หลอกให้ลงทุน Bitcoin binance คริปโต หลอกลงทุนออนไลน์ รวมคดีทั้งหมด ถูกหลอกต้องทำยังไง

การลงทุนออนไลน์ในปัจจุบันเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง โดยคริปโตเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูง และมีการเปลี่ยนแปลงตลาดอย่างรวดเร็ว ดังนั้นก่อนที่จะลงทุนออนไลน์ ควรศึกษาและวิเคราะห์ตลาดให้ดี ควรเข้าใจเรื่องของความเสี่ยงและปริมาณการลงทุนที่สามารถเป็นไปได้ และควรปฏิบัติตามแนวทางในการลงทุนที่เหมาะสมกับความเป็นส่วนตัว เพื่อป้องกันการถูกหลอกจากผู้ไม่หวังดีทั้งหลาย

1 หลอกให้ลงทุน

ลงทุนออนไลน์คืออะไร

          การลงทุนออนไลน์ (online investing) คือการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ โดยใช้อินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์เป็นแหล่งของข้อมูล และการดำเนินการ ซึ่งอาจประกอบไปด้วยการซื้อขายหุ้น การลงทุนในหุ้น ETF การลงทุนในกองทุน การลงทุนในหลักทรัพย์ในเว็บไซต์ต่างๆ โดยจะมีการใช้เว็บไซต์และแอปพลิเคชันเพื่อติดตามสถานะการลงทุน และดำเนินการเพิ่มหรือลดการลงทุน

  • เมื่อเทคโนโลยีก้าวล้ำขึ้น ข้อมูลทุกอย่างสามารถเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลเพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการโดยไม่จำเป็นต้องเขียนบันทึกบนกระดาษเหมือนเมื่อก่อน
  •  มูลค่าเงิน จึงถูกแปรเป็นข้อมูลดิจิทัลด้วยเช่นกัน โดยยังใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการต่าง ๆ ได้ตามปกติ
  • โดยมีการพัฒนา ‘เงินดิจิทัลยุคใหม่’ ที่มีความเป็นสากล และมีความยืดหยุ่นในการใช้สอยในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้
  • การใช้เงินดิจิทัล  หรืออาจเรียกได้ว่าสกุลเงินคริปโต ก็คือวิวัฒนาการของเงินตราในปัจจุบันนั่นเอง เพียงแค่เปลี่ยนจากการถือและใช้จ่ายด้วยเงินสดมาเป็นการถือชุดข้อมูลดิจิทัลที่แสดงมูลค่าของเงินที่เราครอบครอง
  • เพื่อเพิ่มความสะดวกในการพกพา การโอน การซื้อขาย และอื่น ๆ ซึ่งมีความยืดหยุ่นมากกว่าเงินตราปกติ  และเช่นเดียวกับสกุลเงินตราปกติที่มีหลายสกุลเงิน ทั้งบาท ดอลลาร์ หยวน ยูโร
  • สกุลเงินคริปโตเองก็มีหลายสกุลเงินเช่นเดียวกัน เช่น บิตคอยน์ อีเธอเรียม เป็นต้น

Bitcoin คืออะไร

2 Bitcoin คืออะไร

Bitcoin เป็นสกุลเงินดิจิทัล (cryptocurrency) ที่มีการใช้งานโดยไม่ต้องผ่านหน่วยงานหรือธนาคารของประเทศ โดยการใช้เทคโนโลยีการสร้างระบบความปลอดภัยแบบ blockchain ในการสร้างขึ้น ดังนั้น Bitcoin จึงเป็นเหรียญที่ไม่สามารถโดนปรับปรุงหรือกำจัดได้โดยตรงจากองค์กรหรือรัฐบาล โดย Bitcoin เป็นเหรียญแรกที่ได้รับความนิยมในการใช้งานและมีปริมาณการใช้งานในโลกสูงมาก

  • ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับบิตคอยน์แต่ละรายการถูกบันทึกไว้ในบัญชีแยกประเภทแบบกระจายศูนย์ ทำให้ยากที่จะย้อนกลับ ดัดแปลง หรือทำลายธุรกรรมเหล่านั้น
  • จำนวนบิตคอยน์มีอยู่จํากัดที่ประมาณ 21 ล้านเหรียญ ซึ่งล่าสุด ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2022 บิตคอยน์ถูกชุดไปแล้วกว่า 18.97 ล้านเหรียญ หรือราว 90% จองจำนวนบิตคอยน์ทั้งหมด โดยคาดว่าบิตคอยน์จะถูกพูดหมดประมาณปี 2140
  • ปัจจุบันบิตคอยน์มีมูลค่าและส่วนแบ่งตลาดสูงที่สุดในตลาดคริปโต ด้วยปริมาณการซื้อขายอย่างมหาศาลในแต่ละวัน

หลอกให้ลงทุน Bitcoin

3 หลอกให้ลงทุน Bitcoin

  • เมื่อไม่นานมานี้เรามักพบเห็นข่าวที่นักลงทุนถูกมิจฉาชีพลวงให้ลงทุนใน Bitcoinที่มีลักษณะเป็นแชร์ลูกโซ่ทำให้เกิดความเสียหายกับนักลงทุนเป็นจำนวนมาก
  • จึงทำให้มีภาพจำว่า “Bitcoin นั้น คือแชร์ลูกโซ่” ซึ่งแท้ที่จริงแล้วไม่ใช่แบบนั้นเลย ลักษณะของกลลวงแชร์ลูกโซ่ Bitcoin ก็ไม่ต่างจากกลลวงอื่นๆมากนัก
    ซึ่งกลลวงที่พบเจอมักมาใน 3 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่
  • ระดมทุนได้ไม่อั้น ยิ่งลงทุนมาก ยิ่งได้ตำแหน่งหรือค่าตอบแทนมาก
  • ฐานข้อมูลบริษัทไม่ชัดเจน ตรวจสอบไม่ได้: ไม่รู้ว่าเอาเงินไปทำอะไร หรือการระดมทุนนั้นสร้างผลตอบแทนให้กิจการอย่างไร
  • มักมีการสร้างบรรยากาศและแรงจูงใจในการลงทุน เช่น มีการการันตีผลตอบแทน

Binance คืออะไร

Binance เป็นตลาดซื้อขายบิทคอยน์ ที่มีการซื้อขายเหรียญออนไลน์มากมาย และมีปริมาณการเทรดสูง โดยเปิดให้บริการในหลายประเทศ โดยได้รับความนิยมในการใช้งานโดยผู้ใช้ในโลกและมีระบบป้องกันปัญหาความปลอดภัยที่ดี

  • Binance เป็นแพลตฟอร์มค้าขายสกุลเงินคริปโตที่ไม่ใช่เพียงแค่เพียงแค่ Bitcoin เพียงแค่นั้น
  • แต่ว่าเกี่ยวเนื่องถึงสกุลเงินดิจิตอลอื่นกว่าร้อยจำพวก ด้วยบริการที่มากมายครอบคลุมระบบนิเวศน์ของเหรียญคริปโตกว่า 10 แบบ
  • Binance ก็นับเป็นตัวกึ่งกลางแลกสกุลเงินดิจิตอลที่ใหญ่ที่สุดของโลกเมื่อวัดด้วยจำนวนการค้าขาย
  • ปัจจุบันนี้ binance มีจำนวนการค้าขายเฉลี่ย 2 พันล้านดอลลาร์ต่อชั่วโมง ด้วยจำนวนธุรกรรม 1,400,000 ครั้งต่อวินาที แล้วก็มีการให้บริการแบบ 24×7 คือไม่มีการพักกันเลย

หลอกให้ลงทุน binance

4 หลอกให้ลงทุน binance

จากข้อมูลข่าวมีผู้เสียหายกว่า 20 คน นำเอกสารหลักฐาน  ยื่นเรื่องถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ  หลังถูกหลอกให้ร่วมลงทุน binance มูลค่าความเสียหายกว่า 46 ล้านบาท มีผู้เสียหายเกือบ 50 คน 

