วีระพงษ์ ธัม ประวัติ การลงทุนหุ้น

วีระพงษ์ ธัม

วีระพงษ์ ธัม คือ นักลงทุนหุ้นเน้นคุณค่า Value Investor หรือ VI ระดับต้น ๆ ของประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นกรรมการสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) ที่มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจมาก คุณวีระพงษ์ ธัม หรือ คุณหลิน ก้าวมาจากมนุษย์เงินเดือนธรรมดา สู่นักลงทุนพอร์ตหลักร้อยล้านบาท

1 คุณวีระพงษ์ ธัม อายุ

ข้อมูลเบื้องต้น

คุณวีระพงษ์ ธัม เป็นทั้งนักเขียนบล็อก เขียนหนังสือ นักเดินทางแบกเป้ท่องโลกตามเส้นทางสายไหมมาแล้ว

  • นายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า ปี 2564
  • กรรมการสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย)
  • ผู้เขียน Blog : 10000lie
  • ผู้แต่งหนังสือ : หนังสือ 2 เล่ม
  • นามแฝง : Lingzhi ใน THAIVI.COM

คุณวีระพงษ์ ธัม อายุ

เมื่อปี 2556 คุณวีระพงษ์ ได้ให้สัมภาษณ์กับกรุงเทพธุรกิจ ซึ่งขณะนั้นคุณวีระพงษ์อายุ 33 ปี ดังนี้จากปี 2565 คุณวีระพงษ์ ธัม มีอายุ 42 ปี

คุณวีระพงษ์ ธัม

“ปีแรกของการลงทุนต้องห้ามขาดทุน

เพราะนั่นคือ กำลังใจดีๆให้คุณเดินต่อ และอยู่รอดในตลาดหุ้น”

วอร์เรน บัฟเฟ็ตต์

ผลงานหนังสือ

บุคคลที่ไม่ธรรมดาอีกคนในวงการนักลงทุนหุ้น นอกจากเป็นนักลงทุนแล้ว คุณวีระพงษ์ยังเป็นนักเขียน แบ่งปันประสบการณ์และความรู้ในการลงทุนแก่มือใหม่และนักอ่านทุกคน ผลงานหนังสือของคุณวีระพงษ์ มีดังนี้

หุ้นเปลี่ยนชีวิตบนเส้นทางVI

2 หุ้นเปลี่ยนชีวิตบนเส้นทางVI

คำนิยม

ตลอดเวลาเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา คุณวีระพงษ์ ธัม นำหลักการแนวคิดการลงทุนแบบเน้นคุณค่า มาปฏิบัติให้เกิดผลจริงในระยะยาว แม้มีเซียนหุ้นเกิดขึ้นมากมายในช่วงตลาดหุ้นขาขึ้น ผมยืนยันได้ว่าคุณวีระพงษ์ ธัม เป็น “VI พันธุ์แท้” ที่ประสบความสำเร็จและเป็นตัวอย่างที่ดี แก่ผู้เริ่มสนใจลงทุนในแนวทางนี้ หนังสือ “หุ้นเปลี่ยนชีวิต” เล่มนี้ จึงเหมาะที่จะเป็นการ “ลงทุนความรู้” สำหรับนักลงทุนทุกเพศ ทุกวัย เพราะอาจจะ “เปลี่ยนชีวิต” ผู้อ่านทุกคนได้เช่นกัน

ธันวา เลาหศิริวงศ์ -ผู้ร่วมก่อตั้ง thaivi.com, อดีตนายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด

30 กลยุทธ์ หุ้นเปลี่ยนชีวิต

3 30 กลยุทธ์ หุ้นเปลี่ยนชีวิต

คำนิยม

คุณวีระพงษ์เป็นนักลงทุนที่เพียบพร้อมทั้งทางด้านประสบการณ์การลงทุน และความรู้ในเชิงหลักการ นอกจากนั้น คุณวีระพงษ์ยังเป็นอาจารย์สอนวิชาการประเมินมูลค่าหุ้นของสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่าแห่งประเทศไทย และดำรงตำแหน่งกรรมการของสมาคมอีกด้วย ที่สำคัญคือ คุณวีระพงษ์เป็นนักลงทุนที่อ่านหนังสือมาก อ่านหลากหลาย เดินทางไปทั่วโลก จึงทำให้มีมุมมมองและข้อคิดดังกล่าวจากการอ่านหนังสือเล่มนี้

รศ.ดร. ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา -รายการ Money Talk

ประวัติครอบครัว

คุณวีระพงษ์ เป็นคนเชื้อสายไทย-มาเลเซีย สมรสแล้ว ประวัติครอบครัว มีดังนี้

  • บิดา : ถัน ซุ่น เฉิง นักร้องชื่อดังจากมาเลเซีย
  • มารดา : อาชีพนักธุรกิจ บริษัทประกันภัย แคปปิตอลพลัส คอนซัลติ้ง กรุ๊ป
  • น้องชาย : ไม่ปรากฎ
  • ภรรยา : ไม่ปรากฎ
  • ลูกชาย : คุณคิน

พ่อกับแม่ ไม่สนับสนุนให้เล่นหุ้น อีกทั้งยังมองว่า หุ้นคือการพนัน เนื่องจาก อากู๋ ของคุณวีระพงษ์ เคยเจ๊งหุ้นในวิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 2540 นั่นเอง

ประวัติการศึกษา

คุณวีระพงษ์ มีประวัติการศึกษา ดังนี้

  • ปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขายานยนต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 2
  • ปริญญาโท MBA มหาวิทยาลัยชิงหัว ประเทศจีน

ประวัติการทำงาน

หลังจากจบการศึกษาคุณวีระพงษ์ มีประวัติการทำงาน ดังนี้

  • บริษัท “ปูนซิเมนต์ไทย” (SCC) ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่การตลาดระหว่างประเทศ
  • หลังทำงานได้ 5 ปีก็ลาออกไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท

สัมภาษณ์คุณวีระพงษ์ ธัม

น้องเป็ดถอดเทปสัมภาษณ์ รายการ Black Swan มาได้ ดังนี้

องค์ประกอบ Black Swan

Black swan ในชีวิตการลงทุน มี 3 องค์ประกอบ

  1. เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เหตุการณ์ที่คนไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นหรอ
  2. ผลกระทบของ Black Swan จะต้องต่อเนื่องเป็นผลที่ทำให้ตัดสินใจผิดพลาดไปเรื่อยๆเหมือนจมไปกับมันแทนที่มันจะหยุดที่ตรงนี้แต่มันกลับทำให้เราผิดซ้ำแล้วซ้ำอีกและกระทบต่อสิ่งอื่นๆในชีวิตไม่ใช่เฉพาะเรื่องการลงทุน
  3. เหตุการณ์ที่ดูเหมือนง่าย แต่ว่าเรามองไม่เห็น ถ้าเรามองย้อนกลับไปเราจะคิดว่าทำไมเราถึงคิดแบบนี้เป็นเหตุการณ์ที่ไม่น่าเกิดมันเกิดได้ยังไงแต่ว่าจะตอบได้ก็ต่อเมื่อเหตุการณ์มันผ่านไปแล้วถ้าเราอยู่ในเหตุการณ์นั้นเราจะมองไม่เห็นเหมือนคนตาบอด

