กรมธรรม์ประกันภัยคืออะไร มีอะไรบ้าง ตารางกรมธรรม์ประกันภัยคืออะไร ใบกรมธรรม์รถยนต์ คืออะไร หายทำอย่างไร

กรมธรรม์ประกันภัยคืออะไร มีอะไรบ้าง

ปัจจุบันการทำประกันภัยได้เข้ามามีบทบาทกับคนเราทั้งในด้านการดำรงชีวิตและการดำเนินธุรกิจ ให้ความคุ้มครองทำให้เกิดความมั่นใจในชีวิตและทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัย เพราะช่วยบรรเทาความเดือดร้อน เป็นหลักประกันต่อบุคคลและครอบครัวของผู้เอาประกันภัย การออมทำให้มีเงินไว้ใช้ยามฉุกเฉินและยามชรา การทำประกันภัยเกี่ยวกับประกันวินาศภัยก็เช่นกัน ก่อนที่จะทำประกันภัยเรามาทำความรู้จักกับกรมธรรม์ประกันภัย” ในบทความนี้เลยจ้า

กรมธรรม์ประกันภัยคืออะไร

เมื่อทำประกันแล้ว สิ่งหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบของการทำประกัน ก็คือ กรมธรรม์ กรมธรรม์ประกันภัยเป็นเอกสารที่ระบุข้อมูลและสิทธิประโยชน์ของประกันภัย ซึ่งมีประโยชน์ในการปกป้องทรัพย์สินและความเสียหายของบุคคลหรือองค์กร โดยกรมธรรม์ประกันภัยจะระบุรายละเอียดสิ่งที่ประกัน วิธีการเคลม และข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆ

  • ซึ่งเป็นเอกสารอย่างหนึ่ง ที่ทางบริษัทประกันภัยจะมอบให้แก่เรา เปรียบเสมือนเครื่องยืนยัน ที่เราจะได้รับความคุ้มครองจากบริษัทประกัน
  • กรณีเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นบริษัทประกัน จะต้องจ่ายค่าเสียหายทดแทน ให้กับผู้เอาประกัน ตามจำนวนเงินที่ระบุเอาไว้ ในใบกรมธรรม์
  • หลังจากที่ผู้เอาประกัน ได้ทำการตกลงทำตามข้อสัญญา กับทางบริษัทประกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้เอาประกัน จะต้องมีการจ่ายค่าตอบแทน ให้กับผู้รับประกัน ซึ่งก็คือบริษัทประกัน ตามจำนวนเงินในสัญญาภายในกรมธรรม์
  • เมื่อเกิดอุบัติเหตุ บาดเจ็บ เสียทรัพย์ ไปจนถึงเสียชีวิต บริษัทประกัน จะทำการวิเคราะห์เหตุการณ์ และตีค่าออกมาเป็นตัวเงินก่อนจะชดเชยให้กับผู้เอาประกัน หรือผู้รับผลประโยชน์ ตามจำนวนเงินในเงื่อนไขภายในกรมธรรม์
  • ตามพระราชบัญญัติประกันภัย พ.ศ. 2535 กรมธรรม์ เป็นเอกสารที่ผู้รับประกัน จะต้องออกให้ผู้เอาประกันถือไว้เป็นหลักฐาน

กรมธรรม์ประกันภัย มีอะไรบ้าง

กรมธรรม์ประกันภัยประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้

สัญญาหลัก

สัญญาหลัก ก็คือส่วนที่ทำหน้าเกี่ยวกับการคุ้มครองชีวิต และเงินคืน สัญญาหลักมีหลายแบบแต่ละแบบเรียกว่า แบบประกัน แต่ละแบบประกันคุณสามารถเลือก ทุนประกัน ได้ตามความต้องการว่าให้คุ้มครองเท่าไร ทุนประกันก็คือวงเงินที่จะชดเชยมูลค่าชีวิต หรือเงินคืน โดยแบบประกันมี 3 แบบดังนี้

แบบสะสมทรัพย์

  • เน้นออมเงินซึ่งมีหลายแบบแล้วแต่ว่าจะแบ่งสัดส่วนของความคุ้มครองชีวิตกับ การเก็บออมให้คืนเท่าไร

แบบตลอดชีพ

  • เน้นเรื่องความคุ้มครองเป็นหลักบางแบบอาจจะมีเงินคืนให้บ้างแล้วแต่ว่าจะเป็นสัดส่วนเท่าไร