  • หนึ่งในผู้เสียหาย เปิดเผยว่า ก่อนเริ่มลงทุนมีการพูดคุยกับผู้ชักชวนผ่านแอปพลิเคชันหาคู่และมีการพูดคุยสร้างความสัมพันธ์ ให้เกิดความน่าเชื่อถือ 
  • ก่อนจะถูกชักชวนร่วมลงทุน binance ซึ่งเป็นพอร์ตการลงทุนสกุลเงินดิจิทัล อ้างว่าได้ผลตอบแทนสูง 
  • โดยผู้ชักชวนจะส่งลิ้งค์ให้ผู้เสียหายเข้าไปเทรดสกุลเงินต่างประเทศ  เหมือนการลงทุนทั่วไป ผู้เสียหายแต่ละคนจะได้ลิ้งค์ที่แตกต่างกัน 
  • ซึ่งผลตอบแทนก็จะแตกต่างกันด้วยขึ้นอยู่กับเงินต้นทุนที่ได้ลงทุนไป ต่อมา เมื่อเห็นว่าได้ผลตอบแทนจริง  จึงตัดสินใจลงทุนเพิ่ม 
  • หลังจากที่ลงทุนเพิ่มไปแล้วกลับไม่ได้ผลตอบแทนตามที่ตกลงกัน ผู้เสียหายบางคนได้ติดต่อไปยังผู้ชักชวนลงทุน แต่กลับไม่ได้คำตอบ 
  • จึงเข้าแจ้งความ โดยก่อนหน้านี้ได้เข้าแจ้งความไปแล้ว แต่คดีไม่มีความคืบหน้า จึงเดินทางมาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเร่งรัดดำเนินคดีตามกฎหมาย

คริปโต คืออะไร

สกุลเงินดิจิทัล หรือ คริปโตเคอร์เรนซี คือ สินทรัพย์ ประเภทหนึ่งที่มีการรักษาความปลอดภัยด้วยการเข้ารหัส ที่ถูกออกแบบมา เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเช่นเดียวกับสกุลเงินทั่วไป เพียงแต่ไม่สามารถจับต้องได้

  • แม้ว่าตอนนี้คริปโต จะยังไม่สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายดังเช่นสกุลเงินทั่วไป
  • แต่ก็มีธุรกิจหลายแห่งเริ่มมีการนำเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับคริปโตมาใช้เพื่อปรับตัวรับโลกการเงินที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไป เช่น การรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยบิตคอยน์ หรือสกุลเงินดิจิทัลอื่น ๆ

ประโยชน์ของ Cryptocurrency

  1. ทำธุรกรรมได้ง่ายและรวดเร็ว
  2. ต้นทุนในการทำธุรกรรมต่ำ
  3. มีความปลอดภัยและเป็นส่วนตัว
  4. ความโปร่งใสเหนือกว่า
  5. ป้องกันความเสี่ยงเงินเฟ้อ
  6. เปิดชื้อขายตลอด 24 ชั่วโมง

หลอกให้ลงทุน คริปโต

การลงทุนที่ได้รับความนิยมคงหนีไม่พ้น ตลาดคริปโตเคอเรนซี หรือ ที่รู้จักกัน ในชื่อ คริปโต อย่างแน่นอน ในความนิยมนี้ อีกทางหนึ่งก็เป็นเหมือนประตูที่กำลังเปิดโอกาสให้กับมิจฉาชีพเข้ามาหลอกลวงได้ เพื่อให้ทราบถึงกลโกงในวิธีการต่าง ๆ และเช็กให้ดีก่อนการลงทุนไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