ตั้งแต่ที่ลงทุนมาปี 2004 มีเหตุการณ์แบล็คสวอนเกิดขึ้นมามากมายทั้งกับตัวเองและคนรอบตัว

เหตุการณ์ Black Swan ที่ 1

ปี 2006 ปลายปี มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกเป็นเหตุการณ์ที่ Capital flows ไหลรุนแรง ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ตลาดหุ้นไทยร่วงสู่จุดต่ำสุดที่ 587.92 ติดลบมากกว่า 19.52% ภายในวันเดียว ตลาดหุ้นวันนั้นลง 20% ในวันเดียวแต่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคือเพราะมาตรการนี้ออกหุ้นลงระเนระนาดทุกตัวเพราะตอนกลางคืนวันนั้นปรากฏว่าสถานการณ์ประเทศไทยเปลี่ยนทำให้ตลาดหุ้นกลับมาที่เดิม

น้องของผมเห็นว่าหุ้นลง 20% เขากลัวว่ามันจะแย่เขาก็เลย Cut วันนั้นขาดทุน 20% สิ่งที่มีปัญหาก็คือพอวันต่อมาหุ้นเด้งขึ้นเขาโกรธมากเขารู้สึกว่ามันไม่แฟร์กับชีวิตเขา ทำไมเขาต้องเจอแบบนี้เขาออกจากการลงทุนไปเลยเขาไม่กลับเข้าตลาดลงทุนอีกเลย อันนี้คือสิ่งที่เปลี่ยนชีวิตเขาไปเลย เขาเป็นนักลงทุนที่เก่งแต่เขารับไม่ได้กับสิ่งที่มันเกิดขึ้นในตอนนั้น

เหตุการณ์ Black Swan ที่ 2

ปี 2007 พี่หลินเดินทางไปเรียน mba ในประเทศจีนระหว่างปี 2007 ถึงปี 2009 ช่วงที่อยู่ที่นั่นมันเกิดเหตุการณ์ที่มหัศจรรย์หลายอย่างแล้วก็มีแบล็คสวอนอีกตัวหนึ่งซึ่งจริงๆแล้วแบล็คสวอนตัวนี้เป็นตัวเดียวกับที่ไทยเป็นพี่น้องกันมีความเชื่อมโยงกันคือเหตุการณ์ในปี 2007 ช่วงตรุษจีน รัฐบาลจีนประกาศนโยบาย Crackdown เศรษฐกิจตีนร้อนมากๆ อสังหาภาคการลงทุนทุกอย่างเศรษฐกิจบูมมากการลงทุนมหาศาลมีการสร้างสถานีรถไฟใต้ดินการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ภาคเอกชนลงทุนต่างชาติก็เข้ามาจนกระทั่งที่บอกว่าไม่ไหวแล้วต่างชาติเยอะเกินไปเขาก็เลยประกาศมาตรการเต็มไปหมดปรากฏว่าตอนช่วงตรุษจีนเปิดขึ้นมาวันแรกหุ้นเขียวทั้งแผ่นดิน โดยที่หุ้นสีแดงของคนจีนคือหุ้นขึ้น หุ้นสีเขียวของคนจีนคือหุ้นลง หุ้นบางตัวทำจุดต่ำสุดในตลาด แต่ว่าหุ้นในนั้น 2,000 กว่าตัว Floor ทุกตัวในตลาด เป็นการลงของราคาครั้งใหญ่สุดของตลาดหุ้นจีน

4 เหตุการณ์ Black Swan ที่ 2

แทนที่นักลงทุนจีนจะบอกว่าเศรษฐกิจในจีน ร้อนแรงเกินไปรัฐบาลทำอย่างนี้มันน่าจะระวังตัวมากขึ้นนะแต่เปล่าเลยเขากลับบอกว่า ใครอ่อนแอก็แพ้ไป แทนที่ตลาดทุนจะยอมรับความจริงแล้วก็ชะลอตัวลงปรากฏว่าเป็น Rally ครั้งที่ใหญ่ที่สุดในตลาดหุ้นจีน หุ้นลงมาไม่เท่าไหร่ ก็ขึ้นยาวตั้งแต่กุมภาพันธ์จนถึงพฤศจิกายน เป็นการ Rally ที่รุนแรงที่สุดในตลาดหุ้นของจีนและพี่หลินก็อยู่ในสถานการณ์นั้นด้วย

ตอนนั้นเปิดหน้าจอไถกันมันเลย ทุกคนบอกว่าใครอ่อนแอก็แพ้ไป แต่เราเจ๋งพอ เรากลับไปลุยต่อ เราจะไปเรียนหนังสือทำไมทั้งๆที่เราเห็นว่าเส้นทางสู่ความรวยอยู่ตรงหน้า หุ้นหลายตัวมันขึ้นถึง 20 เท่าจาก floor  ในวันนั้น ตลาดหุ้นโดยรวมขึ้น 100%  หุ้นบางตัวขึ้นแรงมากๆทุกคนลงทุน แล้วพี่ก็ไปถามเขาถามว่า valuation หุ้น China mobile ไฟฟ้า น้ำมัน P/E เป็น 100 เท่า ก็เลยมีคำพูดอยู่คำหนึ่งเขาบอกว่า รัฐบาลจีนไม่ยอมให้ตลาดหุ้นพังหรอก เพราะเรากำลังจะมีงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศจีนก็คือโอลิมปิกปี 2008 ที่ปักกิ่ง ทุกคนเชื่อแบบนั้นกันหมด

เหตุการณ์ Black Swan ของคุณวีระพงษ์

ปี 2008 ตาเราเอง หุ้นไทยในเวลานั้นเราก็เจอวิกฤตถ้าเราจำได้ วิกฤตซับไพรม์ ช่วงนั้นโดนกันหมดแต่ว่าเราได้เรียนรู้อะไรไหมจากก่อนหน้านั้น มันมีเหตุการณ์บอกเหตุอยู่ เราเตรียมพร้อมเตรียมตัวไหม ไม่มีเลย ตัวพี่เองเห็นคนอื่นที่เจอเหตุการณ์แย่ ๆ มีปัญหา เกิดเงินเฟ้อ เกิดการขึ้นดอกเบี้ย แต่ว่าเราไม่ตระหนัก ช่วงนั้นอยู่ที่ประเทศจีน ประเทศจีนก็หุ้นลงก่อนแล้วก็หุ้นขึ้นก่อนแล้วกลับมาลงแรงอีกรอบ

แต่ว่าหุ้นไทยสบาย ๆ เนื่องจากลงทุนมาระยะหนึ่งก็มีความมั่นใจมาก ทุกอย่างดีหมดเพราะทุกปีก็ชนะตลาด มีกำไรค่อนข้างชัดเจน อยู่ในช่วงที่ย่ามใจ ไม่คิดว่าไฟไหม้ตรงนั้นจะลามมาถึงตรงนี้ เศรษฐกิจไทยยังดูแข็งแรงอยู่ทุกอย่างยังดูดีหมดจำได้ว่าต้นปี 2008 ไปประเทศฝรั่งเศสแล้วก็เห็นหุ้นของเราที่ลงแล้วลงอีกมันลงจนไม่รู้จะทำยังไงเราไม่รู้ว่าเราจะแก้ไขปัญหานี้ยังไงเพราะว่ามันลงหุ้นทุกตัวลงและหลายๆตัวไม่มีสภาพคล่อง