แบบอื่นๆ

  • ได้แก่แบบ บำนาจ แบบผสมอื่นๆ
  • ปัจจุบัน มีการออกแบบประกันใหม่ๆมาเพื่อให้ตรงตามความต้องการของลูกค้ามากขึ้นและ เพื่อความอยู่รอดของบริษัทประกัน

สัญญาย่อย

สัญญาย่อย หรืออนุสัญญาก็คือส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการจ่ายชดเชยความเสียหายนอกเหนือจากสัญญาหลัก เราสามารถซื้อเฉพาะส่วนของสัญญาหลักอย่างเดียวได้แต่ไม่สามารถซื้อสัญญาย่อยอย่างเดียวได้ เพราะขายพร้อมทุนประกันชีวิตเท่านั้น โดยมีส่วนประกอบดังนี้

  1. อบ.1 คืออุบัติเหตุธรรมดาซื้อได้ไม่เกิน 5 เท่าทุนประกัน  สำหรับแม่บ้าน พระ นักเรียน เด็ก และผู้ไม่มีรายได้ประจำ มีรายละเอียดดังนี้
    • เสียชีวิต 100%
    • สูญเสียมือ เท้า สายตาทั้ง2 ข้างหรืออย่างใดอย่างหนึ่งรวมกัน2อย่าง ขึ้นไป 100%
    • สูญเสียมือ เท้า สายตาอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงข้างเดี่ยว 60%
    • สูญเสียหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมือข้างเดียวกัน 25%
  2. อบ.2 คืออุบัติเหตุพิเศษ ซื้อได้ไม่เกิน 5เท่าทุนประกันสำหรับผู้มีรายได้ประจำ มีรายละเอียดดังนี้
    • เสียชีวิต 100%
    • สูญเสียมือ เท้า สายตาทั้ง 2 ข้างหรืออย่างใดอย่างหนึ่งรวมกัน 2 อย่าง ขึ้นไป 100%
    • สูญเสียมือ เท้า สายตาอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงข้างเดียว 60%
    • สูญเสียหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมือข้างเดียวกัน 25%
    • ทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวรรับเงินเลี้ยงชีพรายปีไม่เกิน10 ปี ปีละ 10%
    • ค่าชดเชยการรักษาพยาบาลผู้ป่วยในของโรงพยาบาลไม่เกิน 20 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 0.3%
    • ประกอบอาชีพไม่ได้สิ้นเชิงชั่วระยะเวลาหนึ่งรับเงินทดแทนไม่เกิน 52 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 0.6%
    • ประกอบอาชีพไม่ได้บางส่วนรับเงินทดแทนไม่เกิน 52 สัปดาห์ สัปดาห์ละ  0.2%
    • อุบัติเหตุทวีผล รถไฟ รถโดยสารประจำทาง ลิฟท์ ไฟไหม้โรงมหรสพ โรงแรม อาคารสาธารณะ ได้ความคุ้มครองเพิ่มเป็น 2 เท่า
  3. อบ.3 คือค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุ (OPD,IPD) ซื้อได้สูงสุด วงเงิน 200,000 ทั้งนี้ขึ้นกับวงเงินสัญญาหลักที่มี มีรายละเอียดดังนี้
    • ได้รับบาดเจ็บจนต้องรับการรักษาจากแพทย์
    • รักษาในโรงพยาบาล หรือ คลินิก
    • ต้องจ้างพยาบาลที่มีใบอนุญาตตามกฎหมายเพื่อให้การพยาบาล บริษัทจ่ายชดเชยตามจ่ายจริง ไม่เกินวงเงินที่ซื้อไว้
  4. สภ. คือการประกันภัยสุขภาพ จ่ายค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินที่ซื้อไว้ระยะเวลารอคอย 30 วัน มีรายละเอียดดังนี้
    • กรณีผู้เอาประกันเข้ารักษาตัวฐานะผู้ป่วยในหรือประสบอุบัติเหตุ
    • ค่าห้อง
    • ค่าห้องผ่าตัด
    • ค่าดูแลโดยแพทย์
    •  ค่าผ่าตัดตามที่จ่ายจริง
    •  ค่าใช้จ่ายทั่วไป
    • ค่าวินิจฉัยโรคผู้ป่วยนอก
    • ค่าวางยาสลบตามที่จ่ายจริง
    • กรณีผู้เอาประกันประสบอุบัติเหตุฐานะผู้ป่วยนอกฉุกเฉินของโรงพยาบาล ภายใน 72 ชม ตั้งแต่เกิดอุบัติเหตุ
  1. รพ.(ปร) คือค่าชดเชยรายได้ต่อวัน ระยะเวลารอคอย 30วัน
  2. รร. คือคุ้มครองโรคร้ายแรงและมรณกรรม คุ้มครองหลังจากอนุมัติในกรมธรรม์ 90 วัน มีรายละเอียดดังนี้
    • ถ้าผู้เอาประกันได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง บริษัทจะจ่ายทุนประกันตามสัญญา รร.
    • ถ้าผู้เอาประกันเสียชีวิตเนื่องจากโรคภัย อุบัติเหตุ หรือผลจากการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง บริษัทจะจ่ายทุนประกันตามสัญญา รร.
  3. ทพ. คือทุพพลภาพ ยกเว้นเบี้ยประกันกรณีทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวรแบบแถมฟรี
  4. กรณีผู้เอาประกันทุพพลภาพโดยสิ้นเชิงถาวรเนื่องจากอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย บริษัทจะยกเว้นเบี้ยประกันชีวิต
  5. ฉก. คือเฉพาะกาล ซื้อพ่วงในกรมธรรม์ของผู้เยาว์
    • บริษัทจะจ่ายทุนประกันชีวิตเฉพาะกาลให้ทันทีกรณีตายในระยะเวลาประกัน
  1. ฉป. คือเฉพาะกาลผู้ปกครอง บริษัทจะจ่ายทุนประกันชีวิตเฉพาะกาลให้ทันทีกรณีตายในระยะเวลาประกัน
  2. คช. คือคุ้มครองการชำระเบี้ย บริษัทจะจ่ายเบี้ยประกันชีวิตทั้งหมด ที่เหลือจนผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ
  3. มพ. คือมีผลประโยชน์พิเศษ เป็นตัวที่ทำหน้าที่ เกี่ยวกับเรื่องเงินจ่ายคืนไม่เกี่ยวกับ ชีวิตหรือ คุ้มครองอะไรทั้งสิ้น

