สันติ สิงหวังชา ประวัติ นักลงทุนโยโย่ way

สันติ สิงหวังชา YoYoway

สันติ สิงหวังชา เป็นนักลงทุนที่มีฝีมือหาตัวจับได้ยาก มีชื่อที่เล่นว่า โยโย่ ซึ่งเป็นหนึ่งในนักลงทุนที่เผยแพร่แนวคิดเกี่ยวกับลงทุนให้กับรายย่อย คุณโยโย่ เผยแพร่แนวคิดการเล่นหุ้นฟรีผ่าน Blog ของเขาเอง โดยปัจจุบัน คุณ สันติ สิงหวังชา เสียชีวิตแล้ว ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2021

“จากดีกรีในการจัดการพอร์ตหุ้นที่ไม่ธรรมดาเพียงแค่ 6 ปีของการเข้าวงการ สันติ สิงห์วังชา สามารถสร้างผลตอบแทนได้แล้วกว่า 27 เท่าตัว ด้วยแนวคิดที่เรียบง่าย ลุ่มลึก สุขุมใจเย็น จนได้รับรางวัลผู้ถือหุ้นคุณภาพมาแล้ว เชิญพบกับทายาทสังกัดมวยชื่อดังผู้ได้รับชัยชนะบนสังเวียนหุ้นของ สันติ สิงห์วังชา”

หลายคนคงเคยได้อ่านผลงานของ YoYo มากันบ้างแล้วโดยเฉพาะ Blog แบ่งปันความรู้ ในฐานะเป็นคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการลงทุน

Forexduck ขอเขียนประวัติรวบรวมข้อมูลเพื่อเป็นเกียรติและประโยชน์สืบไปแก่ผู้อ่าน

สันติ สิงหวังชา

สันติ สิงหวังชาโปรไฟล์

ประวัติเบื้องต้น

สันติ สิงหวังชา เป็นลูกชายเจ้าของค่ายมวย สิงหวังชา หรือ คุณ นริศ สิงหวังชา ซึ่งเป็นนักลงทุนในตลาดหุ้นที่มีฝีมือเช่นกัน

  • คุณสันติ หรือ โยโย่ เดิมศึกษาที่โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรในตอนมัธยมศึกษาตอนต้น
  • หลังจากนั้นเรียนเตรียมอุดมศึกษา ในระดับชั้น มัธยมปลาย
  • ก่อนที่จะสอบเข้าเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ วิศวกรรมโยธา
  • คุณโยเป็นคนเรียนเก่งและเป็นที่รักของเพื่อน ๆ

หนังสือของ Yoyo Way

คุณโย ไม่เคยเขียนหนังสือแต่เขียน Blogspot ชื่อ YoYo's Investing ซึ่งรวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับการลงทุนการบันทึก เหมือนกับบันทึกการลงทุนที่ทุกคนสามารถอ่านได้ฟรี นอกจากนี้ คุณ Wizard Kids ได้รวบรวมเนื้อหาเป็นหนังสือไว้ด้วย โดยสามารถหาอ่านได้ที่นี่

หนังสือของ Yoyo Way

แนวคิดและสไตล์การลงทุน

จากบทสัมภาษณ์พี่โยโย่ สันติ สิงหวังชา โดยพิธีกร พี่บอล พี่มี่ (มี่ ทิวา ชินธาดาพงษ์) ในงาน ThaiVI เรียบเรียงเพื่อให้อ่านง่ายโดย Forexduck