อยู่ในนั้นเราไม่เห็นอะไรเลย ไม่ได้คิดอะไรด้วยซ้ำ เราเพิ่งมาเรียนรู้หลังจากนั้น อยู่ในเหตุการณ์นั้นพี่จำได้ว่าคำพูดของประธาน FED บอกว่านี่คือวิกฤตครั้งรุนแรงที่สุดของมนุษยชาติ คำพูดของคนที่เก่งๆในโลกในเวลานั้นนิตยสารที่อ่านทั้ง Forb Business Time พาดหัวข่าวน่ากลัวมาก แล้วตอนไปห้องสมุดที่ฝรั่งเศส เปิดมามีแต่ข่าวแบบนี้ เราแทบไม่มีความหวังเลยว่ามันจะรอดยังไง เราจะรอดจากเหตุการณ์แบบนี้ได้ยังไง

ถึงเราจะมีเงิน เราก็ไม่กล้าซื้อแล้ว เราไม่รู้จะทำยังไงด้วยซ้ำ เราไม่รู้เลยว่าต้องหาโอกาส เรื่องแบบนี้ไม่มีในหัวเลย แต่ยังดีอย่างนึงตรงที่ว่า เรารู้สึกว่ามันไม่แพงคือหมายหมายความว่ามันมีความรู้สึกว่าหุ่นยังไม่แพง มันไม่ใช่เวลาที่เราจะขาย ไม่ใช่เวลาที่จะหนีออกจากตลาด อันนี้ถือว่าโชคดี ถ้าหากว่าไม่ได้คิดแบบนั้น นั่นคือ Black Swan ของจริงพี่หาโอกาสแล้วก็ถัวราคาลงมา คือตอนนั้นหุ้นหลายๆตัวมันมีโอกาสที่จะกลับขึ้นมาได้ ถ้าหากว่าเรารู้จักหาโอกาส เราจะ Maximize มันได้

เราก็อยู่กับมันโดยหาอะไรคลายเครียดอย่างเช่นฟังเพลงเพื่อเยียวยาจิตใจ ยังมีคำพูดของพี่อ้อยพี่ฉอดว่า เวลาไม่เคยเยียวยาใครได้หรอก แต่การยอมรับความจริงจะเยียวยามันได้ คุณวีระพงษ์ก็พยายามให้กำลังใจตัวเองแล้วก็เริ่มต้นใหม่ รอเวลาให้มันผ่านไป ในหนังสือบอกว่าดาวโจนส์ลงไป 6,000 จุด แล้วโอกาสที่จะเพิ่มกลับขึ้นมาก็คือประมาณ 10 ปี ทำใจแล้วว่า 10 ปีก็ 10 ปี ในหนังสือเขียนแบบนั้น ก็ไม่เป็นไรเดี๋ยวเรากลับมาตั้งใจเรียนของเราก็แล้วกัน แล้วเวลานั้นเราเห็นแล้วว่าพอเราย่ามใจเมื่อไหร่มันไม่ดี เหตุการณ์ครั้งนั้นไม่น่าเชื่อว่ามันจะกลับมาได้เร็วกว่าที่ทุกคนคิดหมด จุดตรงนั้นเป็นจุดที่คิดว่า

นักลงทุนควรจะเข้าใจ Macro Economic มากขึ้น ไม่ใช่เข้าใจแต่ Bottom up  อย่างเดียว

วิกฤตซัพไพร์ม

หุ้นตัวนึงคือหุ้น cpn ในเวลานั้นพี่จำได้ว่าพี่ซื้อราคา 6-7 บาทตั้งแต่เริ่มลงทุนน้ำมันขึ้นจาก 7 บาทไป 30 มันก็ทำให้เราได้น้ำได้เนื้อจะขึ้นตัวนี้ แล้วเวลานั้นหุ้นตัวนี้มันลงมาเหลือประมาณเกือบเท่าเดิมเกือบเท่าราคาเดิมที่เคยซื้อ หุ้นหลาย ๆ ตัวเป็นอย่างนั้น เวลาหุ้นมันลงมันจะลงแบบที่เราไม่เคยคิด ตอนนั้นหุ้นมันลงจาก 600 จุด เหลือ 400 จุด ตอนนั้นเราคิดว่ามันถูกต้องละ มันดีพอละ มันควรจะ Off in แล้วในจังหวะที่หุ้นลงมันจะเหมือนจังหวะที่หุ้นขึ้นคือมันจะลงได้มากกว่าที่เราคิด

5 วิกฤตซัพไพร์ม

คนมันจะกลัวได้มากกว่าที่คนเรารู้เพราะเราอยู่ในสถานการณ์แบบนั้นคนมันมีอารมณ์ร่วมมากมันลงไปทุกตัวโฮมโปรจาก 10 บาทเหลือ 2 บาทถึง 3 บาทในเวลานั้นเวลานี้ก็เปลี่ยนไปเยอะแล้วมันเป็นแบบนั้นหมดเลยทุกตัวก็ไม่รู้จะทำยังไงเพราะว่ามันเป็นวิกฤตที่ลงทั้งหน้ากระดาน เราไม่รู้จะแก้ยังไง หุ้นในเวลานั้นมีหุ้นตัวเดียว ถ้าใครมีหุ้นตัวนี้แก้พอร์ตได้แน่นอน หุ้นตัวนั้นคือ cpall หุ้น cpall ลงน้อยสุดถ้าใครมี cpall เยอะแล้วขายแล้วไปซื้อหุ้นที่ลงเยอะๆนั่นคือโอกาสของเขาเลย

หุ้นมันลงทุกวัน วันละ 10%  พี่อยู่ฝรั่งเศส พี่ก็นั่งดูตลาดหุ้นของยุโรปก่อนดาวโจนของไทยตอนกลางคืนตื่นมาตอนกลางคืนมาดูแล้วก็ฝรั่งเศสแล้วก็ไล่มาดาวโจนวนแบบนี้ไปมา สิ่งที่มันเกิดขึ้นที่อเมริกาโอกาสที่มันจะลามมาเมืองไทยมันมีเหมือนกันแต่ว่ามันไม่เยอะถึงขนาดที่หุ้นมันจะลงแบบนี้ มันก็แค่การดึง Capital กลับ จริงๆแล้วตอนนั้นเป็นช่วงที่บูมมากที่สุดในประเทศไทยช่วงนึง หลังจากวิกฤตต้มยำกุ้งด้วยซ้ำ

ถ้าเกิดว่าเราลงทุนเราควรจะมี community บางอย่าง มีนักลงทุนที่ช่วยกันคิด ช่วยกันดึงเรา ไม่ให้เราโลภมากเกินไป หรือไม่ให้เรากลัวมากเกินไป คิดด้วยเหตุและผล ไม่ใช่คิดด้วยอารมณ์ แต่เราอยู่คนเดียวไง หลังจากวิกฤตซัพไพร์มหุ้นมันพุ่งขึ้น ขึ้น ขึ้น ทุกคนก็ยังไม่เชื่อ