ทั้งหมดนี้ก็คือรายละเอียดต่างๆที่เป็นส่วนประกอบในกรมธรรม์ประกันภัย หากคุณกำลังคิดที่จะซื้อประกันภัยควรศึกษารายละเอียดต่างๆให้ดีเพื่อที่จะเป็นประโยชน์ก่อนที่คุณจะซื้อ

ตารางกรมธรรม์ประกันภัยคืออะไร

ตารางกรมธรรม์ประกันภัยคืออะไร

ตารางกรมธรรม์ประกันภัย คือเอกสารที่แสดงรายละเอียดของประกันภัยที่ซื้อไป ซึ่งจะแสดงข้อมูลเช่น รายการประกัน ประเภทประกัน วันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดของประกัน สิ่งที่ประกัน และค่าเบี้ยประกันต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจ และติดตามสถานะประกันภัยของตัวเองได้อย่างชัดเจน โดยมีส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 สรุปข้อมูล

  • ส่วนนี้สำคัญ เป็นตัวสรุปทุกอย่างว่าเราทำประกันอะไร จะเป็นส่วนที่อยู่ในหน้าแรก เมื่อเปิดเอกสารกรมธรรม์ขึ้นมา 
  • ส่วนบน จะมีรายละเอียด เช่น ชื่อ-นามสกุล อายุขณะที่ทำประกันของผู้ทำประกัน ผู้ที่ได้รับความคุ้มครอง เลขที่กรมธรรม์  แบบประกันภัยว่าทำแบบไหน วันที่ทำสัญญา และครบสัญญา ระยะเวลาเริ่มต้นความคุ้มครองและวันที่สิ้นสุด 
  • จุดที่น่าสังเกตอีกจุดคือ จะมีการระบุว่ากรมธรรม์เล่มนี้ สามารถแจ้งยกเลิกได้ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับกรมธรรม์ หรือวันที่เซ็นรับกรมธรรม์ ไม่ใช่นับจากวันที่กรมธรรม์ถูกพิมพ์ออกมา 
  • ส่วนล่าง เป็นตารางผลประโยชน์และเบี้ยประกันภัย  ระบุประเภทของการคุ้มครอง เช่น เป็นการคุ้มครองชีวิต มีสัญญาเพิ่มเติมเรื่องใดบ้าง จำนวนเงินเอาประกันภัยหรือผลประโยชน์ เบี้ยประกันภัย จำนวนปีที่ต้องชำระ 

