เงินเดือนเท่าไหร่ถึงเสียภาษี เงินเดือน 15000 เสียภาษีไทยเท่าไหร่

เงินเดือนเท่าไหร่ถึงเสียภาษี

สำหรับมนุษย์เงินเดือน มีความสงสัยว่าตนเองต้องเสียภาษีหรือไม่นั้น น้องเป็ดจะมาสรุปสั้น ๆ ให้ฟังว่าเงินเดือนเท่าไหร่ถึงเสียภาษี เงินเดือนเท่าไหร่ไม่ต้องเสียภาษี คำนวณได้จากสูตรสำหรับคำนวณเงินได้สุทธิ

1 เงินเดือนเท่าไหร่ถึงเสียภาษี

สูตรคำนวณภาษี

รายได้ (ตลอดทั้งปี) – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ

ซึ่งเงินได้สุทธิเป็นตัวกำหนดว่าคุณต้องยื่นภาษีหรือไม่ และต้องเสียภาษีหรือไม่ โดย

  • ค่าใช้จ่ายหักได้ 50% ของเงินเดือน ตามกฎหมายกำหนด
  • หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 100,000 บาท ตามกฎหมายกำหนด
  • ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล 60,000 บาท ตามกฎหมายกำหนด

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เกณฑ์เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามกรมสรรพากรกำหนด ซึ่งเงินได้สุทธิต้องคำนวณจากสูตรทางด้านบน ห้ามดูจากเงินเดือนที่ได้รับเพียงอย่างเดียว

เงินได้สุทธิ (บาท)
อัตราภาษี (ร้อยละ)
1 – 150,000
ได้รับการยกเว้น
150,001 – 300,000
5
300,001 – 500,000
10
500,001 – 750,000
15
750,001 – 1,000,000
20
1,000,000 – 2,000,000
25
2,000,001 – 5,000,000
30
5,000,001 บาทขึ้นไป
35

อัตราการหักค่าใช้จ่าย

ค่าใช้จ่ายที่สามารถนำไปหักเพื่อคำนวณเงินได้สุทธิ สามารถคิดอัตราหักค่าใช้จ่ายโดยละเอียด ดังนี้

2 อัตราการหักค่าใช้จ่าย

กรมสรรพากร

ผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามกฎหมายกำหนด มีดังนี้

  • บุคคลธรรมดา
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
  • ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
  • กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
  • วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

ผู้ที่ไม่ต้องยื่นภาษี

สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ขั้นต่ำไม่ถึงเกณฑ์กำหนดที่ต้องเสียภาษี ไม่มีความจำเป็นต้องยื่นภาษี มีเงื่อนไขดังนี้

  • ผู้ที่มีรายได้จากการทำงานประจำเพียงทางเดียว
  • รายได้รวมน้อยกว่า หรือ เท่ากับ 120,000 บาท ต่อปี
  • หรือ มนุษย์เงินเดือนที่ได้รับเงินเดือนต่ำว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท

ผู้ที่ต้องยื่นภาษี

สำหรับท่านที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ

  • ยื่นภาษีแต่ไม่ต้องเสียภาษี
  • ยื่นภาษีและเสียภาษี

ยื่นภาษีแต่ไม่เสียภาษี

เนื่องจากรายได้ถึงเกณฑ์กำหนดที่ต้องยื่นภาษี แสดงรายได้ต่อสรรพากร แต่ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี มีดังนี้

  • รายได้สุทธิมากกว่า 120,000 บาท แต่ไม่ถึง 150,000 บาท ต่อปี
  • เงินได้สุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาท ยังคงได้รับยกเว้นตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรฉบับที่ 470 พ.ศ.2551
  • ผู้ที่ได้รับเงินเดือนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 26,583 บาท ต่อเดือน ต้องยื่นภาษีแต่ไม่เสียภาษี

ยื่นภาษีและเสียภาษี

เนื่องจากรายได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องยื่นภาษี และถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี แบ่งการเสียภาษีเป็นขั้นของรายได้สุทธิ ดังตารางอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา น้องเป็ดขอสรุปสั้น ๆ ดังนี้

  • ผู้ที่มีเงินได้สุทธิ 150,001 บาทต่อปี ขึ้นไป
  • ผู้ที่ได้รับเงินเดือนมากกว่า 26,583 บาท ต้องยื่นภาษีและเสียภาษี
  • ยิ่งได้รับเงินเดือนมากเท่าไหร่ก็เสียภาษีมากขึ้นตามกฎหมาย
  • หากเงินได้สุทธิเกินกว่า 5,000,001 บาทขึ้นไป เสียภาษีอัตรสูงสุดร้อยละ 35

เงินเดือน 15,000 เสียภาษีเท่าไหร่

เงินเดือน 15,000 บาท ต้องยื่นภาษีแต่ไม่ต้องเสียภาษี ยื่นเพื่อแสดงรายได้ต่อสรรพากร แต่รายได้สุทธิยังไม่เกินเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีแต่อย่างใด อย่างที่อธิบายไปด้านบน คือ เงินเดือนมากกว่า 26,583 บาท ถึงจะเสียภาษี

3 เงินเดือน 15,000 เสียภาษีเท่าไหร่

  • ผู้ที่ทำงานประจำ มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีประจำปี ปีละ 1 ครั้ง
  • ยื่นภาษีได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี

ตัวอย่างที่ 1

เงินเดือน 26,583 บาท นำมาใส่สูตรคำนวณภาษี ตัวอย่างการคำนวณ คือ

  • เงินเดือน 26,583 บาท
  • รายรับต่อปี 26,583 x 12 เดือน = 318,996 บาท
  • 318,996 – (100,000+60,000+ประกันสังคม 9,000) = 149,996 บาท
  • รายได้สุทธิไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี

ตัวอย่างที่ 2

เงินเดือน 26,584 บาท นำมาเข้าสูตรคำนวณเงินได้สุทธิ ตัวอย่างการคำนวณ คือ

  • เงินเดือน 26,584 บาท
  • รายรับต่อปี 26,584 x 12 เดือน = 319,008 บาท
  • 319,008 – (100,000+60,000+ประกันสังคม 9,000) = 150,008 บาท
  • ตามตารางเสียภาษี ต้องเสียภาษีร้อยละ 5

สรุป

ผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ผู้ที่มีเงินเดือนมากกว่าหรือเท่ากับ 26,584 บาท โดยเสียภาษีในอัตราภาษีตามกฎหมายกำหนด ดังนั้นเงินเดือน 15,000 บาท ไม่ต้องเสียภาษี แต่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อแสดงรายได้ให้แก่สรรพากรรับทราบ