หลังวิกฤตซัพไพร์ม

คนที่ขายหนีไปได้ก่อนวิกฤต ตอนนั้น 800 จุด แล้วลงมาเหลือ 600 จุด คนที่ขายหนีได้ก่อน พอมันลงมาเหลือ 300 เค้าก็หัวเราะ แต่พอเค้าจะกลับเข้ามาซื้อ หุ้นมันก็ไม่ได้รอ มันพุ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ แล้วพอหลังจากนั้น มันก็จะมีเหตุการณ์ที่บอกว่ามันยังไม่จบรึเปล่า มันมีวิกฤตที่ดูแล้วจะไปต่อ วิกฤตที่ยุโรป (โปรตุเกส อิตาลี กรีซ) มันก็จะมีอะไรที่แบบมาท้าทายเราตลอด

หุ้นไทยขึ้น 40% มีหุ้นหลาย ๆ ตัวที่ขึ้นมากกว่านี้เยอะ หุ้นที่ได้รับผลกระทบหนัก ๆ เช่น หุ้นอสังหา Propoty Development ขึ้นมาเท่าตัว

6 หลังวิกฤตซัพไพร์ม

พอวิกฤติ หุ้นที่มันเป็นหุ้นตัวคุณภาพดีมากๆในเวลานั้นไม่มีชื่อ แต่ในเวลานี้ชื่อว่า Super Stock ช่วงเวลานั้น Super Stock หลาย ๆ ตัวมันลงมาในระดับที่ P/E ถูกมากเหลือแค่ 10 เท่า 10 ต้น ๆ ทั้ง ๆ ที่ Runway อีกยาวมาก ๆ เลย ทั้งการขยายสาขา การทำนู่นทำนี่ ถ้าใครซื้อตอนนั้น ช่วงนั้นพี่ตระหนักแล้วแล้วก็เห็นโอกาสตรงนี้ ได้อาจารย์นิเวศน์ฟังก็เข้าใจว่ามันมีโอกาสโตสบาย ๆ ไปอีกระยะหนึ่งแล้วก็ค่อย ๆ ปรับพอร์ตตัวเองเข้าไปในหุ้นกลุ่มนี้

เชื่อไหมว่าเงินที่เข้าไปในหุ้นกลุ่มนี้มันได้ผลตอบแทนทุกๆปีเลยแล้วได้ผลตอบแทนที่เราไม่ต้องทำอะไรเลยเพราะว่ามันเป็น Super Stock มันโตอย่างที่สุด แล้วเราก็ซื้อในราคาที่มันดีพอ มีส่วนเผื่อความปลอดภัย หรือ Margin of Safety หลังจากนั้นเชื่อไหมว่าพี่ลงทุนพี่แทบจะไม่ต้องทำอะไรเลย แต่มันมีวิกฤตในแต่ละช่วงหลังจากวิกฤติ มีวิกฤติตลอดทาง หุ้นไทยมีโอกาสที่จะลงประมาณ 10 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์เสมอในแต่ละครั้ง แต่ว่าพอเราเชื่อในหุ้นที่มันมีคุณภาพดี ๆ อย่างมากมันชะลอตัวนิดหน่อยแต่มันก็หาโอกาสเติบโตได้เหมือนนักลงทุนที่เก่ง

หุ้นที่ดีๆก็เหมือนนักลงทุนที่เก่ง ๆ หาโอกาสทำนู่นทำนี่แทนที่มันจะราคาตกลงไปกลับทำให้มันโตเร็วกว่าเดิม พี่ก็อยู่ในช่วงที่ลงทุนหุ้น Super Stock ทุกตัวแทบจะไม่ต้องทำอะไรเลยเป็นการลงทุนที่ดีมากๆมีความสุขจนการ์ดตก

วิกฤตในชีวิตอีกครั้ง

Black Swan ในความรู้สึกพี่ สิ่งที่พี่โดนมากับตัวเองซึ่งยังเป็นแผลอยู่เลย เวลามันผ่านไป สิ่งที่เลวร้ายที่เกิดขึ้นมันก็ผ่านไป แต่พอเราย้อนกลับไปนึกถึงช่วงเวลานั้น มันขมขื่น มันคือ Black Swan ที่เกิดขึ้นกับตัวเราเองคนเดียว

สำหรับนักลงทุนแบบนี้มันเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราเลือกหุ้นผิด แล้วเราก็ทำผิดซ้ำ คือมองกลับไปคิดว่าทำไมเราถึงคิดอย่างนั้น แล้วมันก็มีผลกระทบไม่เฉพาะการลงทุนของเรา เราไม่คิดว่าการที่เราลงทุนมาระยะหนึ่งแล้ว แล้วเราเลือกหุ้น Super Stock ได้ เราลงทุนเก่งแล้ว เรามองออก เรามองภาพใหญ่มองอะไรแล้ว ลงทุนสบาย ๆ ไม่ต้องทำอะไรเลย

7 วิกฤตในชีวิตอีกครั้ง

เมื่อใดก็ตามที่เรารู้สึกว่ามันโอเคแล้ว โอเคกับพอร์ต มีความพึงพอใจกับผลการลงทุนของเรา เราจะเริ่มอยากหาอะไรใหม่ ๆ ในขณะที่เราไม่พร้อม เพราะนักลงทุนจำไว้เลยว่า เราจำเป็นจะต้องฟิตตลอดเวลาเราเหมือนนักมวยที่จะต้องฟิตตลอดเวลา ถ้าเราไม่ฟิตเมื่อไหร่ แล้วเราขึ้นสังเวียน แต่เราคิดว่าเรายังเก่งอยู่ เราจะโดนเสยคาง แล้วเราก็จะแพ้ ไม่ใช่แพ้เฉพาะยกนั้น แต่มันจะแพ้ต่อเนื่อง เพราะว่ามันเสียศูนย์

มันเป็นความอับอายในตัวเองอยากให้คนอื่นได้รู้ความรู้สึกในเวลานั้นคือพี่ไปลงทุนในกลุ่มนึงเป็นธุรกิจตู้เติมเงิน เหตุการณ์ครั้งนั้นเพราะพี่มองย้อนกลับไปเห็นสตอรี่เลยกลับไปแล้วเห็นเลยคือมันเป็นเหตุการณ์หลังจากที่หุ้นโทรคมนาคมขึ้นถึงจุดสูงสุด ประมาณปี 2010 ต้น ๆ ช่วงนั้นเป็นช่วงพีคเลย

พลาดแรก

ธุรกิจตู้เติมเงินมันโตเร็วมาเป็นคลื่นลูกที่ 2 เพราะคนใช้มือถือเยอะคนก็เติมเงิน แล้ว Margin มันก็ดีมาก ๆ การขยายตู้มันก็ขยายอย่างต่อเนื่องการเติบโตพี่จำได้ว่าพอเข้าตลาดปุ๊บ มันเติบโตประมาณ 40 ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ มันจะโตชะลอลง แต่มันก็ยังโตดีอยู่ จำนวนตู้ก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หลักหมื่นขึ้นไปเป็นหลักหลายหมื่นขึ้นไปเป็นหลักแสน พี่ก็ซื้อช่วงนั้นยังมีหลายอย่าง เขาจะทำ Wallet ด้วย เขาจะทำตู้ vending ด้วย (ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ) ทุกอย่างมันดูดี เราก็ดูว่ามันดีครบองค์ทั้งผู้บริหาร