ส่วนที่ 2 ผลประโยชน์และความคุ้มครอง

  • จะมีการระบุผลประโยชน์ต่างๆ ให้เข้าใจอย่างง่าย เพื่อที่จะบอกว่า เราจะได้ความคุ้มครองที่เท่าไหร่
  • กรณีเสียชีวิต หรือกรณีมีชีวิต จะมีผลประโยชน์หรือเคลมอะไรได้บ้าง
  • เงื่อนไขต่างๆ ที่บริษัทจะไม่รับคุ้มครอง เช่น กรณีไม่เปิดเผยความจริง หรือฆ่าตัวตายภายใน 1 ปี เป็นต้น 

ส่วนที่ 3 ตารางมูลค่ากรมธรรม์ประกันภัย

  • หลายๆคนอาจจะสงสัยที่หน้านี้ เพราะมีตัวเลขตาราง และต้องมีการคำนวน บางคนก็ไม่เข้าใจคำศัพท์ ว่าแปลว่าอะไร หมายถึงอะไร คำนวนอย่างไร 
  • ข้อสังเกตแรกตรงหัวตาราง คือ การคำนวนจะเป็นตัวเลขต่อทุนประกัน 1,000 บาท ถ้ากรมธรรม์มีทุนประกัน 100,000 บาท ซึ่งคิดเป็น 100 เท่าของ 1,000 แปลว่าตัวเลขแต่ละตัวในตารางให้คูณด้วย 100
  • การเวนคืนกรมธรรม์ คือ การที่ผู้เอาประกันภัยขอยกเลิกกรมธรรม์ โดยผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินตามมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ที่กำหนดอยู่ในตารางมูลค่ากรมธรรม์
  • โดยทั่วไปจะเริ่มมีมูลค่าเกิดขึ้นตั้งแต่สิ้นปีที่ 2 เป็นต้นไป หากขอเวนคืนแล้ว แปลว่า จะสิ้นสุดความคุ้มครองทุกอย่างทันที 

ส่วนประกอบ 3 ส่วนหลักนี้จะเป็นส่วนสำคัญ ที่จะช่วยในการอ่านกรมธรรม์ และเงื่อนไขต่างๆ ให้กับคนที่สนใจ และทำความเข้าใจแบบง่ายๆ เพื่อเป็นพื้นฐานให้กับผู้ทำประกันทุกคนในเล่มกรมธรรม์จะมีส่วนรายละเอียดเงื่อนไขอื่นอีกมากมาย ควรศึกษา และทำความเข้าใจ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับตัวเอง

ใบกรมธรรม์รถยนต์ คืออะไร

ใบกรมธรรม์รถยนต์ เป็นเอกสารประกันภัยสำหรับรถยนต์ ซึ่งระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการประกันภัยของรถ และรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ใช้งานรถเช่น ชื่อผู้ใช้งานรถ ที่อยู่และข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

  • การเข้าทำสัญญากับบริษัทประกันภัยรถยนต์คือ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ที่มีรายละเอียดในกรมธรรม์อีกหลายประการที่ผู้เอาประกันจะต้องทราบถึงสิทธิประโยชน์ หรือเกิดปัญหาตาม จะได้เข้าใจและสามารถเรียกร้องถึงสิทธิประโยชน์ได้
  • กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์เป็นข้อตกลงหรือเงื่อนไข ระหว่างผู้ทำประกันกับผู้รับทำประกัน
  • ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำประกันภัยรถยนต์ที่มาในรูปแบบของหนังสือ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการทำสัญญา
  • ซึ่งภายในหนังสือนั้นมีรายละเอียด เช่นความครอบคลุมของประกัน การเพิ่มลดค่าเบี้ยประกัน การจ่ายค่าสินไหมทดแทน เงื่อนไขการเวนคืนประกัน
  • ซึ่งผู้เอาประกันจะต้องรู้รายละเอียดเงื่อนไขข้างต้นแล้ว ผู้ทำประกันจะต้องเก็บรักษากรมธรรม์ไว้กับตัวเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันเวลาที่ขอยื่นเรื่องเอาประกัน

