนวต้านเพื่อป้องกันการเคลื่อนที่ต่อ
  • แนวคิดหลักนี้กล่าวว่านักลงทุนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมคล้ายกัน

 

ทฤษฎีการวิเคราะห์ทางเทคนิค

การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค คือ การที่นำข้อมูลราคาหลักทรัพย์ในอดีตมาอธิบายรูปแบบของ
ราคาหลักทรัพย์ในอนาคตอย่างมีแบบแผน หรือก็คือ การพยากรณ์การเคลื่อนไหวราคาด้วยหลักสถิติ

  • แม้ว่านักลงทุนยังคงต้องรับรู้ถึงข้อมูลทางเศรษฐกิจของกิจการในอนาคต
  • การวิเคราะห์ทางเทคนิค คือ การตอบสนองของราคาหลักทรัพย์ที่มีผลมาจากอารมณ์ของตลาด
  • การวิเคราะห์ทางเทคนิคเชื่อว่า ราคาจะเคลื่อนไหวตามเทคนิคเนื่องจากมีคนใช้งานจำนวนมาก
  • การวิเคราะห์ทางเทคนิค กล่าวถึง การวิเคราะห์อารมณ์ของตลาด ผ่านกราฟราคา
  • การวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นการศึกษาพฤติกรรมของราคาหุ้นในอดีตโดยมีความเชื่อว่า “ประวัติศาสตร์มักจะซ้ำรอยเดิมเสมอ”
  • การวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นไปตามอารมณ์ของมนุษย์ที่มีทั้งความโลภ ความกลัว และความหวัง ซึ่งมาจากผลทางจิตวิทยา
  • หากเราเข้าใจหลักการและสามารถเลือกใช้ “เครื่องมือทางเทคนิค” ได้อย่างเหมาะสม แม่นยำ จะสามารถเอาตัวรอดจากความผันผวนในตลาดหุ้น และมีโอกาสทำกำไรได้

รูปแบบของการวิเคราะห์ทางเทคนิค

การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) คือ การศึกษารูปแบบราคา หุ้น, Forex คริปโต แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ

กราฟแท่งเทียน (Candlestick Pattern) 

เทรดเดอร์จะทำการวิเคราะห์จากกราฟแท่งเทียน โดยมีทฤษฎีย่อยหลายแบบ โดยที่แตกต่างกันไป

  • ซึ่งอาจจะเรียกรวมกันว่า Price Action
  • นอกจากนี้ยังมี แนวรับ-แนวต้าน
  • และกราฟราคาที่เรียกว่า รูปแบบราคา หรือ Price Pattern
  • การวิเคราะห์แท่งเทียน ได้รับความนิยมสูงรูปแบบหนึ่ง

กราฟราคา (Chart Pattern) 

กราฟราคา คือ กลุ่มของแท่งเทียนแทนที่จะเป็นการวิเคราะห์รายแท่งเทียน เรียกว่า Chart Pattern

  • นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคนิคอื่น ๆ เสริม
  • เช่น Elliott wave
  • การวิเคราะห์ Price Action
  • การวิเคราะห์โดยใช้ indicator
  • หรือการใช้ Demand Supply Zone ก็ใช่เช่นเดียวกัน
  • นอกจากนี้ยังมีการรวมไปใช้กับ Fibonacci อีกด้วย

อินดิเคเตอร์ (Indicator) 

Indicator คือ เครื่องมือที่คิดค้นจากค่าสถิติ ส่วนใหญ่จะอ้างอิงจากค่า เฉลี่ยเคลื่อนที่ แล้วนำมา Plot เป็นกราฟ ตัวอย่าง Indicator ที่เป็นที่รู้จักดีได้แก่

  1. เส้นแนวโน้ม (Trend Line)

เส้นแนวโน้ม หรือ เส้น Trend Line คือ การตีเส้นตรงด้วยการกำหนดจุด 2 จุด แล้วตีเส้นเชื่อมเข้าหากัน เพื่อให้รู้ทิศทางความเคลื่อนไหวว่าราคาหุ้นเคลื่อนไหวอยู่ในแนวโน้มใด ถ้าเอียงขึ้นเรียกว่า เทรนด์ขาขึ้น เอียงลงเรียกว่าเทรนด์ขาลง

  1. เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) 