8 พลาดแรก

พี่ก็ซื้อ 2 ตัวเลย ตัวนึงคือ FSmart ตัวนึงคือ AJD มาแรงมาก ผู้บริหารไฟแรง ฟิตมาก แล้วตู้ก็ขึ้นมาจากหลักที่ไม่มีเลยขึ้นมาเป็น 50,000 ตู้ ในเวลารวดเร็ว เพราะว่าตอนนั้นมีเฟรนไชส์ แล้วก็คิดว่าเต็ง 2 ตัว มั่นใจ P/E ก็ไม่แพง เพราะตอนนั้น P/E ประมาณ 20 เท่า ราคาหุ้นซื้อตั้งแต่ 10 ปลาย ๆ 15-18 ซื้อแบบทุกอย่างดูดีเหมือนที่เราคิดเลย แล้วตอนนั้นมันกำลังจะมีธุรกิจใหม่ด้วย ธุรกิจโอนเงิน ธนาคาร ซึ่งเป็น New S Curve มันครบองค์ มันใช่เลย

สิ่งที่เกิดขึ้น 2-3 สิ่ง สิ่งหนึ่งก็คือเราคาดไม่ถึง แล้วเรามองไม่เห็น มันคือพฤติกรรมผู้บริโภค พฤติกรรมที่เราเห็นแล้วเราเชื่อว่ามันดีมันค่อยๆเปลี่ยน disruption ถ้าเราจำได้สมัยก่อนมันก็จะมีคนที่เติมเงินทีละ 10 บาท 20 บาท แต่พอมันมีสิ่งใหม่ขึ้นมา คือ LINE Call ไม่ต้องเติมเงินโทรแล้ว พฤติกรรมค่อยๆเปลี่ยนตอนแรก LINE Call ก็มีเหตุผลตอบตัวเองว่าใครจะไปใช้ สัญญาณมันไม่ดี แล้วก็ไม่สุภาพด้วยโทร LINE คือทุกอย่างมันดูไม่ดีหมดในเวลานั้น

เราก็ไม่เชื่อว่ามันจะมาเร็วแต่พฤติกรรมค่อย ๆ เปลี่ยน แทนที่คนจะไปเติมเงินทุกวัน วันนึง 3 รอบ หลังๆเริ่มน้อยลง เพราะเขาเปลี่ยนพฤติกรรม เขาไปติด WiFi ที่บ้าน แล้วก็โทรคุยกันได้เหมือนเดิม ไม่ต้องเสียตังค์แล้ว มันค่อย ๆ มา 

พลาดสอง

อันที่ 2 อยู่ดีๆมีธนาคารแห่งหนึ่งก็คือ SCB ประกาศบอกว่าเขาอยากทำฟินเทคเขาให้โอนเงินฟรีก็แล้วกัน แม่มณี สิ่งที่เราคิดว่าโอนเงิน สมัยก่อนโอนเงินต้องเสียเงิน 20 บาท แล้วก็ยุ่งยากมาก โอนผ่านตู้ ATM ลำบาก เรามองว่าอันนี้มันคือเข้าถึงผู้บริโภค มันเหมือนจะดีมาก ๆ แต่เราก็ฝืน เราคิดว่าโอนมือถือแล้วคนก็คงไม่ค่อยได้ใช้ เพราะว่าเขายังโตอยู่เลย ยังโตดีอยู่ แล้วมันจะเป็นอะไร มันก็น่าจะมีแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มนี้เขาถือธนาคารไม่ได้ 

9 พลาดสอง

เหตุผลยังดูดีอยู่ งบประมาณออกมาดีตลอด แต่ราคาหุ้นมันเหมือนกับเขารู้ จริง ๆ เราก็รู้แต่ว่าเราฝืน P/E ตอนนั้น 20 เท่าจำได้ แล้วมันก็ลงทุกไตรมาส แต่ว่างบตามที่เราคิดแทบจะเป๊ะเลย ยังโตต่อเนื่อง ถึงแม้จะชะลอตัว แต่เราคิดว่าการชะลอตัวก็มีเหตุผล มันโต 2 ฝั่ง ปรากฏว่าอีกฝั่งหนึ่งการที่เขาโตเร็วเกินไปจำไว้ว่าบางธุรกิจรับรู้รายได้ก่อน ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง

สิ่งที่เรากลัวที่สุดคือรับรู้รายได้ก่อน ของจริงค่อยตามมาทีหลัง เงินค่อยตามมาทีหลัง ก็เหมือนกับธุรกิจปล่อยเงินเชื่อ ตู้ก็คือให้เครดิตขายให้กับลูกค้าโดยที่เป็นเครดิต มันก็เลยโตเร็วมาก ถ้าลูกค้ามาเติมก็กำไร ตั้งไว้ แต่สุดท้ายการที่เขาโตเร็ว คุณภาพของจุดที่ตั้งตู้ การที่เขาโตเร็วเกินไป หลังบ้านตามไม่ทัน มันก็ทำให้ค่อย ๆ คืน อัตราการคืนกับอัตราการขายตู้ใหม่เริ่มไล่เลี่ยกัน แล้วมันก็แซงในที่สุด และสุดท้ายมันก็มีปัญหากับการที่โตเร็ว เพราะโตเร็วเกินไป

หุ้นนี้เราขายไม่ได้ เพราะว่ามันห้ามซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ชั่วคราว เพราะไม่ได้ยื่นงบต่อตลาด อันนี้คือไม่มีมูลค่าเหลือแล้ว ถูกล็อก คือถ้าเราคิดว่ามันคือศูนย์ มันคือศูนย์ได้เลยในเวลานั้น หลายเดือนมากที่ซื้อขายไม่ได้ จิตใจก็ไม่ค่อยดี อันนี้คือขายก็ขายไม่ได้ คือถ้าเราคิดว่ามันคือศูนย์ มันคือศูนย์ได้เลยในเวลานั้น หลายเดือนมากที่ซื้อขายไม่ได้ จิตใจก็ไม่ค่อยดี อันนี้คือขายก็ขายไม่ได้

แล้วอีกฝั่งนึง P/E 20 เท่า มันลงไปเรื่อยๆ ซื้อเพิ่มตอนนั้น เข้าซื้อเพิ่ม หนักกว่าเดิม เพราะว่าเรากลับมามองใหม่ มันไม่มีเหตุมีผล ต้องเข้าใจอะไรผิดแน่ เพราะเราเรียนรู้มาจากวิกฤตแล้วว่าเราไม่รีบแล้วค่อย ๆเติม เราทำตามสูตร ยังเก็บ Excel ตอนซัพไพร์มอยู่เลยว่ามันลงแตะทุกจุด ลงจาก 20 ต้น ๆ สุดท้ายลงมาเหลือ 5-6 บาทแล้วมัน Bottom ที่ P/E 7-8 เท่า ปันผล 10 กว่าเปอร์เซ็นต์