ควรทำดังนี้

  • ทำความรู้จักผ่านสื่อโซเซียลมีเดีย หลังจากคุยและสร้างความสนิทสนมแล้วเริ่มชักชวนให้ลงทุน
  • แนะนำให้รู้จักผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนในเหรียญคริปโตเคอเรนซี โดยอาจแอบอ้างโดยใช้ชื่อและรูปของบุคคลอื่นมาสร้างโปรไฟล์ให้มีความน่าเชื่อถือ โดยบุคคลที่คนร้ายนำรูปและชื่อมาแอบอ้างนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลสาธารณะที่มีชื่อเสียงหรือมีความรู้ด้านการลงทุน พร้อมสร้างเว็บเทรดปลอมเพื่อหลอกให้น่าสนใจ
  • โน้มน้าวให้ผู้เสียหายเปิดบัญชีเพื่อทำการเทรดเหรียญ
  • ใช้กลอุบายอ้างว่าหากจะถอนเงินกำไรต้องโอนเงินเข้าบัญชีที่เปิดไว้สำหรับการเทรด ก่อน เมื่อหลงเชื่อก็จะสูญเงินที่โอนเข้าไปในจำนวนไม่น้อย

หลอกลงทุนออนไลน์

5 หลอกลงทุนออนไลน์

วิธีการสังเกตมิจฉาชีพหลอกลงทุนออนไลน์

การแอบอ้างชื่อผู้มีชื่อเสียง

  • บริษัทเอกชนหรือใช้ภาพหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนเพื่อชักชวนให้ลงทุน
  • โดยมิจฉาชีพจะมีการแอบอ้างนำชื่อหรือรูปภาพของศิลปิน ดารา นักธุรกิจชื่อดังต่างๆมาแอบอ้างเพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้คนร่วมลงทุนผ่านระบบไลน์ออฟฟิเชียล หรือเพจเฟซบุ๊ก และช่องทางอื่นๆ

การชักชวนลงทุนโดยโฆษณาว่าได้รับผลตอบแทนสูง

  • ส่วนมากเพจเหล่านี้มักมีการโฆษณาชักชวนโดยอ้างว่าจะได้รับผลตอบแทนสูง
  • เป็นอีกรูปแบบที่ทำให้มีผู้หลงเชื่อเป็นจำนวนมากเพราะคาดหวังในผลตอบแทนดังกล่าว เช่น เงินลงทุน 5,000 บาท ได้รับผลกำไรกว่าร้อยละ 30 เป็นต้น

ให้โอนเงินเข้าบัญชีส่วนตัว

  • โดยส่วนใหญ่แล้วมิจฉาชีพจะใช้ ” บัญชีม้า ” ซึ่งเป็นบัญชีที่ถูกซื้อมาจากคนที่รับเปิดบัญชีขาย

ไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลบริษัทได้

  • การลงทุนหุ้นหรือสินทรัพย์ที่ต้องใช้เงินในการลงทุน ควรจะลงทุนผ่านบริษัทที่ ก.ล.ต. กำกับและตรวจสอบได้และมีตัวตนจริง
  •  ผู้ลงทุนสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเองผ่าน โดยตรวจสอบได้ที่ www.sec.or.th/licensecheck ตรวจสอบผ่านแอปพลิเคชัน SEC Check First ที่จะรวบรวมรายชื่อผู้ให้บริการในตลาดทุนที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

การป้องกันการถูกลวงลงทุนออนไลน์

  • อย่าเพิ่งรีบตัดสินใจลงทุน หากมีความสนใจควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการลงทุนให้ถี่ถ้วนเสียก่อน
  • ตรวจสอบก่อนลงทุน โดยต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป็นบริษัทที่มีตัวตนจริงและไม่มีเจตนาหลอกลวง โดยสามารถตรวจสอบได้ผ่านโดยตรวจสอบได้ที่ www.sec.or.th/licensecheck หรือผ่านแอปพลิเคชัน SEC Check First 
  • ห้ามฝากเงินหรือโอนเงินลงทุนเข้าบัญชีส่วนตัวของบุคคลธรรมดา โดยเฉพาะบุคคลที่มาชักชวนลงทุน หรืออ้างว่าเป็นตัวแทนบริษัทลงทุน
  • สังเกตสัญญาณเตือนภัยกลโกงจากข้อเสนอการลงทุน เช่น ลักษณะผลตอบแทนที่ดูดีเกินไป รับประกันผลตอบแทน เร่งรัดให้ตัดสินใจลงทุน ดึงดูดใจด้วยสินทรัพย์ใหม่ ๆ เป็นต้น