YoyoThaiVI

เริ่มต้นลงทุนครั้งแรกเมื่อไหร่

  • เปิดพอร์ตปี 2545 เริ่มจากลงทุนแนว VI
  • เป้าหมายการลงทุนตั้งครั้งแรก อยากมีชีวิตที่ไม่เหนื่อย ไม่ต้องทำงานทุกวัน อยากไม่เหนื่อยมีเงินเลี้ยงตัวเองได้ อยากประสบความสำเร็จ
  • ยังไม่ได้ลงทุนจริงจัง ณ วันนั้นยังไม่ได้ตั้งผลตอบแทนเป็นเรื่องเป็นราว
  • ตอนนั้นอายุ 20-21 ก็เลยคิดว่าอายุ 30 ต้องมีเงิน 1 ล้านบาทหลังจากนั้นอีก 10 ปีต้องโต 10 เท่าตัว
  • เปิดพอร์ตตอนแรกมีเงิน 2 แสนบาท ลงเงินไปซักครึ่งปึ คุณแม่ให้เงินมา 1.5 ล้านบาท มีเติมเงินบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ น่าจะเก็บเงินได้เดือนละหมื่นกว่าบาท จะเพิ่มขนาดอีก 1 แสน
  • ตอนที่ออกมาลงทุนเต็มตัว มันง่ายมากดัชนี 350 ตลาดขึ้นไป 700 ลงทุนโง่ๆก็กำไร 100-200 %
  • ตอนนั้นก็มั่นใจมากว่าที่ตั้งเป้าพันล้านไว้ หมูๆแน่นอน ซึ่งเป็นความมั่นใจแบบผิด ๆ พอย้อนกลับไปดูหุ้นตัวที่เคยคิดว่าจะเป็นอย่างนั้นมันผิดทั้งนั้นเลย

ผลตอบแทน ช่วงแรกไม่แน่นอน บางปีโตดีกว่าตลาด เช่น ตลาดโต 100 เราโต 200 มีบางปีที่แพ้ตลาดบ้าง ปีที่แพ้มากคือปีที่ใช้ มาร์จิ้น และเป็นปีที่เกิด subprime

เรื่องการใช้ margin และการถือหุ้น

โยโย่ ช่วงลงทุน 3-4 ปี แรกไม่เคยใช้ Margin ช่วงที่ถือน้อยตัว คือ ถือ 1 ตัว แต่ไม่ได้ใช้มาร์จิ้น
เคยใช้เยอะคือ 40-50% ของทุนที่เรามี พอใช้ไป 2 ปีก็เจอ subprime ตลาดลงไป 45% พอร์ต่ลงไป 60% รู้สึกเปลี่ยนชีวิต

  • เคยคิดว่าถ้ามีเงิน 20 ล้าน ไปหาพวก fixed income ได้ return 5% ต่อปี
  • ก็มีเงินใช้ปีละล้าน น่าจะพอได้แล้ว ถ้ามีเกิน 20 ล้าน จะมาเล่นหุ้นเต็มตัว
  • ซึ่งตอนนั้นเกินไปแล้ว พอมาเจอมาร์จิ้นรอบนั้นจาก 65 ล้าน ลงไปต่ำสุดเหลือเงิน 18 ล้าน
  • ซึ่งหุ้นนั้นก็ไม่ได้สภาพคล่องดีมาก แล้วมีคนที่เล่นมาร์จิ้นหนักในหุ้นเดียวกันก็โดน force sell
  • กดดันมากที่จริงโชคดีมากที่ตอนนั้นไม่จบ เหมือนขับรถเร็ว 200 ต่อชั่วโมงแล้วรอดตายมาได้
  • หลังจากนั้นมีใช้บ้างนิดหน่อยตอน subprime หุ้น pe 1-2 เท่าก็หาได้ จึงใช้ margin อีกรอบราว 20% ของเงินที่มี
  • ถ้าจะใช้มาร์จิ้นต้องใช้ในช่วงที่หุ้นถูกมาก ถ้าเห็นหุ้น pe 1-2 เท่า มันถูกมากอยากใช้ก็พอว่า คิดว่าใช้ไม่เกิน 20% ก็พอแล้ว

หุ้นหมัดน็อค หุ้นกำไรโต PE เพิ่มได้ หาได้อย่างไร

นี่เป็นเกณฑ์การกรองหุ้นที่ใช้เมื่อหลายปีก่อน

  1. บริษัทหรือหุ้นต้องโตได้ 20% อย่างน้อยใน 3 ปีข้างหน้า
  2. ราคาต้องถูก อย่างเมื่อก่อน หุ้นโต 30% ซื้อหุ้น pe 4 เท่า หวังไปขาย 8 เท่า
  3. สมัยนี้หุ้นโต 20% pe 15 เท่ายังบอกว่าโตอยู่
  4. หุ้น superstock สมัยนี้ก็โตลดลง ได้ 10% กว่า ๆ pe 30-40 เท่า