ในเวลานั้นรู้สึกว่าพี่กลับมาคิดว่าเรามองผิด มันเหมือนกับว่าเราไม่น่าเล่าให้คุณฟัง จริง ๆ แล้วถ้าเรามีเพื่อนนักลงทุนจะช่วยมากถ้าเราไปเล่า เขาก็อาจจะช่วยเรา แต่ว่าเราไม่กล้าเล่า เพราะเขาก็จะบอกว่ายังมีอยู่อีกหรอ เราแก้สถานการณ์ไม่ถูก แต่เราก็หันมาตระหนักแล้วว่า ตอนนั้นพอเราเริ่มกล้ายอมรับความจริง ขายไม้แรก เราขายไม้แรกเลย

จริงๆตอนนั้นก็มีความหวังว่าตลาดมีซื้อหุ้นคืน ขอให้ตลาดมันเปลี่ยนมุมมอง แต่ว่ามันไม่เกิด สุดท้ายมันมีอะไรบางอย่างบอกว่าให้ขายทิ้ง มันเหมือนปลดปล่อย แล้วมันเหมือนปลดปล่อยความคิด ปลดปล่อยสิ่งที่เป็นพันธนาการทั้งหมด รับข้อเท็จจริงใหม่ ๆ เข้ามา เราเริ่มได้ยินเพราะเริ่มขายครั้งแรกเราก็เริ่มคิดว่าแทนที่เรายอมจมกับมัน เราไปหาหุ้นตัวใหม่ดีกว่า อย่าแลกเลย 

หลุดพ้น

แล้วตอนนั้นที่บอกว่า Black Swan ที่แรงที่สุดที่เกิดขึ้นกับตัวเองก็คือเพราะหุ้นเราจม หุ้นตัวอื่นขึ้น เรารู้สึกว่าหุ้นเราลงเกิน 50% คือเกินกว่านั้นแล้ว หุ้นตัวอื่นแทนที่มันจะลง ถ้าเป็นซัพไพร์ม มันก็จะลงเหมือนกัน มีเพื่อน ยังไม่รู้สึกเจ็บมาก แต่หุ้นอีกอันนึงขึ้นดีมาก มันมีการเปรียบเทียบเกิดขึ้น เราก็ยอมรับว่านี่แหละคือความผิดพลาด เราได้กำลังใจจากทั้งครอบครัว ทั้งอะไรด้วย เขาก็บอกว่าเพราะเขารู้ว่าเราเครียด มันลาม เราก็ได้กำลังใจจากลูก ก็คิดว่าจมอยู่แบบนี้เป็นปีแล้ว มันหนัก มันไม่ใช่ช่วงเวลาที่สั้นๆเลย จมอยู่กับมันแล้วจมแบบที่เราเล่าให้คนอื่นฟังไม่ได้

บทเรียนจากความผิดพลาด

เวลาเราลงทุนในหุ้น มันมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมในหุ้นตัวนั้นเสมอ เราต้องประเมินทุกการเปลี่ยนแปลงให้ได้ ว่าการเปลี่ยนแปลงอันนั้นมันมีผลต่อธุรกิจแค่ไหน นอกเหนือจากนั้นเราต้องกลับไปคิดทบทวนสมมติฐานของเราอยู่เสมอ ว่าสมมติฐานที่เราคิดมันผิดหรือเปล่า สิ่งที่มันเกิดขึ้นระหว่างทางมันเป็นไปตามที่เราคิดหรือเปล่า หรือมันเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงไปแล้ว คือเราแค่หวังลม ๆ แล้ง ๆ แค่หวังว่าสักวันหนึ่งเขาจะต้องกลับมาหาเราสักที สักวันหนึ่งอย่างน้อยมันจะต้องเทรดที่ P/E ตลาด มันไม่ควรเทรดที่ P/E 50% ของตลาด

ความหวัง จริง ๆ แล้วมันไม่มีประโยชน์ เรายอมรับความจริง แล้วเราเรียนรู้ไปกับมันดีกว่า

วีระพงษ์ ธัม

เราต้องแยกประเภทหุ้นให้ออกว่าหุ้นนี้เป็นประเภทหุ้นที่แข็งแรงหรือหุ้น Super Stock หรือหุ้นนี้เป็นหุ้น Growth จริงๆแล้วพี่ดูแลหุ้นตัวนี้เหมือนหุ้น Growth แต่สุดท้ายแล้วมันเป็นหุ้นปันผล แล้วที่สำคัญไปกว่านั้นคือคำที่พึ่งมาเกิดคือถ้ามันเกิดในเวลานั้นจะได้ฉลาดนิดนึง แต่เพิ่งมาเกิดทีหลัง คำว่า Disruption คำนี้พึ่งมาเกิดในภายหลัง เราเพิ่งเข้าใจว่ามันทำลายล้างจริงๆพลานุภาพมันกวาดล้างรุนแรงไม่ใช่ว่าค่อยๆมามันไม่ใช่แบ่งกันอยู่แล้วแต่ว่ามันเป็นการที่ผู้ชนะกินรวบกินทั้งหมด

เราก็กลับมาคิดว่ามันไม่ใช่แล้วที่เราจะต้องลงทุนในหุ้น Super Stock อย่างเดียวเพราะว่าหุ้น Super Stock ค่อนข้างตึงกันเจริญเติบโตชะลอไม่เหมือนเดิมราคามันก็แพงแล้วแต่ถ้าเราจะกลับมาเป็นนักลงทุนแบบขยันขันแข็งเหมือนรุ่นน้องๆเราก็เริ่มมาคุยกับน้องๆเริ่มกลับมาฟิตใหม่หาแรงบันดาลใจเริ่มมาคุยกับคนที่ขยันขุดหุ้นหลังๆพี่ก็จะชอบคบเด็ก นักลงทุนมันต้องออกกำลังกายตลอดเวลาขยันขันแข็งแล้วก็กลับมาสู่โหมดที่เริ่มดูเริ่มขยันอีกครั้งนึง

จริง ๆ แล้ว พี่เห็นเซียนหุ้นหลายคนที่เก่งกว่าเราด้วยซ้ำ หลายคนเขายังขยันอยู่เลย แล้วเขาก็ทำด้วยความรู้สึกรัก ด้วยใจ เขาไม่มีความรู้สึกเบื่อหน่ายเลย อย่างเรารู้สึกว่าสบายเกินไป พอกลับมาแล้วก็กลับมาอ่านหนังสือ กลับมาดูหุ้น แล้วก็เริ่มขยายวงอีกรอบนึง ขยายขอบเขตความรู้อีกรอบนึง แล้วรอบใหม่เราก็พยายามไปหาสิ่งที่มัน Disrupt คนอื่น เราถูก Disrupt ไปแล้ว เราจะเอาคืน