เส้น Moving Average คือ เครื่องมือที่คำนวณมาจากราคาเฉลี่ย โดยใช้ค่าคณิตศาสตร์ ซึ่งจะเฉลี่ย 5 – 10 วันแล้วแต่เทรดเดอร์จะเป็นผู้กำหนด

  1. MACD 

MACD คือเครื่องมือที่คิดค้นขึ้นมาจากค่า Moving Average ที่มีค่าซับซ้อนกว่า และใช้ในการบอกเทรนด์ ประกอบด้วยเส้นให้สัญญาณ เรียกว่า Signal Line และเส้น Main Line คือเส้นเทรนด์ของ MACD

  1. RSI 

RSI คือเครื่องมือบอกการแกว่งตัว เรียกว่า Oscillator ซึ่งจะกำหนดราคาที่สามารถบอกว่า แพง หรือ ถูกได้ จากการให้สัญญาณ เพื่อดูสภาวะการซื้อมากเกินไป (Overbought) หรือขายมากเกินไป (Oversold)

  1. Stochastic 

Stochastic คือ Indicator ที่มีลักษณะการใช้งานคล้ายกับ RSI แต่ใช้ในการวิเคราะห์สัญญาณซื้อ และสัญญาณขายในภาวะที่หุ้นเคลื่อนไหวในโครงสร้าง Sideways จะสามารถบอก Overbought Oversold ได้เช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ ยังมีเครื่องมืออื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงในการวิเคราะห์ทางเทคนิคได้แก่ Elliott Wave ที่ไม่ได้อ้างอิงจากหลักการที่กล่าวมา

ทฤษฎี Dow หรือ Dow Theory

ทฤษฎีดาว คืออะไร

ทฤษฎีดาว คือ ทฤษฎีทางการเงินที่กล่าวว่าตลาดมี Trend ขาขึ้น หากค่าเฉลี่ยใดของเทรนด์สูงกว่าครั้งก่อนหน้า มันจะพาให้กลุ่มการเคลื่อนไหวของหุ้นในตลาดในกลุ่มอื่นขึ้นตาม

ที่มาของทฤษฎี

ทฤษฎี Dow เป็นแนวทางในการซื้อขายหุ้นที่พัฒนาโดย Charles H. Dow กับ Edward Jones และ Charles Bergstresser หลังจากนั้นเขาทั้งคู่ได้ก่อตั้ง Dow Jones & Company, Inc.

และพัฒนาดัชนีอุตสาหกรรม Dow Jones Industrial Average ในปี 1896 Dow อธิบายทฤษฎีในชุดของ บทบรรณาธิการใน Wall Street Journal ซึ่งเขาร่วมก่อตั้ง ซึ่งนั่นคือที่มาของชื่อทฤษฎี

Dow เชื่อว่าตลาดหุ้นเป็นตัวชี้วัดที่เชื่อถือได้ว่าสภาพธุรกิจโดยรวมในระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างไร และเช่นเดียวกัน ในทางกลับกันเราสามารถทำการวิเคราะห์ตลาดโดยรวม แล้วใช้เงื่อนไขเหล่านั้น วัดทิศทางของการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นได้เช่นกัน ซึ่งนำไปสู่ทิศทางที่น่าจะเป็นของหุ้นแต่ละตัว

แนวคิดหลักของทฤษฎี Down

  1. ราคาได้สะท้อนทุกอย่างออกมาหมดแล้ว

ซึ่งสมมุติฐานนี้ของทฤษฎี Dow มาจากตลาดมีประสิทธิภาพ ซึ่งหลักการนี้นำไปสู่การคิดคำนวณ ของ Dow ที่ว่า ถ้าหากตลาดสะท้อนทุกอย่าง อยู่แล้ว กิจการก็สะท้อนเศรษฐกิจ ดังนั้นตัวแปรเศรษฐกิจก็สะท้อนทิศทางของหุ้นเช่นเดียวกัน

2 มีเทรนด์อยู่ 3 ประเภทในตลาด

Down มองตลาดในภาพรวมและให้ข้อเสนอว่า “ราคาของตลาดจะมีการเคลื่อนที่อย่างมีแนวโน้มเสมอ” ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบดังนี้

 

1.แนวโน้มหลัก – Primary trend

เป็นแนวโน้มที่มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีขึ้นไป

2 แนวโน้มรอง – Secondary trend

แนวโน้มนี้จะอยู่ระหว่างช่วงพักตัวของแนวโน้มหลัก

3 แนวโน้มย่อย – Minor trend

มีระยะเวลาน้อยกว่า 6 วัน เป็นเพียงการรบกวน (noise) เพราะมันไม่ส่งผลอะไรมากต่อตลาด

