ชาย มโนภาส ประวัตินักลงทุน หนังสือ

Contents

ชาย มโนภาส

ชาย มโนภาส คือ เซียนหุ้นสาย Value Inverstment (VI) หรือการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลำดับต้น ๆ ของประเทศไทย อดีตนายกสมาคมไทยวีไอ (ประเทศไทย) นักลงทุนในหุ้นยาวนานเกือบ 30 ปี เข้าตลาดหุ้นในปี 1992 ผ่านวิกฤตทางการเงินมามากมาย

ชาย มโนภาส

ข้อมูลทั่วไป

คุณชาย มโนภาสเป็นนักเขียนบทความ วิทยากรในด้านการเงินการลงทุน รวมถึงยังสอนคอร์สลงทุน รายละเอียด ดังนี้

  • ความถนัด : ลงทุนหุ้น VI
  • คอร์ส : CSI Investment
  • Blog : Settrade
  • นามปากกา : คนขายของ

มูลค่าพอร์ตหุ้น

พอร์ตลงทุนหุ้นของคุณชาย มโนภาส มีมูลค่าพอร์ตประมาณ 250 ล้านบาท

อายุ

จากบอร์ด Thaivi เกี่ยวกับการสัมภาษณ์คุณชาย มโนภาส ทำให้น้องเป็ดทราบว่าปัจจุบันปี 2565 คุณชาย อายุ 50 ปี

ถือหุ้นอะไรบ้าง 2565

หุ้นที่ถือ

ชาย มโนภาส ถือหุ้นอะไรบ้าง

ตัวอย่างหุ้นปี 2565 ที่คุณชายถือหุ้นติดอันดับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เช่น

  • DOD บริษัทดีโอดีไบโอเทค จำกัด (มหาชน) ถือ 4,480,000 หุ้น สัดส่วน 1.09%
  • IT บริษัท ไอที ซิตี้ จำกัด (มหาชน) ถือ 4,280,000 หุ้น สัดส่วน 1.17%
  • ILM บริษัท อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ จำกัด (มหาชน) ถือ 8,208,860 หุ้น สัดส่วน 1.63%

หุ้นที่ขาย

ตัวอย่างหุ้นปี 2565 ที่คุณชาย ขายไปแล้ว เช่น

  • TEAMG บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) ถือ 20,880,000 หุ้น สัดส่วน 3.07%
  • BBIK บริษัท บลูบิค กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด ถือ 1,228,000 หุ้น สัดส่วน 1.23%

ธรรมะกับการลงทุน

คุณชาย มโนภาส เป็นนักลงทุนสายธรรมะ เป็นลูกศิษย์ของ พระอาจารย์ภาวนาวิสุทธิญาณเถร(แบน ธนากโร) วัดดอยธรรมเจดีย์ คุณชายได้เคยให้สัมภาษณ์ว่าปฎิบัติธรรมตลอดทุกวันนี้ที่ปฏิบัติอยู่ คู่ขนานกันไป ทั้งสายธรรมและการลงทุน

ตอนเช้าตื่นมาปฏิบัติ เดินจงกรม 1 ชั่วโมง และนั่งสมาธิ 1 ชั่วโมง สามารถเดินในคอนโดได้เลย ถ้าจดจ่อกับการมีสติก็จะไปเดินในสวนสาธารณะ เดินจงกรมโดยอยู่กับที่ก็ได้ ส่วนการออกกำลังกาย ตีแบตสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

มุมมองการใช้ชีวิต

คำแนะนำและมุมมองการใช้ชีวิตควบคู่การลงทุนของคุณชาย มโนภาส ที่ได้กล่าวในงานอำลาตำแหน่งนายกสมาคมไทยวีไอ น้องเป็ดสรุปออกมาเป็นข้อ ๆ ดังนี้

เริ่มต้นด้วยการศึกษา

การเริ่มต้นลงทุนควรเริ่มต้นจากการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการลงทุนให้มาก ก่อนตัดสินใจซื้อหุ้น

  • ช่วงเริ่มลงทุนต้องเก็บออมให้มาก เพื่อที่จะสามารถสร้างสินทรัพย์
  • การอ่านหนังสือเยอะ ๆ มีส่วนในการประสบความสำเร็จ

ปรับใจเมื่อเจอวิกฤต

การเป็นนักลงทุนต้องรู้จักปรับใจของตัวเอง ช่วงที่วิกฤตมาก ๆ ต้องควบคุมจิตใจให้ดี

การเป็นนักลงทุนไม่ใช่แต่มีความรู้ แต่ต้องมีจิตใจที่เข้มแข็งที่สุดด้วย

ความสุขอยู่รอบตัว

เดินทางสายกลาง ไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป การพยายามทุกอย่าง ทุ่มเททุกอย่างเพื่อให้ได้อิสรภาพทางการเงิน ไม่สามารถเป็นทุกสิ่งในชีวิต เพราะบางอย่างไม่สามารถรอถึงตอนที่เรามีอิสรภาพทางเงินได้ เช่น

  • เราไม่สามารถรอถึงอายุ60ปี ค่อยทานของหวาน
  • เราก็สามารถทานของหวานตั้งแต่ตอนเริ่มลงทุนได้
  • การดูแลพ่อแม่ ดูแลคู่กับการลงทุนได้ ไม่ต้องรอให้รวยก่อน
  • ผ่อนคลายตัวเองด้วยงานอดิเรก สมองแจ่มใส อย่าคิดแต่เรื่องหุ้นอย่างเดียว