ความปลอดภัยในการลงทุนมันเปลี่ยนไปอย่างเทียบไม่ได้ สมัยนี้หวัง pe 4-5 เท่ายาก ถ้าเจอ pe 8 เท่า ก็ถูกมากแล้ว

  • คำที่ชอบมากใช้ประจำ คือ ซื้อหุ้นยอดเยี่ยม ในอุตสาหกรรมยอดแย่
  • การซื้อหุ้นยอดเยี่ยมในอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม มันมีโอกาสได้หุ้นถูกยาก
  • แต่ถ้ามองในอุตสาหกรรมที่คนไม่เลือก ซึ่งในหุ้นที่ถูกก็จะมีโอกาสเจอหุ้นที่ดีอยู่ซึ่งจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
  • ผู้บริหารก็ต้องดี เลือกซื่อสัตย์ ขยัน ไม่ขี้โม้ เข้าใจอุตสาหกรรมดี ถามไปตอบได้ ไม่ปิดบัง
  • ผู้บริหารที่ดี ส่วนใหญ่จะรู้ว่ามีอะไรเป็นความเสี่ยง และเตรียมรับมือไว้
  • เมื่อก่อนเคยตั้งเป็นกฏว่าจะต้องได้เจอผู้บริหารก่อน แต่หลังๆ ส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยได้เจอผู้บริหารเท่าไร
  • เขามองว่า ถ้าหุ้นมันดีแล้วมันถูกจริง ๆ เด่นชัดจนไม่ต้องไปคุยกับผู้บริหาร
  • อย่างเช่น บัฟเฟตต์ ซื้อหุ้นปิโตรไชน่า คนก็ไปถามว่าทำไมซื้อหุ้นจีน
  • เขาตอบอ่าน annual report แล้วก็ประเมินมูลค่าแบบ conservative ซึ่งมูลค่าต่ำกว่าที่เป็นหลายเท่า ปลอดภัยมาก ก็ซื้อเลย ไม่ได้เจอผู้บริหาร
  • งบการเงิน เป็นสิ่งแรกที่ดู ถ้ามีคนแนะนำมา จะดูอันนี้ก่อนเลย ย้อนหลังไปหลายปี
  • สภาพคล่องทางการเงินเป็นอย่างไร ผันผวนไหม ถ้าใช้ได้ค่อยมาเจาะต่อ ว่าธุรกิจทำอะไร
  • ซึ่งถ้างบการเงินไม่ผ่านก็ปิดตั้งแต่ต้น

หุ้นในอดีตที่สำเร็จเป็นหมัดน็อค คือหุ้นอะไรของคุณ YoYo

  • ตัวหุ้น spali ตอนนั้นใช้ margin เล่นหุ้น pe 1 เท่ากว่า เจอ ps กับ lpn ก่อน pe 2 เท่า มี backlog รออยู่แล้ว ซึ่งดูไม่น่ามีปัญหาอะไร
  • ราคาขายปัจจุบันก็แพงกว่าราคาที่ซื้อครั้งแรก สภาวะตลาดหุ้นดูแย่ แต่เศรษฐกิจไม่ได้แย่
  • ดูดีด้วยซ้ำ ตอนนั้นก็เลยซื้อ พอผ่านมาจากตอนนั้น มันก็โต ขึ้นมาเฉลี่ยปีละ 20%
  • สมมติเราถือจาก pe 2 เท่ามา 6 เท่าก็ได้ 3 เด้งแล้ว แล้วถ้ารวมผลตอบแทนที่กำไรโต 20% อีก ก็เป็น 4 เด้งแล้ว
  • ตอนนั้นซื้อครั้งแรก 2 บาทกว่า eps ที่คิดไว้ 1 บาทกว่า ปันผล 20% ทางแพ้แทบไม่มี
  • และยังเป็น eps ที่มีแนวโน้มจะโต ตอนที่ขายนั่นคือไปเจอตัวอื่น ขายตอน 12 บาท เจอหุ้นที่ pe ถูก โตมากกว่า
  • อย่างตอนนี้อสังหาฯ อิงเศรษฐกิจเยอะ หนี้ครัวเรือนเยอะ ภาพทุกอย่างไม่ดี pe กลุ่มก็เลยต่ำ
  • แต่เราไม่จำเป็นต้องเล่นหุ้นทั้งกลุ่ม ถ้าเลือกบริษัทดีๆ ที่โดดเด่นก็ได้
  • พี่มี่เสริม ถ้าดู lpn, ps , spali ผลตอบแทนที่ผ่านมาก็ไม่ได้แพ้ cpall นะ
  • ทุกอุตสาหกรรมถ้าเราเห็นความสามารถแข่งขัน เห็นได้ว่าเขาจะโตได้อย่างไร เหมือนปีเตอร์ลินซ์บอก