  1. เทรนด์หลัก จะแบ่งเป็น 3 เฟส (Primary Trend)
  • ช่วงสะสมหุ้น (The accumulation phase)
  • ช่วงคนเข้ามามีส่วนร่วม (The public participation phase)
  • ช่วงที่กระจายของเทขาย (The distribution phase)
  1. ดัชนีต้องยืนยันกันและกันเสมอ

หมายความว่า ดัชนีของหลายตัว หลายอุตสาหกรรม ต้องยืนยันไปทิศทางเดียวกัน เช่น ถ้ากลุ่มอุตสาหกรรมใด เป็นขาขึ้น กลุ่มอื่น ๆ ก็จะทยอยเป็นขาขึ้นตามมา มันต้องยืนยันทิศทางกันและกัน

  1. ต้องมีปริมาณซื้อขายเพิ่มขึ้น

การเกิดเทรนด์ใด ๆ ต้องมีการเพิ่มขึ้นของปริมาณซื้อขายด้วย ไม่ใช่เพิ่มแค่ราคาอย่างเดียว

  1. เทรนด์จะอยู่ไปจนกว่าจะมีจุดกลับตัวที่ชัดเจน

เทรนด์อะไรก็ตาม จะอยู่ไปอยู่จนกลับตัวเกิดขึ้น ไม่ควรรีบร้อนสรุปว่า เทรนด์สิ้นสุดแล้ว พฤติกรรมราคาจะแสดงให้เห็นการกลับตัวที่ชัดเจนเอง

ทฤษฎีการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน คืออะไร

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) คือ วิธีการประเมินเพื่อหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้น หรือ มูลค่าของกิจการ ที่เหมาะสมของ การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะกับพื้นฐานของกิจการเพียงอย่างเดียว แต่เกี่ยวข้องถึงปัจจัยภายนอก ได้แก่ เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และตัวบริษัทคู่แข่ง นโยบายการดำเนินงานอื่น ๆ ด้วย

แนวทางของการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเชื่อว่า ราคาหุ้นจะสะท้อนมูลค่าของกิจการ โดยมูลค่าของกิจการได้แก่ มูลค่าสินทรัพย์ และส่วนของเจ้าของ รวมทั้งผลประกอบการ ซึ่งถ้าหากมูลค่าของเจ้าของเพิ่มขึ้น ผลประกอบการดีขึ้น ราคาหุ้นย่อมดีขึ้นแน่นอน

แนวคิดปัจจัยพื้นฐานจึงเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่อไปนี้

  • การวิเคราะห์เศรษฐกิจ
  • การวิเคราะห์ทิศทางอุตสาหกรรม
  • การวิเคราะห์คู่แข่ง
  • การวิเคราะห์งบการเงินและผลการดำเนินงาน
  • การวิเคราะห์นโยบายบริษัท หรือที่เรียกว่า SWOT

การวิเคราะห์เศรษฐกิจ (Economic Analysis)

การวิเคราะห์เศรษฐกิจ คือ เป็นการวิเคราะห์แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในอนาคต ทั้งระยะระยะยาวและระยะสั้น

  • การวิเคราะห์ทิศทางเศรษฐกิจของประเทศ เศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการวิเคราะห์วงจรเศรษฐกิจ
  • การวิเคราะห์วัฎจักรของเศรษฐกิจ ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจ นโยบายเศรษฐกิจของรัฐ
  • นโยบายการคลัง นโยบายระหว่างประเทศ ที่ส่งผลต่อธุรกิจและเศรษฐกิจ

การวิเคราะห์อุตสาหกรรม (Industry Analysis)

การวิเคราะห์อุตสาหกรรม คือ การวเคราะห์วงจรอุตสาหกรรม (Industry Life Cycle) การ
แข่งขันในอุสาหกรรม อนาคตของอุตสาหกรรม ถึงแนวโน้มและทิศทางการเติบโต ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น

  • นโยบายรัฐ
  • การสนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคต่อโครงสร้างธุรกิจ
  • การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาษี โครงสร้างอุตสาหกรรมในประเทศ

การวิเคราะห์บริษัท (Company Analysis)