ประโยชน์ต่อสังคม

หากเป็นหนึ่งในผู้คนที่ประสบความสำเร็จทางการเงินแล้ว ก็อย่าประมาท ควรใช้ทรัพย์สินให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น

  • ถึงแม้ว่าเรามีพอร์ตใหญ่โต เมื่อเราป่วย เราจะย้อนนึกถึงเรื่องที่ช่วยเหลือคนอื่น ยังความชื่นใจตอนเจ็บป่วย
  • เมื่อยามเจ็บป่วย เราไม่ได้นึกถึงหุ้นไหนที่ได้กำไรมาก เมื่อท่านเข้มแข็งแล้ว ควรทำประโยชน์ให้คนอื่นด้วย

การวิเคราะห์หุ้น

การวิเคราะห์หุ้นแบบคุณชาย มโนภาส นั้นแบ่งเป็นหลักๆได้ 2 แบบ ได้แก่

การวิเคราะห์หุ้นเชิงคุณภาพ

การวิเคราะห์แบบเชิงคุณภาพ ซึ่งเน้นวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญต่าง ๆ เช่น

  • สามารถในการแข่งขัน
  • พลวัตในอุตสากรรม
  • อำนาจต่อรองของบริษัทที่มีต่อคู่ค้า

การวิเคราะห์หุ้นเชิงปริมาณ

สองการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ซึ่งเน้นเรื่องอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ เช่น PE, PBV, ROE เป็นต้น การวิเคราะห์หุ้นที่ดีนั้นควรใช้การวิเคราะห์ทั้งสองอย่างประกอบกัน การใช้ค่า PE นั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์เชิงปริมาณเท่านั้น นักลงทุนควรพิจารณาอัตราส่วนทางการเงินอื่นๆประกอบการตัดสินใจด้วย ตัวอย่างที่ดีของการวิเคราะห์หุ้นนั้น สามารถดูได้จาก “ความเห็นที่ปรึกษาการเงินอิสระเกี่ยวกับ รายการได้มาซึ่งสินทรัพย์” ซึ่งบริษัทจดทะเบียนต้องจัดทำให้ผู้ถือหุ้นเวลามีการซื้อขายกิจการ M&A) แล้วเราจะได้เห็นว่าการวิเคราะห์อย่างมืออาชีพจริงๆนั้นเป็นอย่างไร

การลงทุน ชาย มโนภาส

บทสัมภาษณ์คุณชาย มโนภาส ในรายการ Black Swan ได้นำประสบการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตมาเล่าสู่นักลงทุนคนอื่น ๆ ถอดเทปสัมภาษณ์ ดังนี้

Black Swan ของชีวิต

พี่ผ่านตั้งแต่ต้มยำกุ้งมาเราก็ลงทุนในหุ้นอย่างเดียวไม่รู้เรื่องเลยภาพใหญ่เรื่องแม็คโครเรื่องอะไรพวกนี้เราไม่ได้สนใจศึกษาพอดีไปเจอเพื่อนคนนึงเขาเป็นนักเศรษฐศาสตร์ทำงานอยู่สถาบันการเงินแห่งหนึ่งเขาบอกว่าเศรษฐกิจไทยตอนนี้ดูไม่ได้เลยครับเราก็ไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรว่าเขาหมายความว่ายังไงรู้แต่ว่าหุ้นเมื่อก่อนอยู่ 100 บาทตอนนี้อยู่ 50 บาทมันถูกมากแล้วนี่มัน Grand Sale แล้วไม่ซื้อไม่ได้แล้วแต่ในนรกยังมีนรก  50 บาทก็ลงไป 25 บาทลงไป 10 บาทลงไป 5 บาท

ลงทุนมาทั้งชีวิตก็เกือบ 30 ปีแล้ว จริงๆก็ผ่านมาหมดตั้งแต่ต้มยำกุ้งมาถึง subprime จนมาถึงทุกวันนี้ที่มีโควิคระบาด แต่ถ้าหนักที่สุดจริงๆน่าจะเป็นช่วง subprime crisis ในปี 2008 ช่วงปีนั้นนอกจากเรื่องลงทุนที่จะต้องเผชิญวิกฤตตลาดหุ้นตกค่อนข้างมากแล้วก็รวดเร็ว คุณแม่ก็ไม่ค่อยสบายคือเราอยู่ในตลาดมาแล้วรู้สึกว่าเราต้องทำใจกับเหตุการณ์บางอย่างที่เหนือความคาดหมาย บางทีเราต้องมีจิตใจที่เข้มแข็ง สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือความไม่แน่นอน ทั้งในโลกของการลงทุนและชีวิตจริง บางอย่างเราไม่มีทางรู้ว่าพรุ่งนี้จะเกิดอะไรขึ้น

ถ้าจำได้ว่าช่วงต้นปีของ 2008 ตั้งแต่ barester เริ่มออกอาการไม่ดีตลาดมันก็เริ่มลง พอมา Lahman broters เดือนกันยายนปี 2008 FED บอกไม่อุ้มแล้ว ปล่อยให้ล้มไปเลย ตลาดลงเทกระจาดลงมา ขณะเดียวกันอาการคุณแม่ก็เริ่มหนักขึ้นเรื่อย ๆ ท่านก็เข้าออกโรงพยาบาลแสดงให้เห็นว่าเราเป็นนักลงทุนบางทีเราต้องมีจิตใจที่เข้มแข็ง