กรมธรรม์รถยนต์มีกี่ประเภท

กรมธรรม์รถยนต์มี 2 ประเภท คือ

  1. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
  • การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ เป็นการตกลงระหว่างผู้เอาประกัน และ บริษัทประกันภัย
  • โดยเป็นการเลือกซื้อความคุ้มครองประกันภัยตามความถึงพอใจของผู้ซื้อ
  • ซึ่งผู้เอาประกันทำด้วยความสมัครใจ ไม่ได้ถูกบังคับโดยกฎหมายแต่อย่างใด แบ่งออกเป็น 5 ประเภท โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1

  • กรมธรรม์ประกันรถยนต์ประเภท 1 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองมากที่สุด มากกว่าการประกันภัยรถยนต์ประเภทอื่น โดยมีความคุ้มครองหลักครบทั้ง 4 ประเภทดังนี้
  • คุ้มครองในส่วนของความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
  • คุ้มครองในส่วนของความเสียหายต่อตัวรถยนต์
  • คุ้มครองเกี่ยวกับความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  • คุ้มครองเรื่องการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์

กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2

  • กรมธรรม์ประกันรถยนต์ประเภท 2 คือการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองใกล้เคียงกับการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1
  • แตกต่างกันเพียงไม่มีความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถยนต์ โดยรายละเอียดความคุ้มครองมีดังนี้
  • คุ้มครองเรื่องความรับผิดชอบต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกัน
  • คุ้มครองส่วนที่เกี่ยวกับความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  • คุ้มครองเรื่องการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์

กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3

  • กรมธรรม์ประกันรถยนต์ประเภท 3 คือการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองน้อยกว่าการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 และ ประเภท 2
  • บริษัทประกันจะชดเชยค่าสินไหมทดแทนเฉพาะความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกโดยรายละเอียดความคุ้มครองมีดังนี้
  • คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรือ อนามัยของบุคคลภายนอก ผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกัน
  • คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 4

  • กรมธรรม์ประกันรถยนต์ประเภท 4 คือการให้ความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น
  • โดยคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก 100,000 บาทต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง

กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5

  • กรมธรรม์ประกันรถยนต์ประเภท 5 คือการคุ้มครองภัยเฉพาะที่พัฒนาใช้งานขึ้นมาภายหลัง แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้
  • แบบประกัน 2 พลัส (2+ )
    • คือการให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น 2 เพียงแต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
    • กรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น ต้องมีคู่กรณีด้วย ให้ความคุ้มครองดังนี้
  • คุ้มครองส่วนของความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายจอกและผู้โดยสารในรถ
  • คุ้มครองส่วนของความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น
  • คุ้มครองเรื่องการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
  • แบบประกัน 3 พลัส (3+)
    • คือการให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น 3 เพียงแต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
    • กรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณีให้ความคุ้มครองดังนี้
  • คุ้มครองส่วนที่เกี่ยวกับความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย อนามัยของบุคคลภายอนอก ผู้โดยสารในรถ
  • คุ้มครองส่วนของความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น
  • คุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  1. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ
  • กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่รู้จักกันก็คือ พ.ร.บ.
    • การประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535
    •  โดยกำหนดให้รถยนต์รวมถึงรถจักรยานยนต์ทุกคัน รวมถึงรถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องยนต์ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น ๆ ทุกชนิดที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก
    • ต้องทำประกันภัยรถตามกฎหมาย ทั้งนี้การที่รัฐออกกฎหมายกำหนดให้รถทุกคันต้องทำประกันภัย พ.ร.บ.
    • มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเพราะเหตุประสบภัยจากรถโดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลทันท่วงทีกรณีที่บาดเจ็บ
    • ช่วยเป็นค่าปลงศพในกรณีที่เสียชีวิต ทำให้เป็นหลักประกันให้โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลอย่างแน่นอน
    • เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยมามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือนร้อน ที่รัฐบาลมอบให้แก่ประชาชนผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุ หรือผู้ประสบภัยจากรถ

วิธีดูกรมธรรม์รถยนต์

กรมธรรม์รถยนต์จะเห็นว่ามีทั้งรายละเอียดและตัวเลขในใบกรมธรรม์รถยนต์หลายส่วน โดยมีรายละเอียดส่วนต่าง ๆ ดังนี้