หลอกลงทุนออนไลน์ รวมคดีทั้งหมด

ข้อมูลข่าวสารการโกงที่ 1

  • หัวข้อข่าว >>> ตำรวจขยายผลจับเครือข่ายผู้ก่อเหตุครบ 10 คน คดีเด็กชายอายุ 15 ปี ฆ่าตัวตายเสียชีวิตเพราะถูกหลอกลวงให้ขายของออนไลน์ หลังออกหมายจับ 11 หมายจับ
  • เนื้อหาของข่าว >>> ตำรวจกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือตำรวจไซเบอร์ สอบปากคำกลุ่มผู้ต้องหา ที่เป็นทั้งผู้รับเปิดบัญชีม้า เจ้าของบัญชีอินสตาแกรม รวมทั้งหมด 9 คน
  • ที่ควบคุมตัวจากการแกะรอยเส้นทางการเงิน ในคดีหลอกลวงให้เด็กชายอายุ 15 ปี ดูโฆษณาผ่าน YouTube เพื่อหารายได้พิเศษ
  • โดยหลอกให้ลงทุนซื้อสินค้า 10 ชิ้น วางขายออนไลน์เก็งกำไร อ้างว่าจะได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่า ทำให้เด็กหลงเชื่อและนำเงินของผู้ปกครองมาร่วมลงทุน ความเสียหายประมาณ 14,000 บาท แต่ไม่ได้รับผลตอบแทนตามอ้าง เด็กจึงเสียใจและฆ่าตัวตาย
  • คดีนี้ตำรวจ สอท.รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อขอศาลฯ ออกหมายจับ 11 หมายจับ เป็นกลุ่มบัญชีม้าที่รับโอนเงิน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
  • โดยจับผู้ต้องหาครบแล้ว ประกอบด้วย บัญชีม้า 6 คน พ่อค้ารับแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัล 2 คน ซึ่งทั้ง 2 คนนี้รับว่ามีเงินเข้ามาผ่านบัญชีจริง แต่รายละเอียดอยู่ระหว่างการขยายผลเพิ่มเติม
  • นอกจากนี้ ตำรวจยังจับเจ้าของบัญชีอินสตาแกรมที่โพสต์ข้อความเชิญชวน 1 คน และขยายผลจับคนกดเงินที่ฝั่งประเทศเพื่อนบ้านได้เพิ่มอีก 1 คน
  • ขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก https://mgronline.com/local/detail/9650000081395