ตัวอย่างการซื้อหุ้นแล้วเกือบตาย

  • หุ้น ptl ตอนซื้อธุรกิจโต มีแนวโน้มโตเรื่อยๆ ซื้อราคา 6 บาท pe ราวๆ 5 เท่า
  • สูตรตอนนั้นคือ ซื้อหุ้น pe 4-5 เท่าไปขาย pe 8 เท่า ตอนนั้นก็หวังไปขาย 10-12 บาท
  • ซึ่งเจอ subprime และใช้ margin สภาพคล่องต่ำ ลงไป 2-3 บาท
  • สุดท้ายกำไรก็ออกมาอย่างที่คิด ไม่มีอะไรผิด ซึ่งผิดที่ใช้ margin กับหุ้นสภาพคล่องต่ำ
  • ถ้าตอนนั้นไม่ใช้ margin ก็ถือเฉยๆ ได้ปันผล 10% ไม่มีอะไรต้องเดือดร้อน
  • ถ้าเราทำทุกอย่างถูก เลือกหุ้นดี ไม่แพง โตต่อเนื่อง ไม่มีปัญหาอะไร
  • ถ้าชีวิตดีอยู่แล้ว ไม่มีปัญหาอยู่แล้ว ก็อย่าหาปัญหาใส่ตัว
  • ยกตัวอย่าง มีหุ้นมั่นคงได้โต 10% ต้นๆ Pe 30 เท่า แข็งแกร่ง ผ่านไป 5 ปี
  • กำไรจะขึ้นมาเท่าตัว แล้วหลังจาก 5 ปีนั้นจะโตได้แบบนั้นไหม
  • อาจจะโตได้ไม่เกิน 5% หรือตีว่าโตตามเศรษฐกิจ ซึ่งไปดูที่อเมริกา
  • หุ้นที่เคยเป็น superstock ทั้งหลายแบบนั้น trade อยู่ที่ 15 เท่า พวก Walmart อะไรต่างๆ
  • ซึ่งถ้ามองภาพนี้ ผ่านมา 5 ปี กำไรโตเท่านึง แต่ pe ลดลงครึ่งนึง มันคุ้มไหม? ได้ปันผล upside 2% ต่อปีถ้าเราทำได้ ผลตอบแทนอาจจะได้ 5-6% แต่ถ้าเราพลาด ติดลบ 10 กว่า % ต่อปี คุ้มไหม
  • เรามอง risk กับ reward ถ้า reward มันดีมาก เรายอมเสี่ยง คนเราชอบเอาอดีตมาลากเส้นต่อไปอนาคต เช่น อดีตโต 50% เราก็คิดว่าอนาคตจะโต 50%

ที่จริงแล้ว มันยากมากที่จะโตได้ระดับนั้นไปเรื่อยๆ ถ้าโตระดับนั้นได้ต่อเนื่อง ก็ใหญ่ระดับโลกแล้ว จากประสบการณ์ เลือกหุ้นถูกไม่ค่อยพลาด มันก็ถูกแบบนั้น แต่เวลามองหุ้นโต เช่น snc ผู้บริหารเก่ง ทุกอย่างตอบได้เคลียร์หมด โตอดีตปีละ 30% ก็คิดว่าจะโตได้ 30% ไปเรื่อยๆ หลังจากวันที่ขายหุ้นไปจนถึงวันนี้ โตเพียง 5-10% ซึ่งห่างจากที่คิดไปเยอะ