รายละเอียดผู้เอาประกันภัย ผู้รับผลประโยชน์

  • เช็คดูว่าชื่อผู้เอาประกันถูกต้องหรือไม่ ส่วนผู้รับผลประโยชน์ คือ ผู้ที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย
  • ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นคนเดียวกับผู้เอาประกันภัย หรือ กรณีที่รถติดผ่อนอยู่ ชื่อผู้เอาประกันจะเป็นชื่อไฟแนนซ์
  • นอกจากนี้ระยะเวลาประกันภัย จะเริ่มคุ้มครองตั้งแต่ 00.01 น. ของวันที่ระบุไว้ ส่วนระยะเวลาสิ้นสุดประกันจะระบุวัน และเวลาเอาไว้

รายละเอียดรถ

  • เลขตัวถัง เป็นรายละเอียดสำคัญที่ต้องเช็คให้ถูกต้อง เพราะบริษัทประกันภัยจะใช้เลขนี้เป็นหลัก
  • ซึ่งหากเลขตัวถังผิดจะไม่สามารถขอเคลมประกันได้เลย

ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก

  • บุคคลภายนอกในที่นี้ คือ ทุกคนที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถของเรา ยกเว้นคนในครอบครัว
  • โดยจะต้องมีการเบิก พ.ร.บ.ก่อน หากเงินที่ได้รับไม่เพียงพอ บริษัทประกันภัยจะเป็นผู้ส่วนต่างเพิ่มเติม

ความคุ้มครองเกี่ยวกับตัวรถ

  • ทุนประกันหรือหรือค่าความเสียหายต่อรถจะคุ้มครองตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ จะจ่ายคืนก็ต่อเมื่อเกิดความเสียหายมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของค่าซ่อม
  • โดยยังแยกออกเป็น ความเสียหายส่วนแรก คือ ค่าเสียหายที่จะต้องจ่ายร่วม ซึ่งในที่นี้ไม่ได้ระบุเอาไว้ นั่นหมายความว่าหากเราเป็นฝ่ายผิด ก็ไม่ต้องร่วมจ่ายนั่นเอง
  • นอกจากนี้ในกรณีรถยนต์ สูญหายหรือเกิดอัคคีภัย บริษัทประกันภัยจะจ่ายให้ตามจำนวนเงินที่ระบุไว้

ความคุ้มครองตามเอกสารท้ายแบบ

  • เป็นการคุ้มครองคนภายในรถรวมไปถึงคนขับ โดยให้ความคุ้มครองตามระบุไว้ในเอกสาร ค่ารักษาพยาบาล
  • รวมไปถึงหากผู้ขับขี่และมีการดำเนินคดีบริษัท ประกันจะมาประกันตัวเรา โดยตามจำนวนเงินที่ระบุไว้

ใบกรมธรรม์รถยนต์หายทำอย่างไร

ซึ่งในกรณีที่เกิดเหตุ สิ่งแรกที่ควรต้องทำก่อนคือ โทรติดต่อบริษัทประกันให้มาดูความเสียหายในที่เกิดเหตุ และรับเอกสารใบเคลมจากพนักงานเคลม เพื่อนำไปเป็นหลักฐานในการแจ้งซ่อมต่อไป โดยทำตามขั้นตอนดังนี้

ติดต่อทางบริษัทประกันภัยรถยนต์โดยทันที

  • เมื่อรู้ตัวว่าใบเคลมหายสิ่งแรกที่เราต้องทำคือโทรไปติดต่อกับทางบริษัทประกันภัยโดยทันที
  • โดยการแจ้งนี้เราจะต้องแจ้งรายละเอียดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจุดที่เสียหาย วันที่เกิดเหตุ ลักษณะการเคลมให้ชัดเจน และตรงตามความจริง
  • ทั้งนี้ก็เพื่อการค้นหาหมายเลขเคลมได้ถูกต้อง

แจ้งความเอกสารหายที่สถานีตำรวจ

  • หลังจากที่ทางบริษัทประกันภัยได้แจ้งหมายเลขเคลมกับเราแล้ว
  •  ขั้นตอนต่อไปคือการไปแจ้งความที่สถานีตำรวจใกล้บ้านว่าเอกสารในการเคลมหาย
  • ซึ่งเราจะต้องให้ทางตำรวจระบุรายละเอียดอย่างชัดเจนด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น หมายเลขเคลม เลขทะเบียนรถ ยี่ห้อรถ รุ่น และรายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติม
  • ทั้งนี้ก็เพื่อนำไปเป็นหลักฐานในการยื่นขอสำเนาใบเคลมกับทางบริษัทประกันภัย