ข้อมูลข่าวสารการโกงที่ 2

  • หัวข้อข่าว >>> แฉ! บริษัทหลอกลงทุนเหมืองคริปโตฯ ทำเหยื่อสูญพันล้านทุนจดทะเบียนแค่ 5 แสน-ลือสนั่นภรรยา ตร.ระดับนายพลโดนตุ๋นด้วย
  • เนื้อหาของข่าว >>> ความคืบหน้ากรณีกลุ่มผู้เสียหายนำเอกสารหลักฐานทยอยเข้าพบเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่ศูนย์ปฏิบัติการพิเศษเขตพื้นที่ 5 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
  • เพื่อร้องขอให้รับเป็นคดีพิเศษและดำเนินการตามกฎหมายต่อบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ที่อ้างว่าดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล หรือคริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) และทำเหมืองขุด Bitcoin
  • โดยผู้เสียหายเชื่อว่าถูกหลอกให้ร่วมลงทุนกับบริษัทดังกล่าว ซึ่งแต่ละรายได้รับความเสียหายตั้งแต่ 30,000 บาท ไปจนถึง 100,000 บาท อีกทั้งมีอีกหลายรายที่ได้รับความเสียหายหลักล้านบาท และเตรียมจะเข้าร้องต่อเจ้าหน้าที่ต่อไป มูลค่าความเสียหายรวมกันน่าจะนับพันล้านบาท 
  • เบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่ได้รับเรื่องเอาไว้ พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายรายอื่นๆ นำหลักฐานเข้าร้องเพิ่มเติมได้
  • จากนั้นจะรวบรวมข้อมูลเพื่อพิจารณาว่าเข้าหลักเกณฑ์ในการรับดำเนินการเป็นคดีพิเศษหรือไม่
  • รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับบริษัทดังกล่าวนั้นมีข้อมูลระบุว่าจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดเมื่อปี 2562 ด้วยทุนจดทะเบียน 500,000 บาท
  • ระบุวัตถุประสงค์ในการจดทะเบียนว่าประกอบกิจการรับจ้าง ออกแบบพัฒนาเว็บไซต์ รับจดทะเบียนชื่อโดเมน
  • ต่อมาในปี 2565 เพิ่งจดทะเบียนเป็นบริษัท ด้วยเงินทุนจดทะเบียน 500,000 บาท ระบุวัตถุประสงค์ตอนจดทะเบียนว่าประกอบกิจการรับจ้าง ออกแบบพัฒนาเว็บไซต์ รับจดทะเบียนชื่อโดเมน บริการเช่าพื้นที่บนคอมพิวเตอร์ 
  • อย่างไรก็ตามเจ้าของผู้ก่อตั้งบริษัทที่ชักชวนคนให้ร่วมลงทุนมักจะอ้างว่าทำการลงทุนเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลและใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทำเหมืองขุดเหรียญคริปโตเคอร์เรนซี
  • พร้อมมีการโพสต์เรื่องราวและภาพการใช้ชีวิตหรูหรา ทั้งรถสปอร์ตซูเปอร์คาร์ ผลกำไรจากการลงทุน และการทำธุรกิจ
  •  ซึ่งได้มีการเปิดให้ผู้อื่นร่วมลงทุนตั้งแต่ปี 2563 จนกระทั่งช่วงหลายเดือนที่ผ่านมานี้เริ่มเกิดปัญหาในการจ่ายเงินปันผลให้ผู้ร่วมลงทุน และนำมาสู่การรวมตัวกันของกลุ่มผู้เสียหายเข้าร้องขอความเป็นธรรมต่อทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ
  • โดยในส่วนของผู้ก่อตั้งบริษัทนั้น ล่าสุดพบว่ายังคงมีการเคลื่อนไหวผ่านทางโซเชียลมีเดียอ้างว่าไม่ได้หลบหนีและกำลังพยายามแก้ไขปัญหาเพื่อนำเงินมาให้ผู้ลงทุน พร้อมทั้งมีการประกาศขายรถหรู ระบุว่าต้องการนำเงินไปใช้หนี้
  • ขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก https://mgronline.com/local/detail/9650000081395