มีหุ้นแบบนี้เยอะ มี 10 ตัว ผมมองโตถูกต้องจริงๆแค่ 2 ตัว เจอคนที่เก่งมาก มองธุรกิจขาด เขาซื้อหุ้น pe 30 เท่า ซื้อ 10 ตัว อาจจะถูกซัก 6 ตัว แต่เราทำแบบนั้นไม่ได้ เรามองอนาคตไม่ขาด ซึ่งคนที่จะมองอนาคตได้ขาด ก็มีเช่น ดร.นิเวศน์ คุณประชา หมอพงษ์ศักดิ์ พี่เวบ เราจะเอาอะไรไปเทียบกับเขา ถ้าโอกาสถูกน้อยก็ผิดก็เล่นเกมที่เราถนัดดีกว่า

โดนขาดทุนหนักไปหลายที เคยท้อไหม?

  • อย่างตอน subprime 65 เหลือ 18 ล้าน เอา resume ไป update ใหม่เลย
  • เพราะเรามีแผนไว้ว่าถ้าต่ำกว่า 20 ล้าน เราต้องทำงาน โชคดีว่าตลาดหุ้นฟื้นเลยไม่ต้องร่อนใบสมัคร
  • ตอนนั้นไม่ท้อ รู้สึกว่าสิ่งที่เราคิดไม่ผิด ธุรกิจมันดี หุ้นมันถูกแต่เราไม่คิดว่าหุ้นต้องคิดเท่าไร
  • ในระยะเวลาเท่าไร หรือหุ้นจะไม่ลงไปต่ำกว่าเท่าไร ไม่ได้มีอะไรผิดคาด
  • เรารู้อยู่แล้วว่าตลาดไม่ได้มีเหตุผลตลอดเวลา มันเป็นเรื่องปกติ ก็เลยเฉยๆ
  • ซึ่งตอนนั้นกลับมาก็ได้ไปซื้อ jas ตอน 0.8 พอดี ที่ขาดทุนก็ได้คืนหมด

ช่วงเมืองไทยไม่ค่อยดีและเริ่มสนใจลงทุนต่างประเทศมากขึ้น จะลงทุนแบบไหนดี?

  • กลยุทธ์ก็ต่างไปส่วนตัวเล่นหุ้นโฟกัส โดยจริตชอบซื้อแบบไม่กี่ตัว เจาะหุ้นลึกมาก
  • จะไปถือสไตล์พี่โจ เพราะเราเจาะลึกหลายตัวไม่ได้ ซึ่งช่วงที่ลงเยอะๆ คือ 4 ตัว ถ้าน้อยๆ คือ 1-2 ตัว
  • บทเรียนที่เรียนรู้ อะไรก็ตามที่เรารู้และเข้าใจมันดีเราจะโฟกัสมันได้
  • อะไรที่เราไม่รู้ ไม่เข้าใจมันดี ใช้การโฟกัสตายแน่
  • ตอนนั้นเอาเงินไปครึ่งพอร์ตแล้วถือตัวเดียว เป็นกลยุทธ์ที่ผิด ตอนนี้ก็เลยกระจายไป 5% ซื้อไป 40 ตัว
  • อย่างเวียดนามก็มองๆ ว่าน่าสนใจ ตอนนี้ที่ไปต่างประเทศ เป็นกลยุทธ์ใหม่สำหรับผม แต่เป็นกลยุทธ์ที่มีมานานแล้ว
  • ถ้าใครเคยอ่าน little book that beat market เขามีสูตรง่ายๆ คือ ธุรกิจที่ดี มี return on invest capital
  • ไม่ใช่ธุรกิจที่โต คือเราลงเงินน้อยๆ แต่ได้ return เยอะๆ ส่วนธุรกิจที่ถูก คือ pe ต่ำ แล้วก็เอาสองปัจจัยนี้
  • เช่น ถ้าเอาหุ้นทั้งตลาดนี้มาเรียงกันด้วย roic pe เรียง แล้วเอา rank มาบวกกัน
    จะได้หุ้นที่คุณภาพดีราคาไม่แพง
  • แล้วเขาก็ใช้สูตรนี้ทดสอบกับข้อมูลย้อนหลังในอเมริกา ซื้อแล้วผ่านไป 1 ปี ขายให้หมด ทำซ้ำทุกปี return ย้อนหลัง 14-16 ปี ได้ return 30% ต่อปี ชนะตลาดที่ได้ 12%
  • ซึ่งก็มีคนเอามาประยุกต์ในไทย siamquant , research ดร.ลลิตา, ดร.ไพบูลย์ แต่ละคนก็ทดสอบคนละช่วงเวลากัน
  • แต่พูดเหมือนกันหมดว่าชนะตลาดได้พอสมควร ซึ่งตอนนี้ก็ใช้หลักการคล้ายๆ อันนี้
  • Jitta ก็เป็นอีกเจ้าหนึ่งที่ทำเรื่องคล้ายๆแบบนี้ เพื่อให้สามารถลงทุนได้โดยไม่ต้องคิดมาก
    ซื้อหุ้นไป 40 ตัว เจาะรายตัวก็ไม่ต้องทำอย่างอื่นแล้ว เป็นช่วงทดลองอยู่