นำใบแจ้งความไปติดต่อขอสำเนาใบเคลมกับทางบริษัทประกันภัย

  • เมื่อเราได้เอกสารการแจ้งความจากทางตำรวจแล้ว เราจะต้องนำใบเอกสารการแจ้งความนี้ไปยื่นให้กับทางบริษัทประกันภัย
  • เพื่อเป็นการยืนยันหลักฐานว่าเราเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายและเป็นเจ้าของรถยนต์ที่ได้ทำประกันอยู่จริง
  • โดยสิ่งที่เราจะได้จากทางประกันคือ สำเนาใบเคลม

นำสำเนาใบเคลมไปยื่นที่ศูนย์หรืออู่เพื่อแจ้งซ่อม

  • หลังจากที่ได้รับสำเนาใบเคลมเรียบร้อยแล้ว
  • เราก็สามารถนำรถของเราเข้าศูนย์หรืออู่ที่ให้บริการซ่อมรถของเราได้ตามปกติ

ถ้ากรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์หายไปทำใหม่กี่วันถึงจะได้

  • หากทำกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์หาย คือไปทำการแจ้งความกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์หาย เก็บไว้เป็นหลักฐาน
  • จากนั้นขอสำเนากรมธรรมใหม่ได้ที่บริษัทประกันภัย
  • โดยบริษัทประกันภัยจะใช้เวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์ ก็จะได้กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ฉบับใหม่
  • โดยในระหว่างที่กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์หาย ผู้เอาประกันสามารถใช้แค่เลขกรมธรรม์ในการแจ้งประกันกับบริษัทประกันได้เหมือนกัน
  • กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ มีความสำคัญต่อเจ้าของรถยนต์เป็นอย่างมาก เพราะการทำประกันภัยรถยนต์จะช่วยคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
  • ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และการได้รับสิทธิประโยชน์อีกหลายประการตามเงื่อนไขการทำประกันภัยรถยนต์แต่ละประเภท

ข้อมูลในกรมธรรม์ผิด ต้องทำอย่างไร

  • หากข้อมูลในกรมธรรม์ผิดต้องรีบติดต่อไปยังบริษัทประกัน หรือนายหน้าประกันที่คุณติดต่อด้วย
  • เนื่องจากบริษัทประกัน ที่คุณติดต่อด้วยต้องเป็นผู้ออกใบสลักหลังกรมธรรม์ใหม่ที่มีข้อมูลถูกต้องให้กับคุณอีกครั้ง
  • การตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องจึงเป็นหน้าที่สำคัญของผู้เอาประกัน เพื่อให้ได้เอกสารใบสลักหลังกรมธรรม์ที่มีข้อมูลทุกอย่างถูกต้อง
  • ไม่ควรมองข้ามขั้นตอนนี้เด็ดขาด โดยทั้งหมดนี้ก็เพื่อรักษาสิทธิ์ของคุณเอง

กรณีใดบ้างที่ต้องแจ้งบริษัทประกัน เพื่อออกเอกสารสลักหลัง

กรณีใดบ้างที่ต้องแจ้งบริษัทประกัน เพื่อออกเอกสารสลักหลัง มีดังนี้

ข้อมูลในกรมธรรม์รถยนต์ผิด

  • ข้อมูลในกรมธรรม์รถยนต์ที่ต้องตรวจสอบให้ละเอียด ว่าถูกต้องตามที่ผู้เอาประกันแจ้งหรือไม่
  • หากข้อมูลเหล่านี้ไม่ตรงกับที่แจ้งไป สิ่งที่คุณควรต้องทำคือการติดต่อไปยังบริษัทประกัน เพื่อขอใบสลักหลังกรมธรรม์ใหม่อีกครั้ง 
  • ชื่อของผู้เอาประกันรถยนต์
  • วัน เดือน ปี ที่ประกันรถยนต์เริ่มคุ้มครอง
  • เลขทะเบียนรถยนต์
  • รุ่นรถยนต์ที่เอาประกัน
  • เลขตัวถังของรถยนต์ที่เอาประกัน
  • เบี้ยประกันรถยนต์

