บัญชี ECN กับ Standard ต่างกันยังไง แบบไหนดี โบรกไหนดีแนะนำ

บัญชี ECN กับ Standard

บัญชี ECN และบัญชี Standard มีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ข้อดีและข้อเสียของแต่ละบัญชีมีความแตกต่างกัน เทรดเดอร์ควรเลือกประเภทบัญชีที่เหมาะสมกับตนเอง โดยความแตกต่างระหว่าง 2 ประเภทบัญชี มีดังต่อไปนี้

1 บัญชี ECN กับ Standard

เปรียบเทียบบัญชี ECN กับ Standard

ความแตกต่างที่ชัดเจนเมื่อทำการเปรียบเทียบบัญชี ECN กับบัญชี Standard เทียบกับด้วยรายละเอียดมีดังนี้

รายละเอียด
บัญชี ECN
บัญชี Standard
Spread
สเปรดต่ำ
เสปรดสูงกว่า
Commission
มีค่าคอมมิชชั่น
ฟรีค่าคอมมิชชั่น
Reqoute
ไม่มีรีโควต
มีรีโควต
Server
รวดเร็วมาก
รวดเร็วน้อยกว่า ECN
Scalping
เหมาะสม
ไม่เหมาะสม
เทรดช่วงข่าว
ไม่มีปัญหา
อาจมีปัญหา
ระดับเงินลงทุน
เงินลงทุนมาก
เงินลงทุนน้อย
ระดับเทรดเดอร์
มืออาชีพ
มือใหม่และเทรดเดอร์ทั่วไป

บัญชี ECN

บัญชี ECN ย่อมาจาก Electronic Communication Network เป็นประเภทบัญชีที่ส่งคำสั่งเข้าสู่ตลาดโดยตรงเหมาะสำหรับเทรดเดอร์มืออาชีพ ตัดปัญหารบกวนสำหรับเทรดเดอร์ออกไปได้หลายอย่าง โดยข้อดีและข้อเสียของบัญชี ECN มีดังนี้

ECN Account

ข้อดีบัญชี ECN

บัญชี ECN มีข้อดีดังนี้

Server รวดเร็ว

Server ของบัญชี ECN มีความรวดเร็วสูงมาก ทำให้เป็นข้อได้เปรียบเรื่องการส่งคำสั่งที่จะได้ราคาตลาดขณะที่กดส่งคำสั่งทันที

Requote หมดปัญหา

ปัญหาการรีโควตที่ทำให้เทรดเดอร์มืออาชีพต้องพลาดราคาที่ต้องการจะหมดไปเมื่อใช้บัญชี ECN เทรดเดอร์จะไม่ต้องพบกับปัญหารีโควตอีกเลย

Spread ต่ำ

ค่าสเปรดของบัญชี ECN ต่ำมาก ส่วนใหญ่แล้วเป็น 0.0 pip ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับเทรดเดอร์

Scalping

บัญชี ECN เหมาะกับกลยุทธ์การเทรดแบบ Scalping หรือการเทรดระยะสั้น ๆ เป็นอย่างมาก เนื่องจากการเทรดด้วยบัญชี ECN จะได้ราคาที่ถูกที่สุดดีที่สุด ด้วยความรวดเร็วของ Server นั่นเอง

เทรดข่าว

การเทรดช่วงข่าวรื่นไหล ได้ราคาที่ดีทั้งเปิดและปิดออเดอร์เนื่องจาก Server เร็ว ไม่มีรีโควต อีกทั้งค่าสเปรดยังเป็นศูนย์แม้ช่วงข่าวทำให้มีต้นทุนต่ำ จึงเหมาะกับการเทรดเดอร์ที่ชอบเทรดในช่วงข่าวเป็นอย่างยิ่ง

ข้อเสียบัญชี ECN

เมื่อมีข้อดีก็ต้องมีข้อเสีย เรามาดูข้อเสียของบัญชี ECN ดังต่อไปนี้

Commission

ค่าคอมมิชชั่นของบัญชี ECN ราคามาตรฐานจะอยู่ที่ประมาณ 7 USD/Lot เนื่องจากค่าสเปรดที่ต่ำทำให้โบรกเกอร์เก็บค่าคอมมิชชั่นแทน