เริ่มศึกษาว่าวิกฤตที่ผ่านมาก็มีตลอด แล้วเราจะทำยังไง รู้ได้ยังไงว่าวิกฤตมันจะเกิดขึ้นแล้ว มันมีสัญญารอะไร ขอเสนอมุมมองไว้ว่า เศรษฐศาสตร์มหภาค พูดถึงภาพใหญ่มาก อะไรที่มันขนาดใหญ่มันเหมือนช้าง มันไม่ได้มีความรวดเร็ว ถ้าบริษัททุนจดทะเบียน 1,000-2,000 ล้านบาท มันเกิดอะไรขึ้นมาก็แป๊บเดียว หมายความว่าใช้เวลาแค่สัปดาห์เดียว บริษัทก็อาจล้มละลายไปได้ แต่มหภาพคุณพูดถึง GDP ประเทศ ประเทศนึงเป็น 100 1,000 10,000 100,000 ล้านเหรียญ มันไม่ใช่ว่าอยู่ดี ๆ จะล้มไปได้

ถ้างั้นมันจะต้องมีเหตุ มันจะต้องมีสัญญาณ พี่คิดว่ามันไม่ใช่ว่าอยู่ดี ๆ ปุบปั๊บมันจะเกิดขึ้นได้ ตอนพี่ไปศึกษาต้มยำกุ้งดู มันก็มีสิ่งที่บอกเหตุมาแล้วเหมือนกัน ยิ่งมาดู subprime crisis มันมีสิ่งบอกเหตุมาแล้วทั้งนั้น ไม่ว่าจะเรื่องยอดขายบ้านในสหรัฐอเมริกา พอ FED ขึ้นดอกเบี้ย จุดต่ำสุดปี 2003 แต่ตอนนั้นผู้คนยังไม่เห็นถึงสัญญาณอันตราย อย่างถ้าดูหนังเรื่อง The Big Short บางคนรายได้น้อย ผ่อนบ้านหลังใหญ่ ทุกคนก็รู้สึกดี รีไฟแนนซ์ได้ ได้เงินกู้เพิ่ม ทุกคนก็เข้าใจว่าเศรษฐกิจดี

ชาย มโนภาส ประสบการณ์ลงทุน 1

ทีนี้ FED เริ่มขึ้นดอกเบี้ย 2003 2004 2005 ยอดขายบ้านใหม่เริ่มตกลง สัญญาณเริ่มไม่ดี แต่ถึงเป็นแบบนั้นวิกฤตเขาก็ไม่ขายหุ้น ข่าวร้าย แต่ถ้าเปิดตลาด Index ก็ขึ้น เขาเลยอยากจะซื้อ คือคนจะขาย เมื่อคนส่วนใหญ่ขาย ช่วงปี 2007 ใครไปอ่านข่าวดู จะรู้สึกว่าเศรษฐกิจทั่วโลกดีหมด สหรัฐอเมริกา อังกฤษ จีน ตลาดหุ้นขึ้นหมด ทุกคนอารมณ์ดี

บางทีเราไปติดกับอารมณ์ของคนส่วนใหญ่ ทุกครั้งที่วิกฤตเราก็จะมองว่ามันแย่จนไม่มีทางออก หรือบางครั้งเวลาที่มันดี เราก็มองว่ามันดีเกินไป จริง ๆ ตั้งแต่ปี 2007 พี่ก็เริ่มเอะใจ เพราะว่ามันมีข่าวดีว่า เศรษฐกิจยุโรปโต เศรษฐกิจอเมริกาโต เศรษฐกิจจีนโต มันดีเกินไป เพราะว่าปกติยุโรป เค้าคงที่แล้ว GDP ก็ไม่โต พลเมืองก็เริ่มอายุมากขึ้น มีเรื่องหลายอย่างทั้งโครงสร้างภาษี โครงสร้างตลาดทุนอะไรบางอย่าง เพราะฉะนั้นการที่ยุโรปโตเป็นเรื่องที่ผิดสังเกตุมากในความคิดพี่

จริง ๆ แล้วตอนนั้นดัชนีหุ้นไทยอยู่ที่ประมาณ 800 จุด พี่เริ่มรู้สึกว่าสัญญาณลักษณะแบบนี้ไม่ดี พี่ก็ขายหุ้นไป ขายทัน รู้ก่อน แต่พอมันตกลงมาเหลือ 600 ก็เข้าไปซื้อใหม่ ซื้อหมดเลยทั้งพอร์ต เพราะเราไม่เคยรู้ว่ามันจะรุนแรงขนาดนี้ เพราะเราคิดว่ามันเป็นวิกฤตเงินกู้ซื้อบ้าน เราคิดว่ามันจะเป็นลักษณะฟองสบู่ที่เกิดเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ผลกระทบมันไม่น่าจะมีมากมาย แต่มีไม่ใช่ เราไม่รู้ขนาดนั้นว่ามันมีเรื่องของ Derivative (สัญญาทางการเงินที่ทำขึ้นเพื่อให้สิทธิในการซื้อขายสินค้าอ้างอิงในอนาคต) ซึ่งออกบนตราสารที่เอาบ้านค้ำประกัน

ตอนเรากู้ธนาคาร สมมติ 10 ล้านบาท เราก็เอาบ้านราคา 10 ล้านบาทค้ำประกันเงินกู้ จำนองกับธนาคาร แต่อันนี้ออกเงินกู้ 10 ล้านบาท แต่ออกตราสารบนเงินกู้อีกไม่รู้เท่าไหร่ อาจจะ 10-30 เท่าตัว ตราสารหนี้มีมูลค่ามากกว่าหลักประกันมหาศาล สมมติหลักประกันมี 10 บาท ออกตราสารมูลค่า 100 บาท พอคนที่ซื้อบ้านไม่มีเงินจ่าย ตราสาร 100 บาทที่ออกบนสินทรัพย์แค่ 10 บาท มันอยู่ไม่ได้ ถล่ม