กลับมายืนอีกครั้ง

เราก็ได้แรงบันดาลใจ เรามีความรู้ครบองค์แล้ว เราก็เห็นเทคโนโลยีใหม่ แล้วเทคโนโลยีพวกนี้แหละมันคือสิ่งที่มันจะ disrupt คนอื่น หุ้น 10 เด้ง เราก็พยายามไปดู ปีที่แล้วสนุกมากเลย ปีที่แล้วลงทุนหุ้นต่างประเทศ เราก็เห็นหุ้นสิบเด้งเต็มไปหมด ในเวลานั้นพวกนี้มันแบบเป็น disruptor ชัด ๆ มันมี Model Business ที่ขนาดได้ Winner take all เป็นแพลตฟอร์ม ทุกวงการไม่ว่าจะเป็นวงการการเงิน  e-commerce มันมีทุกวงการให้เล่นจริง ๆ การแพทย์ เราก็ถือหุ้นแล้วก็กำไรดีมาก

แล้วหุ้นมันดีมากหลาย ๆ ตัว มันเพิ่มขึ้นไปหลาย ๆ เท่าตัว แล้วมีโควิดมาเป็นตัวเร่งด้วย ทุกอย่างมันจะต้องเปลี่ยนแปลงหมดเลย สุดยอด แล้วมันไป Peak คือตอนนั้นหุ้นหลาย ๆ ตัวมันถูกเทรดด้วย Multiple ที่แพงมาก ๆ ในประวัติศาสตร์ ตอนนั้นเขาเรียก Price per Sale ราคาหุ้นต่อยอดขาย เขาก็ดูราคาต่อยอดขาย มันขึ้นไปประมาณ 40-50 เท่า

ณ เวลานั้น ควรจะเป็นเวลาที่เราตระหนักว่าการลงทุนที่ดีมันไม่ใช่เราจะสามารถถือหุ้นไปเรื่อย ๆ ไม่ว่าหุ้นเราจะดีขนาดไหนก็ตาม มันไม่ใช่เวลาที่เราจะต้องถือหุ้นไปเรื่อย ๆ โดยที่เราไม่ต้องทำอะไร โดยที่เราไม่ไปทบทวนมัน เวลานั้นเป็นเวลาที่เราโลภที่สุด เรารู้สึกว่าเรามาถูกทางแล้ว ทุกอย่างมันดีหมด เริ่มย่ามใจ

มันไม่มีหุ้นที่ถือไปเรื่อย ๆ ได้

หลังจากวันนี้หุ้นที่มันแพงมาก ๆ มันยังโตตามที่คิด หลาย 10% หรือ 100% เพียงแต่ Multiple ลดลง 75% ราคาหุ้นลงเหลือครึ่งนึง แล้วหุ้นที่ขึ้นในปีนี้กลับเป็นหุ้นที่ไม่แพง ถ้าเกิดเรามองมูลค่า เราจะมองว่าตัวนี้มันแพงไปแล้ว เราเป็นนักลงทุน เราต้องประเมินสิ่งที่มันเกิดขึ้นตลอด สิ่งที่มันเปลี่ยนแปลงตลอด เราต้องมาประเมินหลาย ๆ ธุรกิจ อย่างเช่น มันจะมีตัวนึง มันจะไป Disrupt กับอุปกรณ์ออกกำลังกาย

10 มันไม่มีหุ้นที่ถือไปเรื่อย

หุ้น Peloton หุ้นพุ่งขึ้นมาแบบ ทุกคนจะต้องออกกำลังกายที่บ้าน ที่ปั่นจักรยาน มันจะเป็นออนไลน์ มี Class กับคนอื่นได้ด้วย พอมันเปิดเมือง มันก็ต้องแยกให้ออกว่าอะไรคือสิ่งที่มันจะเกิดขึ้น และมันจะเกิดขึ้นแบบไหน ความผิดพลาดอันนึงของนักลงทุน Ray Dalio บอกว่า พอหุ้นขึ้น นักลงทุนส่วนมากจะคิดว่า เราตัดสินใจถูกแล้ว แล้วหุ้นมันจะขึ้นต่อ แต่จะมีส่วนน้อยที่คิดว่ายิ่งหุ้นขึ้น upside เราจะยิ่งน้อยลง มันยิ่งแพงขึ้นเรื่อย ๆ และทุกครั้งที่หุ้นขึ้น จำไว้เลยว่า มันขึ้นด้วย Growth

สมมติหุ้น Tech จริง ๆ แล้วหุ้นไทยก็เป็นนะ พี่เล่าให้ฟังเรื่องฟอร์ทสมาร์ท Growth มันมาปุ๊บ Multiple เพิ่ม ถ้าเราไปซื้อในเวลานั้นทุกอย่างมันดูดีที่สุดเพราะ growth มันชะลอ มันชะลอไม่พอ multiple ลงด้วย แล้วลงหนักกว่า แบบนี้เราโดน 2 ขาเลย แทนที่เราจะได้ 2 ขา คืออันนี้ก็เป็นบทเรียนเลยว่าบางทีเราไปลงทุนในหุ้นที่มันถึงแม้เรามองว่ารันเวย์มันยาวจริงๆ แต่ว่าเราไม่จำเป็นจะต้องถือมันไปเรื่อย ๆ เราต้องถือด้วยความมีเหตุมีผลไม่ใช่ว่าถืออยู่อย่างนั้น

ทำไม Black Swan ถึงอยู่ในวงการนักลงทุน มันมีสิ่งนึงที่สำคัญมาก ๆ คือคำว่า Scale วงการไหนที่มีการขยายตัวมาก ๆ คือสามารถขยายตัวได้อย่างรุนแรง วงการนั้นก็จะมี Black Swan มาก ยกตัวอย่าง ทำไมนักลงทุนถึงขยายตัวได้มาก

ตัวอย่างการขยายตัว (Scale)

ถ้าเราเป็นช่างตัดผม เราไม่สามารถขยายตัวธุรกิจได้มาก จาก 10 คน เป็น 1 ล้านคน ไม่ได้ เต็มที่ก็ได้แค่ 10 คน ขยันมาก ตัดผมแพง ตัดแต่คนที่รวยที่สุด มันก็ได้แค่นั้น แต่นักลงทุน 1 คลิ๊ก มันอาจจะเป็น 100 บาท หรือ 100 ล้านบาทก็ได้ มันขยายตัวได้เยอะมาก วงการไหนที่ขยายตัวได้รุนแรงจะเกิด Black Swan เสมอ

นักลงทุนในวงการ คนที่ลงทุนประสบความสำเร็จ เทียบสัดส่วนกับคนที่ไม่สำเร็จ มันห่างกันมากเพราะว่า ผู้ชนะจะได้ประโยชน์มาก ๆ เวลาที่เราอยู่ในวงการที่มันขยายตัวได้ เราจะต้องระวังตัวเป็นพิเศษ เราจะต้องขยันเป็นพิเศษ เพราะว่าเราไม่อยากอยู่ฝั่งผู้แพ้ ถึงแม้ว่าเราจะยังลงทุนได้ไม่ดี แต่เราก็เกาะค่าเฉลี่ยไว้ กลาง ๆ ไปให้ได้