ข้อมูลข่าวสารการโกงที่ 3

  • หัวข้อข่าว >>>ครึ่งปีหลัง 65 เกิดคดีหลอกลงทุน-แชร์ลูกโซ่ เสียหายรวมหลายพันล้าน
  • เนื้อหาข่าว >>> ตลอดปี 2565 นอกจากข่าวแก๊งคอลเซ็นเตอร์ระบาดหลอกเงินประชาชนไปหลายล้านแล้ว ยังมีข่าวผู้เสียหายรวมตัวกันร้องเรียนเจ้าหน้าที่ว่าถูกแม่ข่าย-พ่อข่าย หลอกนำเงินไปลงทุนหุ้นบ้าง คริปโตบ้าง บ้านออมทองออมเงินบ้าง
  • ซึ่งคนที่รวยก็คือบรรดาพ่อข่ายแม่ข่าย ไม่ใช่คนที่นำเงินไปลงทุน และครึ่งปีหลังของ 2565 ก็มีข่าวลักษณะนี้เกิดขึ้นไม่เว้นเดือนเลย
  •  เดือน ธ.ค. 2565 กลุ่มผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่อเฟซบุ๊ก “เฟื่องโกลด์ ดังออมทอง ขายทองออนไลน์” ที่รวมตัวกันไปแจ้งความกับตำรวจกองปราบฯ หลังถูกร้านทองชื่อดังใน อ.เมืองสระบุรี ออกอุบายนำเงินมาร่วมลงทุนออมทองสร้างความเสียหายกว่า 700 ล้านบาท
  •  โดยเพจดังกล่าว โพสต์ข้อความลักษณะเชิญชวนให้นำเงินไปร่วมลงทุนออมทองได้ค่าตอบแทนสูง เช่น ลงทุนระยะสั้น 23,000 บาท ครบ 1 เดือน จะได้รับทองคำหนัก 1 บาท
  • นอกจากนี้ยังชักชวนให้เป็นตัวแทนหาสมาชิกมาร่วมลงทุนอีก ซึ่งจะได้ส่วนแบ่งค่าตอบแทน 300 บาทต่อการลงทุนทองคำ 1 บาท
  • โดยช่วงแรกได้รับทองคำหรือค่าตอบแทนจริง กระทั่งเดือน พ.ย. 2565 ร้านเริ่มไม่จ่ายค่าตอบแทน รวมทั้งส่งมอบทองคำให้กับผู้ลงทุน
  • เมื่อสอบถามก็บ่ายเบี่ยง พร้อมนัดหมายคืนเงินลงทุนแต่สุดท้ายกลับเงียบหายติดต่อไม่ได้ 
  • ส่วนเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. ที่ผ่านมา เป็นการจับกุมน้องมายด์ เน็ตไอดอล ที่ออกอุบายผ่านเฟซบุ๊กชวนระดมเงินลงทุนซื้อขายทองคำก่อนเชิดเงินหนี ความเสียหายกว่า 200 ล้านบาท
  • การจับกุมดังกล่าวเกิดขึ้นจากความร่วมมือของศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ PCT กับตำรวจจังหวัดสงขลา ที่นำกำลังติดตามจับกุม วรัญรภัสส์ หรือ มายด์ ที่ จ.สงขลา
  • ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ ที่ 2694/2565 ลงวันที่ 2 ธ.ค.65 ฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ
  • โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ ผู้อื่น หรือประชาชน จับกุมตัวได้ย่านถนนประชาราษฎร์ แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กทม.
  • โดยเรื่องเกิดเมื่อปี 2561 มายด์ วรัญรภัสส์ กับพวกร่วมกันหลอกลวงประชาชน ด้วยการตระเวนโฆษณาผ่านเฟซบุ๊ก ชักชวนให้คนทั่วไปมาร่วมลงทุนซื้อขายทองคำแท่ง กล่าวอ้างว่ามีทองคำแท่งราคา ต่ำกว่าท้องตลาด มีการขายเอากำไรเป็นทอดๆ ช่วงแรก ได้กำไรจากเงินส่วนต่างจริง
  • จากนั้นเมื่อผู้เสียหายเกิดความเชื่อใจ จึงใช้อุบายหลอกลวงเพื่อให้ผู้เสียหายระดมเงินมาลงทุนก้อนใหญ่ ก่อนเชิดเงินหนีรวมความเสียหายกว่า 200 ล้านบาท คดีนี้มีผู้เสียหายแจ้งความดำเนินคดีไว้หลายแห่งทั่วประเทศ
  •  เดือนพ.ย. 2565 กองบังคับการปราบปราม เข้าจับกุม พัชรีภรณ์ อายุ 24 ปี ตามหมายจับศาลจังหวัดเลย ที่ 233/2565 ลง 26 ต.ค. 2565
  • ข้อหา “ร่วมกันกู้ยืมที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน, ร่วมกันฉ้อโกงโดยการหลอกลวงจากการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ” ได้ที่ บริเวณคอนโดมิเนียมแห่งหนึ่งในพื้นที่เมืองพัทยา อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
  • สืบเนื่องจากเมื่อปี 2562 พัชรีภรณ์ ผู้ต้องหารายนี้ได้มีพฤติกรรมตั้งตนเป็นเท้าแชร์รายใหญ่ ชักชวนผู้คนให้นำเงินมาร่วมลงทุน อ้างว่าได้รับค่าตอบแทนสูง ช่วงแรกมีการจ่ายเงินค่าตอบแทนให้จริง
  • ทำให้มีผู้หลงเชื่อนำเงินมาร่วมลงทุนเป็นจำนวนมาก จนมีเงินหมุนเวียนในวงแชร์รวมกว่า 30 ล้านบาท
  • ต่อมาเมื่อวงแชร์เริ่มมีสมาชิกเพิ่มมากขึ้น น.ส.พัชรีภรณ์ เกิดหมุนเงินไม่ทัน ทำให้ไม่มีเงินจ่ายค่าตอบแทนให้กับสมาชิก จึงมีการเข้าแจ้งความตามท้องที่ต่างๆ กระทั่งมีการออกหมายจับและนำมาสู่การตามจับกุมตัวได้ดังกล่าว
  • ขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก https://theopener.co.th/node/1516