เราไม่เคยเห็นอย่างงี้ ตอนนั้นเค้าเรียกว่าเป็นระเบิดนิวเคลียร์ในตลาดทุน เพราะว่าพอสินทรัพย์อันนึงมันล่มลงมา 10 แต่ส่งผลต่ออนุพันธ์มูลค่าอาจะเป็น 100 เป็น 1,000 ซึ่งไม่มีการควบคุม FED เลยไม่รู้ว่าต้องอัดฉีดเท่าไหร่ เพราะไม่รู้ว่าเสียหายเท่าไหร่ ตลาดหุ้นไทยก็ลง 800 ลงมา 600 ก็ใช้เวลาเป็นเดือน ตลาดการเงินโลกเกี่ยวข้องกันหมด อย่างตลาดหุ้นฝรั่ง ขาย Match ทุกราคา ขายเปิดตลาดมาก็ขายหมด

อันนี้เป็นอีกเหตุการณ์นึงที่เราเห็นแรงขายขนาดนั้นในช่วงวิกฤตโควิดในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เนื่องจากเขาต้องเอาเงินไปใช้ ฉะนั้นเขามีสินทรัพย์อะไร เขาขายหมด โดยไม่สนใจเรื่องขาดทุน เขารีบกำสภาพคล่อง เหมือนตอนช่วง 2008 กองทุน ธนาคารใหญ่ ๆ ที่ลงทุนไว้ในกิจการที่หลากหลาย เขาขายหมด ได้ของหมด พอจาก 600 ก็ลงไป 300

เราอยู่ในตลาดมา เรารู้สึกว่าต้องทำใจ กับเหตุการณ์บางอย่างที่มันเหนือความคาดหมาย ตอนนั้นเราก็ต้องตั้งสถิก่อน แล้วเราก็ไม่ต้องสนใจแล้ว เราจะเสียหายขนาดไหน เราต้องคิดว่า แล้วสถานการณ์เป็นอย่างนี้ กลยุทธ์ต่อไปของเราคือยังไง

ปรับแก้วิกฤต

ช่วงซับไพร์ม พอร์ตเสียหายไป 50% ขนาดขายทัน แต่เราคิดว่าพอถึงจุดนึง เราก็ต้องแก้เกมส์ คือตอนที่มีแรงขาย มันขายหมด แต่พอซื้อกลับ การที่เราได้สังเกตุตอนลง มันลงแบบไหน เราได้เห็นรูปแบบว่าตอนซัพไร์ม เขาจะขายตัวใหญ่ก่อน ตอนนั้นเราถือหุ้นกลาง หุ้นเล็ก เราก็ดีใจว่าหุ้นไม่ลง สักพักนึงขายตัวใหญ่หมดแล้ว ก็มาไล่ขายตัวกลาง ตัวเล็ก มันก็ลง

เรามาคิดว่าของถูก ของที่คุณภาพดีก็จะขึ้นก่อน ของที่มีสภาพคล่องเยอะน่าจะขึ้นก่อน มันก็เป็นอย่างนั้นจริง ๆ พอ FED ประกาศ แรงซื้อที่กลับมา เขาก็มาซื้อตัวใหญ่ เพราะราคาถูกเหมือนกัน สมมติลดราคา 50% เหมือนกัน เขาก็ต้องซื้อของดีก่อน เพราะฉะนั้นพวกหุ้นขนาดใหญ่คุณภาพดี ก็จะขึ้นก่อน แล้วหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็กก็จะค่อย ๆ ขึ้นตาม ตอนนั้นได้ศึกษาภาพใหญ่ มหภาพบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีบทเรียนอยู่ว่า ตอนที่เราเข้าซื้อ เราไม่รู้อะไรเลย

หลังจากวิกฤตแล้วก็ได้มาศึกษาเพิ่มเติมเรื่องวิกฤต จริง ๆ แล้วไม่ควรซื้อ ตอนนั้นรัฐมนตรีคลังของสหรัฐเข้าไปคุยกับประธานาธิบดีบอกว่า ถ้าเราไม่ทำ QE เศรษฐกิจล่ม คงไม่เหลืออะไรเลย มันอันตรายขนาดนั้น ที่อยู่ได้มีดวงด้วย แต่เราเห็นว่าไม่มีใครซื้อ ฝรั่งเขาไม่ซื้อ เราก็เข้าไปซื้อเพราะความไม่รู้ว่ามันอันตรายขนาดนั้น ถ้า FED ไม่ทำ QE การชำระหนี้ทั้งหมดก็ไม่เกิดขึ้น LC ที่ลูกค้าที่อยู่ในอเมริกาและยุโรป สั่งซื้อของจากเอเชีย ไม่มีการจ่ายเงิน แล้วธนาคารที่ปล่อยเครดิตให้ผู้ส่งออกทำยังไง