เงินลงทุน

เงินลงทุนเริ่มต้นของบัญชี ECN ค่อนข้างสูงกว่าบัญชี Standard โดยแต่ละโบรกเกอร์จะกำหนดเงินฝากเริ่มต้นสำหรับบัญชี ECN ไม่เท่ากัน แต่โดยเฉลี่ยแล้วเป็นจำนวนเงินที่สูงกว่าบัญชี Standard

เปรียบเทียบค่าคอมมิชชั่นบัญชี ECN

น้องเป็ดได้ทำการเปรียบเทียบค่าคอมมิชชั่นต่อรอบ รวมเปิด-ปิดออเดอร์ ต่อ Lot ของบัญชี ECN หรือเทียบเท่า ในโบรกเกอร์ Forex ชั้นนำต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย ดังนี้

โบรกเกอร์
ค่าคอมมิชชั่น
Exness
ฟรี
IUX Markets
7 USD
GMI Markets
4 USD
Tickmill
4 USD
XM
ฟรี
IC Markets
7 USD
Eightcap
7 USD
LandFx
0.6 pips
FxPrimus
8 USD
FBS
12 USD

บัญชี Standard

บัญชี Standard เป็นบัญชีที่ส่งคำสั่งซื้อขายผ่านโบรกเกอร์โดยมี Liquidity Provider หรือผู้ให้บริการสภาพคล่องเป็นผู้เสนอราคา แล้วจึงส่งคำสั่งไปสู่ตลาดกลาง ทำให้ประเภทบัญชีนี้ดำเนินการใช้ช้ากว่าประเภทบัญชีแบบ ECN เหมาะสำหรับเทรดเดอร์มือใหม่และเทรดเดอร์ทั่วไปที่มีความคุ้นเคยกับแพลตฟอร์มและตลาดในระดับนึงแล้ว ข้อดีและข้อเสียของบัญชี Standard มีดังนี้

Standard Account

ข้อดีบัญชี Standard

บัญชี Standard เป็นบัญชีที่เหมาะสำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ มีข้อดีต่าง ๆ ดังนี้

Commission ฟรี

ค่าคอมมิชชั่นฟรี สำหรับบัญชี Standard จึงเหมาะสมกับเทรดเดอร์มือใหม่ และเทรดเดอร์ทั่วไปที่ยังไม่อยู่ในระดับมืออาชีพ ปกติแล้วโบรกเกอร์ชั้นนำในตลาดจะให้ฟรีคอมมิชชั่นในบัญชี Standard เป็นส่วนใหญ่

เงินลงทุนต่ำ

เงินลงทุนในบัญชี Standard ค่อนข้างต่ำ บางโบรกเกอร์ไม่กำหนดเงินฝากขึ้นต่ำในการฝากเข้า ทำให้เทรดเดอร์ที่ต้องการฝึกฝนการเทรด เริ่มต้นด้วยเงินจำนวนน้อย ๆ ก่อนที่จะชำนาญได้

ข้อเสียบัญชี Standard

ข้อเสียของบัญชี Standard มีดังนี้

ค่า Spread สูง

เนื่องจากฟรีค่าคอมมิชชั่น ทำให้ค่าสเปรดของบัญชี Standard สูงกว่าบัญชี ECN การเคลื่อนไหวของค่าสเปรดคู่สกุลเงินค่อนข้างเคลื่อนไหวรวดเร็ว

Server ไม่รวดเร็ว

เซิร์ฟเวอร์จะช้ากว่าบัญชี ECN ทำให้การเข้าและออกออเดอร์อาจเกิดการ delay หรือล่าช้า ทำให้ราคาไม่ตรงตามที่ส่งคำสั่ง การเทรดด้วยกลยุทธ์เทรดสั้นและการเทรดช่วงข่าวจึงไม่เหมาะสม

Reqoute

เกิดการรีโควตในบัญชี Standard ทำให้ในบางครั้งการส่งคำสั่งไม่ได้ราคาที่ต้องการ อาจส่งผลให้ผิดแผนที่วางไว้ หรือหากแย่กว่านั้นอาจทำให้เกิดการขาดทุน