ข้อมูลข่าวสารการโกงที่ 4

  • หัวข้อข่าว >>> มันนี่โค้ชทรงเอ หลอกลงทุนแชร์คริปโต อ้างกำไรวันละ 1% ล่าสุดหายตัวแล้ว
  • เนื้อหาข่าว >>> กรณีล่าสุดที่กำลังเป็นข่าวในโลกออนไลน์คือ กรณีนักธุรกิจหลอกลงทุนแชร์ลูกโซ่คริปโตชักชวนผู้เสียหายลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลอ้างสามารถทำกำไรได้วันละ 1% แต่ตอนนี้เหมือนวงแชร์แตก เจ้าของหายตัวปริศนา เงินที่คนไปฝากลงทุนหายตามไปด้วย
  • โดยที่เพจ Drama-addict โพสต์ข้อความว่า “ล่าสุดมีข่าวว่ามันนี่โค้ชทรงเอ ที่รับฝากเทรดคริปโต อ้างว่ากำไรวันละ 1% หอบเงินหนีไปละ ผสห(ผู้เสียหาย) ควานหาตัวให้ควั่ก
  • มีเงินเทรดคริปโต เรียกตัวเองว่านักลงทุน แต่กล้าเอาเงินไปฝากคนทรงเอ อนาถสัส เคสนี้ขออนุญาต สมน้ำหน้าอย่างเดียวครับ” แต่มีรายงานว่า มันนี่โค้ชคนนี้เคลื่อนไหวผ่านเฟซบุ๊กอ้างว่าตัวเองก็ถูกหลอกใช้ให้เป็นแพะ 
  • ขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก https://theopener.co.th/node/1516

หลอกให้ลงทุน ถูกหลอกต้องทำยังไง

สิ่งที่ต้องเตรียมเพื่อร้องเรียนหากหลงกลมิจฉาชีพ

  • สำเนาบัตรประชาชนพร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง
  • หลักฐานแสดงความเสียหาย เช่น สลิปการโอนฝากเงินลงทุน บัญชีของมิจฉาชีพ เป็นต้น
  • หลักฐานประกอบอื่นๆ เช่น เขียนรายงานอธิบายเหตุการณ์ที่เกิด ภาพแคปช่องแชทบทสนทนากับมิจฉาชีพและข้อมูลอื่นๆที่ผู้ร้องเห็นว่าสามารถใช้เป็นหลักฐานแนบได้ เป็นต้น
  • หากผู้บริโภคได้รับความเสียหายจากกรณีลวงลงทุนออนไลน์ ผู้บริโภคสามารถแจ้งดำเนินคดีได้กับสถานีตำรวจในพื้นที่และแจ้งตำรวจไซเบอร์ได้ทางเว็บไซต์ https://www.thaipoliceonline.com/ หรือโทร 1441
  • ร้องเรียนเข้ามายังสภาองค์กรของผู้บริโภคได้ตามช่องทางด้านล่าง เพื่อที่ทาง สภาฯ จะดำเนินการประสานเรื่องร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาของผู้บริโภคต่อไป

ช่องทางการติดต่อและร้องเรียน

  1. ร้องเรียนออนไลน์ผ่าน ระบบ TCC Online Center สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.)
  2. อีเมล : complaint@tcc.or.th  
  3. โทรศัพท์ : 02 239 1839 กด 1
  4. ไลน์ออฟฟิเชียล (Line Official) : @tccthailand คลิกลิงก์ https://lin.ee/uhDyO1U 
  5. เฟซบุ๊กอินบ็อกซ์ (Facebook Inbox) : สภาองค์กรของผู้บริโภค