FED ทำ QE (ธนาคารกลางจะเข้าไปซื้อ สินทรัพย์ทางการเงิน ในปริมาณมหาศาล) ซึ่งไม่เคยทำมาก่อน FED ไม่เคยใช้หลัก Keynes ที่บอกว่ารัฐบาลกลางควรจะมีส่วนในการช่วยกระตุ้นหรือเสริมสภาพคล่องให้กับเศรษฐกิจ FED พึ่งหยิบตำรานี้มาใช้ ทั้ง ๆ ที่ Keynes เขียนไว้ตั้งแต่ปี 1930 ทุกคนไม่รู้ ตอนนั้นพี่ก็ไม่รู้ว่า QE คืออะไร ตอนหลังก็มาศึกษาเพิ่มเติม แล้วก็ได้รู้ว่า เราเสี่ยงมาก คือถ้าพูดถึงว่าไปเล่นคาสิโนที่มาเก๊ายังเสี่ยงน้อยกว่านี้ เพราะโอกาสชนะมันน้อยมาก

หลังจากนั้นตลาดไม่ได้ขึ้นทันที กว่าตลาดสหรัฐจะปรับตัวเป็นขาขึ้น คือ ปี 2009 คนก็ศึกษาว่า FED จะเอาจริงมั้ย พิมพ์แบงค์ออกมาขนาดนี้ จะควบคุมได้หรอ ตอนนั้นพอมีข่าวแบบนี้ก็มีความเชื่อว่า พี่ผ่านต้มยำกุ้งมา มีความเชื่อที่ว่าถ้ามันวิกฤตจริง ๆ คุณจะทำยังไง พี่คิดว่า

เงินของเราที่เอาไปลงทุนในบริษัทที่มีความสามารถในการแข่งขัน หนี้น้อย ผู้บริหารเก่งกาจ กระแสเงินสดดี พี่ว่ามันปลอดภัยกว่ามีเงินอยู่ในธนาคาร

ถามว่าทำไม เพราะปกติธนาคาร ถ้าคนไปกู้มาก็กู้จากเงินฝากของประชาชน อันนี้ถือว่าคนที่ฝากเงินกับธนาคารเป็นเจ้าหนี้ แล้วธนาคารก็เอาตรงนี้ไปปล่อยกู้ แต่ธนาคารเองมีทุนอยู่แค่ 1 ใน 10 โดยปกติหนี้สินของธนาคารจะมี 8-12 เท่าของทุนจดทะเบียน นั่นหมายความว่า ถ้าหนี้เสียสัก 10% ธนาคารก็ต้องเพิ่มทุนแล้ว หรือไม่ก็ล้มละลาย มีอยู่ 2 อย่าง ตามหลักการ และเป็นลักษณะนี้ทั่วโลก

เราสังเกตว่าทุกวิกฤตธนาคารหลายธนาคารอยู่ไม่ไหว แต่เราเห็นว่ากิจการหลายกิจการที่เขาขายของจำเป็น หนี้น้อย กระแสเงินสดดี ยังอยู่ได้ ตอนซัพไพร์มขนาดโดนเต็ม ๆ หุ้น Walmart ก็ไม่สะเทือน หุ้น Dollar Tree ที่ขายของเหมือน Daiso ก็ยังเป็นบวก

ชาย มโนภาส หุ้น Walmart

เราเห็นว่าในวิกฤตถ้าเราเลือกกิจการดี เรามีความอุ่นใจกว่า พอผ่านช่วงซัพไพร์มปี 2008 เราก็มาดูว่าแล้วกิจการแบบไหนที่เราคิดว่าเขาน่าจะอยู่ได้ เรายินดีแบบนั้นมากกว่า แม้ใครจะบอกว่าเผาหลอกเผาจริง เราก็ไม่คิดจะขาย เพราะเราคิดว่ากิจการพวกนี้น่าจะพาเราผ่านวิกฤตได้ดีกว่าเงินฝากของเราที่อยู่ในธนาคาร

เทคนิคการลงทุน

การลงทุนส่วนใหญ่จะเป็นกิจการที่รับเงินสด เพราะตอนนั้นวิกฤตเกิดที่ต่างประเทศ ต่างจากวิกฤตต้มยำกุ้งที่เกิดขึ้นในไทย ผู้ส่งออกก็จะได้ประโยชน์ วิกฤตเกิดที่ต่างประเทศเราก็ Domestic Consumption เลือกบริษัทที่หนี้น้อย ๆ เพราะตอนนั้นดอกเบี้ยอาจยังไม่แน่นอน ไม่รู้ว่า QE แล้วจะเป็นยังไง เราก็เลือก

  • บริษัทที่หนี้น้อย
  • บริษัทขายของที่จำเป็น
  • ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์
  • กระแสเงินสดของบริษัทดี

ข้อคิดที่ได้จากวิกฤต

พี่คิดว่าการศึกษาภาพใหญ่ไว้บ้าง เป็นเรื่องสำคัญ อาจใช้เวลามากหน่อย แต่ถ้าใครศึกษาแล้วพอที่จะประติดประต่อได้ มันจะเป็นประโยชน์มาก แต่ต้องยอมรับว่าการศึกษาภาพใหญ่อาจจะไม่เหมาะกับทุกคน บางคนทำงานประจำอยู่ อาจจะไม่มีเวลามาก อาจจะโฟกัสที่รายบริษัท แต่จะต้องมุ่งไปที่การบริหารจัดการความเสี่ยง