การวิเคราะห์บริษัท คือ ขั้นสุดท้ายของการวิเคราะห์หุ้น ด้วยปัจจัยพื้นฐาน เน้นไปที่เชิงคุณภาพ

ปัจจัยที่ต้องวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานบริษัท ได้แก่

  • ประสบการณ์และความน่าเชื่อถือของผู้บริหาร
  • บุคลากรและความสามารถด้านการตลาด การผลิต การบริการ
  • การวิจัย การพัฒนา
  • การบริหารและประสิทธิภาพการบริหาร
  • การวิเคราะห์เชิงปริมาณ จากงบการเงินทั้งอดีตและปัจจัยของบริษัท
  • การเติบโตของกิจการและงบการเงิน

ทฤษฎีการเดินแบบสุ่ม (Random Walk Theory)

ทฤษฎีการเดินสุ่ม คืออะไร

ทฤษฎีการเดินแบบสุ่ม คือ ทฤษฎีทางสถิติเป็นการอธิบายปรากฏการณ์บางอย่างผ่านแนวคิดที่ว่า ระบบและทิศทางของบางอย่างเป็นไปแบบสุ่ม

ทฤษฎี Random Walk มีแนวคิดว่า การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในอนาคตไม่สามารถคาดการณ์ได้จากการเคลื่อนไหวในอดีต และยอมรับว่า การเคลื่อนไหวของราคาตลาดนั้นคาดเดาไม่ได้จริง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ที่มาและแนวคิดของทฤษฎี

ทฤษฎีการเดินสุ่ม หรือ random walk Theory ไม่เชื่อทั้งการวิเคราะห์ทางเทคนิคและการวิเคราะห์พื้นฐานว่าเป็นเครื่องมือที่ถูกต้องสำหรับการทำนายพฤติกรรมหุ้น

  • ทฤษฎีนี้มีมาในช่วงปี 1953 แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมจนกระทั่งหนังสือ “A Random Walk Down Wall Street” ซึ่งเผยแพร่โดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ชื่อ Burton Malkiel ในปี 1973
  • ทฤษฎีระบุว่าราคาตลาดเป็นไปตามการเคลื่อนที่สุ่มขึ้นและลง
  • เช่นฟังก์ชั่นการคำนวณทางเดินแบบสุ่มของตลาดหุ้น จะถูกกำหนดโดยการเคลื่อนไหวต่อเนื่องของขั้นตอนแบบสุ่มไม่ว่าราคาจะขึ้นหรือลง
  • ทฤษฎี random walk มันสามารถอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติจำนวนหนึ่งได้อย่างแม่นยำ
  • ตัวอย่างการใช้งานในทฤษฎี ได้แก่ เส้นทางของโมเลกุลก๊าซและสัตว์เหมือนกัน
  • พฤติกรรมแบบสุ่มนี้เป็นสิ่งที่ผู้สนับสนุนของทฤษฎีการเดินแบบสุ่มเห็นในแผนภูมิหุ้น

สำหรับผู้สนับสนุนของทฤษฎีนี้ จะแนะนำให้นักลงทุนใช้กลยุทธ์ซื้อและถือแทนที่จะพยายามทำตลาด และมีความเป็นไปได้ที่จะดีกว่า มันเป็นไปไม่ได้ที่จะกำจัดความเสี่ยงออกไป ไม่ว่านักลงทุนจะได้รับข้อมูลอย่างดีเพียงใด

ทฤษฎีการเดินแบบสุ่มสอดคล้องกับความเชื่อที่ว่า “ตลาดมีประสิทธิภาพและเป็นไปไม่ได้ที่จะเอาชนะหรือคาดการณ์ตลาดได้”

เนื่องจากราคาหุ้นสะท้อนถึงข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดและการเกิดข้อมูลใหม่ ๆ ดูเหมือนจะเป็นแบบสุ่มเช่นกัน

ทฤษฎี Modern Portfolio Theory

ตั้งปต่ปี 1952 มีนักลงทุนให้ความสนใจกับทฤษฎีการลงทนของ Harry Markowitz มาก เป็นที่รู้จักกันในชื่อ Modern Portfolio Theory : MPT ที่กล่าวถึงการลงทุนให้ความเสี่ยงต่ำที่สุด และให้ผลตอบแทนที่ดีได้เช่นกัน แล้วมันคืออะไร