เกิดการเปลี่ยนชื่อในกรมธรรม์รถยนต์

  • ในกรณีนี้สามารถพบได้บ่อยครั้ง จากการที่ผู้เอาประกันรถต้องการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล
  • ในกรมธรรม์รถยนต์ที่ทำประกันรถยนต์เอาไว้ โดยไม่ได้เกิดจากข้อมูลผิดพลาดในกรมธรรม์ ในส่วนนี้คุณสามารถส่งเรื่องไปยังบริษัทประกัน
  • เพื่อขอเปลี่ยนข้อมูลในใบสลักหลังกรมธรรม์และขอรับได้เลย

การขอเอกสารใบสลักหลังกรมธรรม์ ต้องใช้เอกสารใดบ้าง

  • เมื่อผู้เอาประกันต้องการขอเปลี่ยนข้อมูลในเอกสารใบสลักหลังกรมธรรม์
  • คุณสามารถส่งเรื่องไปยังบริษัทประกัน ที่ทำประกันรถยนต์เอาไว้ได้เลย เพียงแต่ต้องเตรียมเอกสารให้ถูกต้องครบถ้วน โดยมีเอกสารดังนี้ 

เปลี่ยนที่อยู่ในกรมธรรม์รถยนต์

  1. เอกสารคำร้องขอสลักหลังกรมธรรม์
  2. สำเนาทะเบียนบ้านหรือสำเนาบัตรประชาชนของผู้เอากรมธรรม์
  3. พร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง เพื่อระบุข้อมูลติดต่อหรือที่อยู่ใหม่ ที่ต้องการขอเปลี่ยนแปลง

กรมธรรม์สูญหาย 

  • ในกรณีนี้ผู้เอาประกันต้องไปแจ้งความเพื่อลงบันทึกประจำวัน แล้วนำหลักฐานมาแจ้งกับบริษัทประกัน
  • เพื่อที่บริษัทประกัน จะออกสำเนากรมธรรม์ประกันรถยนต์ให้ เพื่อประโยชน์ในการขอรับสิทธิ์ต่างๆ ตามกรมธรรม์ โดยมีเอกสารดังนี้
  • คำร้องขอเปลี่ยนแปลงกรมธรรม์ โดยแจ้งเหตุที่ทำให้กรมธรรม์สูญหายหรือเสียหาย
  • ใบแจ้งความกรมธรรม์สูญหาย
  • สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนา

กรณีรถยนต์ที่เอาประกัน มีการตกแต่งรถยนต์เพิ่มเติม

  • ต้องใช้ใบเสร็จ หรือราคาของอุปกรณ์เพิ่มเติมนั้นๆ เป็นเอกสารในการแจ้งขอใบสลักหลังกรมธรรม์
  • ซึ่งการตกแต่งรถยนต์เพิ่มเติม นอกจากจะเพิ่มทุนประกันแล้ว ผู้เอาประกันจะต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันเพิ่มอีกด้วย

การขอใบสลักหลังแก้ไขรายละเอียดรถยนต์

  • เลขตัวถังผิด ทะเบียนรถยนต์ผิด ชื่อผู้ครอบครองรถผิด โดยต้องใช้เอกสารดังนี้
  • สำเนาทะเบียนรถ
  • หากต้องการเปลี่ยนแปลงข้อความหรือข้อมูลอื่นๆ ในกรมธรรม์ รถยนต์ อย่าลืมที่จะส่งเอกสารที่สามารถยืนยันข้อมูลที่ต้องการแก้ไขไปพร้อมกับยื่นคำร้องด้วย
  • เพื่อให้ฝั่งบริษัทประกันสามารถใส่ข้อมูลตามจริงในใบสลักหลังกรมธรรม์ได้ถูกต้องครบถ้วน

สรุป

  • กรมธรรม์ ก็เปรียบเหมือนข้อตกลงผูกมัด ระหว่างผู้เอาประกันและผู้รับประกัน ภายในก็คือเงื่อนไขและสัญญาต่างๆ เป็นส่วนของเอกสารที่ผู้เอาประกันต้องถือติดตัวไว้ 1 ฉบับ และทางบริษัทประกันอีก 1 ฉบับ
  • เมื่อเกิดเหตุการณ์ใดๆ ขึ้น ใบกรมธรรม์นี้ จะเป็นหลักฐานแสดง ให้ผู้เอาประกันยื่นเรื่อง เพื่อขอรับการช่วยเหลือจากทางบริษัทต่อไปได้