การที่เราเป็นนักลงทุน เราไม่มีทางรู้อะไร 100% แม้กระทั่งบริษัทที่เราลงทุน เราไม่ได้นักบอร์ดบริหาร เราไม่รู้เลยว่าผลประกอบการณ์ดีหรือไม่ดี เราไม่ได้นั่งวงใน เราทำได้แค่กิจการไหนขายดีมั้ย แต่เราไม่รู้ลึกเหมือนคนที่อยู่ในองค์กร แล้วภาพใหญ่ก็ยิ่งไม่รู้ ถ้าเอาสมการนักลงทุนมาเขียน ตัวแปรมันเยอะมาก จากที่ผ่านมาหลาย ๆ ครั้ง การบริหารความเสี่ยงและความรู้เป็นสิ่งสำคัญในการลงทุน

ปัจจัยต่าง ๆ ในตลาดหุ้น

จริง ๆ มันมีสัญญาณหลายตัว แต่ถ้าถามว่าในตลาดหุ้น ปัจจัยอะไรที่เกี่ยวกับตลาดหุ้นโดยตรง ปัจจัยตัวหลักก็คือ ดอกเบี้ย แต่ไม่ได้บอกโดยตรง อีกอันนึงก็คือ สภาพคล่องในระบบ ปริมาณเงิน

การดูสภาพคล่อง

สภาพคล่องตึงตัว ดูจากอะไรบ้าง เช่น

  • Interbank rate การกู้ยืนระหว่างธนาคาร
  • Repo rate การกู้ระยะสั้นข้ามคืน
  • ปริมาณเงิน M1 M2
  • สังเกตโดยรวม เช่น
    • ยอดการซื้อขายบ้าน
    • ยอดการซื้อขายรถ
    • อารมณ์การจับจ่าย
    • ระดับเครดิต

คุณต้องเข้าใจในสิ่งเหล่านี้ แต่ช่วงระยะเวลาที่สภาพคล่องสูง ๆ คนไม่รู้จะเอาเงินไปทำอะไร บริษัทขายของได้ ไม่กล้าลงทุน เอาไปซื้อหุ้นคืน สภาพคล่องส่วนเกินของทั้งโลก ปริมาณ M1 M2 มันบวม เงินอยู่ในธนาคารก็ดอกเบี้ยต่ำ ก็เลยเอามาเสี่ยงโชคกัน เราอาจจะเห็นว่าหุ้นขึ้น ในยุคนี้หุ้นตัวไหนขึ้นแปลว่าหุ้นดี ก็อาจจะไม่ใช่ บางทีหุ้นขึ้นเพราะสภาพคล่องล้น เราต้องเข้าใจสภาพคล่องโดยรวม สภาพเศรษฐกิจหลาย ๆ อย่าง

เหตุการณ์ทำพลาดในชีวิต

ธรรมดา ลงทุนมาขนาดนี้ บาดแผลก็เยอะตามจำนวนปีที่ลงทุน เรารู้ข้อมูลไม่มีทางที่จะรู้ทุกอย่าง ต้องรู้จักบริหารความเสี่ยง ช่วงปี 2013 พี่ได้ไปลงทุนหุ้นตัวนึงเป็น Lowcost Airline ลงทุนในธุรกิจสายการบินสีเหลือง ตอนนั้นเราดูแล้วปัจจัยครบ

ปัจจัยที่เลือกในตอนนั้น

ปัจจัยที่ทำให้ตัดสินใจเลือกซื้อหุ้นธุรกิจสายการบินสีเหลือง ได้แก่

  • กิจการท่องเที่ยว Intrend
  • ผลประกอบการก่อนเข้าตลาดค่อนข้างดี
  • พอเข้าตลาด ปีนั้นเป็นปีสุดท้ายที่กำไร
  • Marketcap หมื่นล้าน
  • เงินสด 5,000 ล้าน
  • รับเงินสดก่อน จ่าย Supplyer ทีหลัง
  • Mega Trend เรื่องท่องเที่ยว
  • คู่แข่งน้อย
  • นักลงทุนระดับโลก Jim Rogers ร่วมลงทุน

องค์ประกอบจูงใจทุกอย่างครบ คือ Megatrend เงินสดเยอะ บาลาซ์ชีส แคชไซเคิลเป็นลบ มีเซียน ตอนซื้อถ้าจำไม่ผิด IPO 20 กว่าบาท ซื้อตอนราคาลงแล้ว มันดูดี แต่พอเวลาผ่านไปเริ่มไม่ใช่ลักษณะนั้น การแข่งขันสูงมาก ต้องลงทุนขยายฝูงบินเพิ่มเปิดบินไปที่ต่าง ๆ มากขึ้น คู่แข่งต่างประเทศเข้ามาใหม่ น้ำมันขึ้น ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้น หลาย ๆ อย่างไม่ได้เป็นไปตามผู้บริหารคาดไว้ ก็ปล่อยไป ไม่ฝืน

อีกตัวอย่างนึงที่ไม่ถึงกับขาดทุน คือ ทางกลุ่มโออิชิไปซื้อเสริมสุขมา เราก็คิดว่าความสำเร็จน่าจะสร้างกำไรให้บริษัทมโหฬาร การตั้งเป้ายอดขาย 1,000 ล้านบาท ทำให้นักลงทุนคาดหวังกับหุ้น หุ้นขึ้นจาก 29.75 บาท ไป 117 บาท ภายในเวลา 1 ปี เสริมสุขส่งแป๊บซี่ที่เป็นขวดแก้วไปทั่วประเทศ แล้วมาทำชาเขียวขวดแก้ว ก็คิดว่าต้องเหมือนแป๊บซี่ ต้องดีแน่ ๆ เลย