ทฤษฎี Modern Portfolio Theory คืออะไร

ทฤษฎี Modern Portfolio Theory คือ แนวคิดการกระจายสินทรัพย์ จากการพยายามลดความเสี่ยง โดยที่ผลตอบแทนจะต้องไม่ลดลง มันเป็นงานวิจัยที่บุกเบิกวิชาเศรษฐศาสตร์ทางการเงินโดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ Harry Markowitz เขานำเสนอหลักการในบทความวิชาการหัวข้อ Portfolio Selection 

เมื่อปี 1952 และได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์จากงานวิจัยนี้ในเวลาต่อมา

สิ่งที่เขาคิดค้นขึ้น เป็นแนวทางในการ เพิ่มประสิทธิภาพให้พอร์ตลงทุน แต่ละประเภททิศทางการขึ้นลงของราคาไม่ควรสัมพันธ์กันมากนัก เขาเชื่อว่า หากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นจะมี สินทรัพย์ประเภทหนึ่งปรับตัวลง แต่สินทรัพย์อีกประเภทปรับตัวขึ้น จะช่วยกัน ลดความผันผวนของมูลค่าพอร์ตโดยรวมได้

แนวคิดกระจายความเสี่ยง (Diversification)

การกระจายความเสี่ยง คือ การจัดสรรหุ้น โดยคัดเลือกหุ้นต่างประเภท ต่างอุตสาหกรรม มาจัดพอร์ตเพื่อถ่วงดุลกันและกันแล้ว สินทรัพย์แต่ละประเภทแต่ละหมวดควรจะมี มากกว่า 1 ตัว และที่สำคัญต้องไม่สัมพันธ์กันอย่างสิ้นเชิง ในระยะสั้นและระยะยาว

หลักการเบื้องต้นของการเลือกหุ้นในการกระจายความเสี่ยง

การเลือกหุ้นเพื่อการกระจายความเสี่ยงต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

  • ความสัมพันธ์ระยะสั้นและระยะยาวต้องไม่มีความสัมพันธ์เป็นบวก หรือ ลบ
  • ความสัมพันธ์ต้องไม่มีความสัมพันธ์เชิงปัจจัยพื้นฐาน
  • ความสัมพันธ์กันต้องไม่มีความสัมพันธ์กันในเชิงปัจจัยเศรษฐกิจ
  • ความสัมพันธ์ต้องไม่มีความสัมพันธ์ทางอุตสาหกรรม
  • ความสัมพันธ์ต้องไม่มีความสัมพันธ์กันเชิงเศรษบกิจโลก

ตัวอย่างเช่น หุ้น และ พันธบัตร รัฐบาล ที่ไม่สัมพันธ์กันในยามเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ จะมีตัวหนึ่งขึ้น ตัวหนึ่งลงอยู่เสมอ

การกระจายความเสี่ยงช่วยได้มากเพราะว่า ลดความผิดพลาดในการจัดการกับตลาด หรือจับจังหวะตลาดได้ไม่ดี หากนำไปลงทุนในตัวใดตัวหนึ่งก็จะทำให้ขาดทุนหนักได้อย่างที่คุณเคยได้ยินว่า

“อย่าใส่ไข่ทั้งหมดไว้ในตะกร้าใบเดียว”

Warren Buffet

ทฤษฎีพฤติกรรมการลงทุน

ทฤษฎีพฤติกรรมการลงทุน จำแนกนักลงทุนออกเป็นลักษณะของการยอมรับความเสี่ยง ทำให้ได้ผลตอบแทนแตกต่างกัน

กล่าวคือ นักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้มาก ก็จะมีโอกาสได้ผลตอบแทนมาก ขณะที่นักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้น้อยก็จะมีผลตอบแทนน้อยเช่นเดียวกัน

ลักษณะของการยอมรับความเสี่ยง

การยอมรับความเสี่ยงของนักลงทุน ทำให้สามารถแบ่งนักลงทุนออกได้ 3 ประเภท คือ

  • นักลงทุนที่หลีกเลี่ยงความเสี่ยง(Risk-Averse Investor)
  • นักลงทุนที่ชอบความเสี่ยง (Risk-Loving Investor)
  • นักลงทุนที่ไม่สนใจความเสี่ยง (Risk-Neutral Investor)

นักลงทุนที่หลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk-Averse Investment)