วิกฤตโควิด 19

พอเราเรียนรู้หลาย ๆ อย่างมา มันครบองค์ เรียนรู้ภาพใหญ่ของเศรษฐกิจ เราเข้าใจว่าสิ่งที่มันเกิดขึ้นมันมีมาตรการอะไรที่มันเกิดผล แทนที่เราจะกลัวเหมือนวิกฤตซัพไพร์ม เราเปิดจอแล้วก็ดูเฉย ๆ นิ้วไม่กล้ากด ย้ายไปย้ายมา แทนที่เราไม่รู้จะทำอะไร ถ้ามีวิกฤตเกิดขึ้น อย่าปิดจอ มันคือเวลาที่เราต้องทำงานหนักที่สุด เราหาโอกาส และการลงทุนในปัจจุบันมันเปิดกว้าง สมัยนี้มีทั้งความรู้ เครื่องมือต่าง ๆ เราสามารถลงทุนได้ทุกที่ทั่วโลก

โควิด อาจเป็นวิกฤตของหลาย ๆ คน แต่นักลงทุนที่เขาขยันหาโอกาส ฝืนความกลัวของตัวเองได้ ปรับพอร์ตหุ้นที่มันขาดทุน พี่จำได้หุ้น homepro ปรับจาก 17 บาท ลงมาเหลือ 10 บาท หรือต่ำกว่านั้นจำไม่ได้ พี่ยอมนะ ไม่เคยติดใจว่าทำไม 17 ไม่ขาย ไปขาย 10 บาท 9 บาท แต่เพื่อที่เราจะไปหาโอกาสใหม่ แล้วก็เป็นโอกาสที่ดีที่สุดในการลงทุนของเรา

จังหวะตัดสินใจ

พี่จำได้ช่วงนั้น คิดว่ามันไม่น่าจะนาน ซื้อหุ้นท่องเที่ยว หุ้นนู่นนี่นั่นหลาย ๆ ตัว แล้วมันลงต่อ พอมันลงต่อแทนที่ ณ เวลานั้น เราจะรอมันกลับมา แต่จริง ๆ ประสบการณ์เราไม่ได้คิดอย่างนั้นแล้ว เราไม่ได้ให้เวลามาเยียวยา เราให้การยอมรับมาเยียวยา กุมภาลง พฤษภาเปลี่ยน ดังนั้นเราคัดพวกนี้ทิ้งดีกว่า รวมถึงหุ้นที่ยังมีสภาพคล่องดี ๆ เราขายหุ้นนี้ทิ้งแล้วเริ่มต้นใหม่ โอกาสที่ดีที่สุดของเราคืออะไร ถ้าเราจะเริ่มต้นใหม่

สิ่งที่แตกต่างจากครั้งก่อน ๆ คือ เรามีความรู้มากขึ้น ใจเราแข็งแรงมากขึ้น เรายังมีเพื่อน เราอยู่เมืองไทย เรามีพี่เก่ง ๆ ที่คุยกันด้วยเหตุผล วันที่หุ้น bottom ครั้งที่ 3 พี่คุยกับหลายคนที่เป็นระดับตำนาน ด้วยความบังเอิญเราทำงานสมาคม แล้วคุยกันสามสาย ต่างคนต่างก็ความคิดเห็นตรงกัน พอคุยกัน มองด้วยเหตุและผล มองยาว ๆ มองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต เรามองตรงนี้ว่าเป็นโอกาส ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องมากลัวแล้ว

Black Swan เกิดขึ้นบ่อย เรื่อย ๆ ไม่ต้องกลัว ยุคนี้ Black Swan เกิดขึ้นบ่อยกว่าทุกยุคในประวัติศาสตร์ Black Swan ตัวที่ใหญ่ ๆ ในช่วงที่ผ่านมา คือ Internet คนต่างชาติเขาเห็นกันมาตั้งแต่ปี 2000 ดังนั้นเราพยายามมองให้ออกว่า ตัวไหนจะมา มาเมื่อไหร่ และเราซื้อที่ราคาไม่แพงเกินไป เวลาหุ้นลงมันจะขายลงมาก่อน คนส่วนใหญ่จะคิดว่าโอกาสทองมาแล้ว รถมารับแล้ว มันก็เด้งให้เห็น จากนั้นลงต่อ

พี่คิดว่า กฎข้อนึงของการเป็นนักลงทุนที่ต้องจำไว้เลย รถไฟเราตกรถไฟไม่เจ็บ เราจะเจ็บก็ต่อเมื่อเราอยากขึ้นมันมาก แล้วเรามองมัน เราอย่าไปคิดมาก ปีเตอร์ ลินช์ พูดในหนังสือคลาสสิค One Up On Wall Street ว่า ถึงแม้ผมจะพลาดหุ้น 10 เด้งมากมาย แต่ผมก็ยังเหนือกว่า Wall Street

มันไม่เป็นไรหรอก แต่คนที่เจ็บที่สุด คือ คนที่กระโจนพุ่งเข้าไปในช่วงที่มันพีคที่สุด นักลงทุนต้องมองเห็นล่วงหน้า เราต้องซื้อช่วงที่คนอื่นคิดไม่ถึง จังหวะนั้นแหละคือ Black Swan ของคุณ โอกาสของคุณ Black Swan ไม่มีข้อไหนที่ไม่ดีเลยนะ

  • คนคาดไม่ถึง
  • ผลกระทบเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • มองย้อนกลับไปดูเหมือนง่าย ๆ

ไม่ได้บอกว่า Black Swan เกิดขึ้นแล้วมันแย่ แต่ว่า มันจะแย่หรือไม่แย่ มันขึ้นอยู่กับเรา เราจะหาโอกาสจากมัน หรือเราจะโดนไปกับมัน

คำแนะนำจากคุณวีระพงษ์

นักลงทุนต้องทบทวนตัวเอง ทบทวนหุ้นในพอร์ตเรา ทบทวนการตัดสินใจของเราทุกการตัดสินใจ ทบทวนดูว่าสิ่งที่เราทำอยู่ มันใช่ในสิ่งที่เราต้องการจริง ๆ มั้ย ที่เราทำอยู่มันถูกมั้ย เราคิดถูกมั้ย ทบทวนให้บ่อย นักลงทุนระดับโลกทุกคน เราต้องอยู่กับใจเราให้ได้ สติต้องจับให้ทันความคิดเรา ถ้าเราเท่าทันความคิดเราเร็วขึ้นเท่าไหร่ เรารู้เร็วว่าผิดแล้วเรายอมรับมัน ถ้าเราไม่ยอมรับก็คือเราไม่เท่าทันความคิด ถ้ามันแซงเราก้าวนึง คือ เราไม่ทัน เราต้องทันมันพอดี เราต้องทบทวนมัน

นอกจากทบทวนตัวเอง เราก็ต้องฟังคนอื่น อ่านหนังสือ วนกลับไปที่พื้นฐาน ให้เราฟิต ทำให้เราแข็งแรงทั้งกายและใจ ให้เราพร้อมเสมอ เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่เราไม่พร้อม เราต้องถอย ไม่พร้อมแล้วเราสู้ต่อ เราเห็นหลายคนแล้ว ประวัติศาสตร์มนุษย์ ถ้าไม่พร้อมแล้วฝืน สุดท้ายมันจบไม่สวย