ชาย มโนภาส หุ้น OISHI

กลายเป็นว่าพอเรื่องจริง ไม่ตรงตามที่ผู้บริหารคาดไว้ สิ่งที่คาดไว้ก็อาจจะไม่ได้ตรงตามคาด เผื่อใจไว้บ้าง ถึงแม้เรามองหุ้นเป็นธุรกิจ เห็นกลยุทธ์บริหารที่เราคิดว่าน่าจะดี แต่ก็มีรายละเอียดบางอย่างที่เรามองไม่เห็น

องค์ประกอบที่ขายหุ้นโออิชิ

หลายอย่างประกอบกัน เรื่องของน้ำท่วมใหญ่ โรงงานโดนน้ำท่วม เรื่องผู้บริโภคไม่ค่อยชอบ ราคาที่ขายก็สูงกว่าที่ซื้อไว้ แต่ก็ตัดสินใจถอยออกมาตั้งหลัก

  • เหมือนเราทำธุรกิจเราเอง ว่าจะสู้หรือจะถอย
  • สู้ต่อก็ใส่เงินเข้าไปอีก
  • เราต้องประเมินว่าเราพร้อมจะเสี่ยงมากแค่ไหน
  • ปีนั้นเรามีกำไรมากขนาดไหน
  • ถ้าเราได้กำไรจากตัวอื่นมามาก เราก็อาจจะเสี่ยงกับตัวนี้
  • แต่ถ้าที่ถือไว้ก็ย่ำแย่ ก็ถอยออกมาก่อน รักษาทรัพยากร
  • ถ้าเราเห็นอะไรชัดเจนแล้ว เราก็ค่อยเอาเงินทุนออกไป

เพิ่มขอบเขตความรู้

ตอนที่เราลงทุนแรก ๆ เราเห็นโอกาสได้มาก เราเจอโอกาสเดียว เราก็ดีใจแล้ว ปัญหาคือ เราจะติดกับตัวนั้น เราจะไม่ยอมขาย ฉะนั้นสิ่งสำคัญเราต้องขยายขอบเขตความรู้ให้มองเห็นหลาย ๆ โอกาส สมมติหุ้นที่เราถือมีปัญหา อีกตัวนึงเราเห็นชัดกว่า เราถอยออกมาแล้วเอาทรัพยากรมาทุ่มให้กับตัวที่เรามั่นใจดีกว่า ย้ายทรัพยากรมาในหุ้นที่เรามั่นใจ ลงทุนในสิ่งที่เห็นภาพชัด

  • ซื้อหุ้นที่กำไรน้อย จำนวนมาก คือ ได้กำไรมาก
  • ซื้อหุ้นที่กำไรมาก จำนวนน้อย คือ ได้กำไรน้อย

หุ้นที่ดูดีแต่ไม่ดีก็มี

พี่คิดว่าคนที่ลงทุนในตลาดหุ้นก็ต้องเจออยู่แล้ว มันต้องมีหุ้นบางตัวในตลาดที่ P/E ต่ำ ปันผลสูง ต้องเคยซื้อมาแล้วทุกคน เพราะตอนที่เราสนใจในการลงทุนในหุ้นใหม่ ๆ ปกติจะเริ่มมาจาก P/E ต่ำ เราก็เคยไปไล่ดู วงไว้ P/E 6 เท่า ปันผล 12 สมัยก่อน มันต้องโดน ดีใจซื้อถูกกว่าเจ้าของ

จริง ๆ การลงทุนในหุ้นไม่ใช่เรียงเบอร์ ไม่ใช่การมาดูตัวเลขอันไหนมากน้อยอย่างเดียว เพราะหุ้นมันคือธุรกิจ มันจะมีหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่พี่ก็เคยผิดพลาดมา ปันผลดี P/E ต่ำ นี้ซื้อคอนโดได้ราคาถูกกว่าราคาตลาด แถมยังให้ปันผลทุกปี อะไรจะดีขนาดนี้ แต่โลกไม่ได้ง่ายขนาดนั้น เราต้องเข้าใจว่าการลงทุนในธุรกิจอสังหาฯ ที่อิงกับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจหลัก การที่เราไปซื้อเราเห็นแค่ว่า P/E ต่ำ ปันผลดี

  • บางที P/E เป็นกำไรที่เกิดขึ้นมาแล้ว ใน 12 เดือนที่ผ่านมา
  • ตัวเลขที่แสดงนั้น ไม่ได้บอกว่าอีก 12, 24, 36 เดือนข้างหน้าจะเป็นยังไง
  • บางทีอสังหาบางตัวที่ขนาดไม่ใหญ่ อาจจะอยู่ในทำเลดีมาก
  • แต่พอขายหมดแล้ว มันไม่มีโปรเจคอย่างนี้แล้ว อันที่เหลืออาจจะไม่ซื้อง่ายขายคล่อง
  • บางทีต้องดูตัวเลข Backlog ยอดขายที่รอรับรู้รายได้จากการโอน
  • ต้องดูตัวเลข Presale คือ ยอดจองซื้อ บางทีอีกตั้งนานกว่าจะโอน
  • ต้องดู Presale ว่าขาขึ้นหรือขาลง
  • บางกิจการ Presale สูงสุดไปแล้ว เราเห็นรายได้ดีคือมันเป็นที่ยอด
  • ถ้าดู Presale ที่ลดลง 50% มันบอกถึงรายรับที่เราจะได้ว่าจะไม่ได้สวยอย่างนั้น