นักลงทุนประเภทนี้จะไม่ชอบความเสี่ยง เมื่อมีความเสี่ยงจะไม่ลงทุน และจะเลือกผลตอบแทนน้อย ๆ ก็ตาม เพราะยอมรับความเสี่ยงไม่ได้ ตัวอย่างเช่น แทนที่จะลงทุนในหุ้นแต่มันเสี่ยงที่จะขาดทุนก็จะไม่เลือกลงทุน แล้วไปเลือกลงทุนในกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า

นักลงทุนที่ชอบความเสี่ยง (Risk-Loving Investor)

นักลงทุนประเภทชอบความเสี่ยง คือ นักลงทุนที่มีแนวคิดว่า ยอมรับการขาดทุนได้สูง แต่ก็ยังไม่ชอบทที่จะเสียเงินทั้งก้อน ทำให้ได้ผลตอบแทนสูงในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้บ้าง แตกต่างกับนักลงทุนที่ไม่ยอมรับความเสี่ยงเพราะว่า ไม่ยอมรับเลย

นักลงทุนที่ไม่สนใจความเสี่ยง (Risk-Neutral Investor)

นักลงทุนที่ไม่สนใจความเสี่ยง คือ นักลงทุนที่ไม่สนว่าความเสี่ยงคืออะไร พิจารณาแต่เรื่องผลตอบแทนอย่างเดียวเท่านั้น ยอมรับการสูญเงินลงทุนได้ทั้งก้อน ไม่ว่าผลตอบแทนจะเท่าไหร่ จะพิจารณาผลตอบแทนเป็นหลัก

ด้วยหลักการนี้ การลงทุนใด ๆ จะต้องมีการประเมินความเสี่ยงของนักลงทุนที่ยอมรับได้ก่อน เรียกว่า Suitability Test ซึ่งจะทำการประเมินก่อนการลงทุน โดยผู้ลงทุนจะถูกประเมินโดย “นักการตลาด” หรือ Marketing หรือผู้ที่มีใบอนุญาตการซื้อขายหลักทรัพย์

ทฤษฎีการลงทุนอื่น ๆ

ทฤษฎี The January Effect

ปรากฏการณ์เดือนมกราคม มีความสัมพันธ์กับภาระภาษีที่ต้องจ่ายในการขายหุ้นตอน โดยเชื่อว่านักลงทุนจะขายหุ้นที่มีราคาลดต่ำลงจากราคาในเดือนก่อนหน้านี้ เพื่อให้รับรู้ผลกำไรขาดทุนก่อนสิ้น
ปี

  • นักลงทุนจะไม่นำเงินที่ได้นั้นไปลงทุนจนถึงปีถัดไป
  • ดังนั้น อุปสงค์และอุปทานของตลาดจึงสูงขึ้น
  • อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีนี้เหมือนจะใช้ไม่ได้กับประเทศไทย


ทฤษฎี Day of The Week Effect

ทฤษฎีนี้ คือ วันหนึ่งของสัปดาห์ เช่น วันจันทร์เป็นวันที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้น้อยสุดหรืออาจติดลบ วันพุธและวันศุกร์ถือเป็นวันดีที่สุดโดยหลักทรัพย์สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงสุด


ทฤษฎีจิตวิทยามวลชนกับการลงทุน

เป็นศาสตร์ที่นำทฤษฎีด้านพฤติกรรมทางสังคม และอารมณ์มนุษย์ มาอธิบายการตัดสินใจของนัก
ลงทุน

  • ซึ่งการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ปัจจัยพื้นฐาน ปัจจัยทางเทคนิค และข่าวลือ มีผลกระทบต่อการตัดสินใจ
  • จิตวิทยามวลชนเป็นการวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมและอารมณ์ของมวลชนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
  • ร่วมกับการพิจารณาระดับของความมองโลกในแง่ดีของคนเหล่านี้
  • ทำให้สามารถเราเลือกโอกาสในการลงทุนได้ และทำให้เกิดการวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis)ทฤษฎีพื้นฐานของกิจการ

 

ที่มาของข้อมูล

  1. http://thaiejournal.com/journal/2556volumes3F/20.pdf
  2. http://mslib.kku.ac.th/elib/multim/books/Economic2554/WORADET%20LERTCHANA/05_ch2.pdf
  3. https://www.basiamjournal.org/images/documents/journal_24/journal-24-5-1.pdf
  4. https://www.investopedia.com/articles/financial-theory/controversial-financial-theories.asp
  5. http://library1.nida.ac.th/nida_jour0/NJv42nspecial_05.pdf
  6. https://www.investopedia.com/terms/d/dowtheory.asp