เปรียบเทียบค่าสเปรดบัญชี Standard

ค่าสเปรดของบัญชี Standard ในโบรกเกอร์ Forex ชั้นนำต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันแล้ว มีผลความแตกต่างดังนี้

โบรกเกอร์
ค่าสเปรด
Exness
0.3 pips
IUX Markets
0.2 pips
GMI Markets
1.0 pips
Tickmill
1.6 pips
XM
1.0 pips
IC Markets
1.0 pips
Eightcap
1.0 pips
LandFx
0.9 pips
FxPrimus
1.5 pips
FBS
0.5 pips

โบรกไหนดี แนะนำ

เกณฑ์การพิจารณาในการตัดสินใจว่าโบรกไหนดี ควรพิจารณาจากหลากหลายปัจจัยซึ่งน้องเป็ดตรวจสอบปัจจัยอื่น ๆ เช่น ความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยสูง การฝากเงินและถอนเงินหลายช่องทางและฟรีค่าธรรมเนียม เป็นต้น

หากพิจารณากันที่ต้นทุนค่าสเปรดและค่าคอมมิชชั่นของทั้ง 2 ประเภทบัญชีแล้ว น้องเป็ดให้คะแนนโบรกเกอร์ Exness และ XM เป็นโบรกเกอร์ที่มีบัญชี ECN ที่ดี เนื่องจากค่าคอมมิชชั่นฟรี อีกทั้งยังมีค่าสเปรดต่ำ ทำให้ต้นทุนของเทรดเดอร์ในการเทรดต่ำมาก

ทางลัดเปิดบัญชี Exness

ทางลัดเปิดบัญชี XM

บัญชี Standard ที่ดี ยกให้เป็นของโบรกเกอร์ IUX เนื่องจากมีค่าสเปรดต่ำมาก อีกทั้งยังฟรีค่าคอมมิชชั่น ทำให้ต้นทุนการเทรดบัญชี Standard ของเทรดเดอร์มีต้นทุนการเทรดต่ำเป็นอันดับต้น ๆ ของตลาด Forex เหมาะสมกับเทรดเดอร์มือใหม่และเทรดเดอร์ทั่วไปในการเปิดบัญชีเทรด

ทางลัดเปิดบัญชี IUX Markets

สรุป

โบรกเกอร์ Forex จำเป็นต้องหาเงินจากค่า Spread และค่า Commission เนื่องจากโบรกเกอร์เหล่านั้นทำการค้า จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีโบรกเกอร์ที่โปร่งใสไม่คิดค่าสเปรดและคอมมิชชั่น ดังนั้นเทรดเดอร์ทำได้เพียงแค่เลือกโบรกเกอร์ที่มีต้นทุนต่ำ ควบคู่กับหลักการพิจารณาอื่น ๆ ตามความพึงพอใจ จึงจะได้โบรกเกอร์สำหรับเปิดบัญชี ECN และ บัญชี Standard ที่ถูกใจ

เทรดเดอร์หลายท่านพิจารณาต้นทุนการเทรดควบคู่ไปกับการมีทีมงานซัพพอร์ตภาษาไทยที่สามารถตอบคำถามได้รวดเร็ว หรือเทรดเดอร์อีกกลุ่มอาจพิจารณาจากการฝากเงินและถอนเงินที่รวดเร็ว อย่างที่น้องเป็ดได้กล่าวไปแล้ว หลักการพิจารณาขึ้นอยู่กับความพึงพอใจส่วนบุคคล

อย่างไรก็ตาม น้องเป็ดได้ทำการเปรียบเทียบต้นทุนการเทรดของโบรกเกอร์ต่าง ๆ ไว้แล้ว หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมก็สามารถหาอ่านแบบเจาะลึกได้ในแต่ละโบรกเกอร์ที่ท่านสนใจ โบรกเกอร์ที่ดีและเหมาะสมกับแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน การทดลองใช้งานดูว่าชอบหรือไม่ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