เราซื้อหุ้นอสังหาฯ โดยไม่เข้าใจวัฎจักร ว่ามันขาลง เราคิดว่ามันไม่น่าเลวร้ายขนาดนั้น แต่มันไม่ใช่ เราต้องศึกษาว่าจริง ๆ แล้วเราต้องการลงทุนในกลุ่มอสังหาฯ ความต้องการซื้อมันอยู่ตรงไหน ความต้องการซื้อยังมากเหมือนเดิมรึเปล่า สมัยพี่เด็ก ๆ คนไทยส่วนใหญ่ นอกจากจะเป็นลูกเศรษฐีจริง ๆ ถึงจะมีบ้าน 2 หลัง 3 หลัง แต่เดี๋ยวนี้มันเปลี่ยนไป เพราะว่าคนชั้นกลางบางคนมีบ้าน 1 หลัง คอนโด 2 ที่ เราต้องถามว่าการบริโภคแบบนี้มันจะเกิดขึ้นอีกเหมือนในอดีตมั้ย เพราะทุกคนอาจจะมีคอนโด คอนละที่สองที่แล้ว

แต่ที่พูดไม่ใช่ว่าอสังหาฯ จะหมดอนาคตไปเลย ถ้ารัฐบาลสนับสนุนต่างชาติเข้ามาซื้อได้ จากเมื่อก่อนได้คอนโด อาจเป็นบ้านเดี่ยว ถือครองที่ดิน 30 ปี อาจจะเพิ่มเป็น 60 ปี มันก็อาจจทำให้อสังหากลับมาบูมได้ แต่ทั้งนี้ประเด็นคือถ้าเราสนใจลงทุนอสังหาฯ ไม่ใช่ว่าเราจะดู P/E ต่ำ ปันผลสูงอย่างเดียว เราต้องดูว่าช่วงนี้วัฎจักรของเขาจะกลับมาขึ้นมั้ย คุณต้องเข้าใจธุรกิจ มีความรู้ความเข้าใจในธุรกิจ เพราะบางทีตัวเลขเป็นเรื่องของอดีต

นักลงทุนส่วนใหญ่เมื่อไหร่เข้าสู่โหมดที่ไม่อยากเสี่ยง มาตั้งรับ มันจะชอบไปซื้อหุ้นประเภทนี้ โยกเงินมาซื้อที่ปันผล 6% โดน ตอนที่เสี่ยงเยอะ ๆ ไม่โดนหรอก ตอนไม่อยากเสี่ยงจะโดนกับหุ้นพวกนี้

เคล็ดลับฝ่าวิกฤต

นักลงทุน เฉือนกันที่รายละเอียด

ทุกอย่างมีรายละเอียด ซื้อหุ้นที่ปันผลน้อย ๆ เข้าใจธุรกิจจริง ๆ ศึกษาถ่องแท้ไม่ค่อยโดน มาโดนท่าง่ายแต่ไม่ใส่ใจรายละเอียด ที่สำคัญคือต้องเข้าใจธุรกิจ ทาว์นเฮ้าส์ออกใหม่ ขายดีมั้ย ลูกค้ามีความสุข เจ้าของมีความสุข ผู้ถือหุ้นมีความสุข ลูกค้าไม่มีความสุข ผู้ถือหุ้นไม่มีทางมีความสุข ต่อให้ P/E 6 ราคาก็จะตอบสนองความจริง เราต้องใส่ใจรายละเอียด

ข้อคิดถึงนักลงทุนรุ่นใหม่

ช่วงแรกให้ขยันหาความรู้ไว้ก่อน เราไม่ต้องสนใจว่าต้องชนะตลาดมั้ย แพ้ตลาด ผมว่าลงทุนช่วงแรก ให้ชนะเงินเฟ้อ แล้วก็พยายามทำกำไรให้สม่ำเสมอในทุกปี ก็ดีมากแล้ว ไม่ต้องสนว่าเราชนะตลาด หรือแพ้ตลาด เพราะบางทีหุ้นที่เป็นตัวนำดัชนี ตัวนำตลาดที่ผลตอบแทนสูง ๆ อาจเป็นหุ้นในกิจการที่เราไม่มีความรู้ ไม่มีความเข้าใจ บางตัวอุตสาหกรรมปิโตร โรงกลั่น เดินเรือ อาจจะเป็นอุตสาหกรรมที่คนไม่เข้าใจ

  • ลงทุนแรก ๆ ให้หาความรู้ให้มาก เมื่อไหร่ที่มีความรู้มาก เราจะพนันน้อยลง
  • ถ้าเราความรู้น้อย เราจะรับความเสี่ยงมาก
  • ขยายวงความรู้ไปให้หลากหลายอุตสาหกรรม
  • สร้างกำไรให้สม่ำเสมอ
  • บางทีโอกาสอาจจะอยู่ในสิ่งเล็ก ๆ ที่ไม่มีใครใส่ใจก็ได้

มันเป็นการง่ายที่เราจะตามคนส่วนใหญ่ แต่มันจะนำมาซึ่งความเสี่ยงในอนาคตอีกมหาศาล ของทุกอย่างที่อยู่บนโต๊ะ ไม่ใช่ว่าจะกินได้ บางอย่างกินได้แต่อาจจะมีพิษ ต้องระมัดระวัง ถ้าเราสนใจเป็นนักลงทุนจริง ๆ หาความรู้ให้มาก เสี่ยงให้น้อย อันไหนไม่ค่อยมั่นใจไม่ต้องไปยุ่งกับมัน เอาอะไรที่เราศึกษามาอย่างดี ค่อย ๆ ไป ก้าวเล็ก ๆ ทีละก้าว อย่างมั่นคงดีกว่า