 

เราจะผสมผสานสไตล์ quant กับ vi ได้ไหม?

Quant ใช้แต่ตัวเลข ไม่ใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพ คนจะชอบไปนึกถึง technical เลยไม่อยากใช้คำนั้นเท่าไร
ส่วนแนวนี้ขอเรียกว่า Quantitative VI ละกัน คือใช้ค่าทางการเงิน มาคิด อย่างไปอเมริกา ก็ใช้หลักนี้แล้วก็ซื้อไปเลย 40 ตัว หรืออีกแนวทางหนึ่ง ใช้หุ้นนี้กรองหุ้นออกมา เราก็ไปวิเคราะห์ต่อ แล้วก็มาลงทุนแบบเดิมที่เราทำ

พี่มี่ แชร์วิธีใช้ jitta สมมติมีไอเดียอยากลงทุนหุ้นค้าปลีกปกติไม่เคยดู jitta line เลย แต่ jitta score เข้าใจว่าคำนวณจากงบการเงินย้อนหลังเกือบ 10 ปี

เดิมธุรกิจถูกจำกัด 2 อย่าง คือ

  1. เงินทุน เป็น barrier to entry อย่างหนึ่ง เช่นธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนสูงมาก จะมีไม่กี่เจ้า แต่ทุกวันนี้เงินไม่ใช่ปัญหา เงินล้นโลก ดอกเบี้ยต่ำ ทุกคนอยากหาผลตอบแทน จึงเกิดโครงสร้าง บริษัท startup ที่ยังไม่มีรายได้ แต่คนเห็นอนาคต barrier to entry ตรงนี้หายไปแล้ว อย่างธุรกิจ bank เดิม เป็นเหมือนเสือนอนกิน คนจะเกิด bank แข่งยาก ใบอนุญาตลำบาก พอเจอ startup การแข่งขันก็เปลี่ยนไป
  2. เทคโนโลยีเปลี่ยนไปเยอะมาก ทำให้การแข่งขันคนอยู่ต่างอุตสาหกรรม ต่างประเทศ แข่งกันได้เสรี ขึ้น ถ้าไม่ศึกษาสิ่งเหล่านี้ไว้หุ้นที่เราลงทุนอาจจะโดนสิ่งเหล่านี้ตีไปจนเจ๊งเลยเป็น disruptive เป็นธุรกิจใหม่ๆ ที่ดีกว่าเดิมมากๆ จนทำให้ของเดิมเปลี่ยนไป

ถ้าเราจะลงทุนไม่ศึกษาพวกนี้ไว้ก็หมดตัวได้ง่ายๆ เหมือนกัน Startup มองเป็น thread กับธุรกิจเดิม
แต่ก็เป็นโอกาส แม้จะมีความเสี่ยงสูงมาก พันคน อาจจะอยู่ได้แค่ คนเดียว

Jitta เป็นยังไงทำไมถึงได้ไปลงทุนที่นั่น

รู้จักเจ้าของมานานแล้ว เป็นเด็กเตรียมอุดมรุ่นเดียวกัน พอไปเจอ jitta ก็เจอว่ามี formula เหมือนกัน ใครก็เข้าไปใช้ได้ พอเริ่มๆเล่นไป รู้สึกว่าชอบกว่า magic formula

  • ตอนแรกก็เอา magic formula มาใช้กับตลาดไทยก็เจอว่าพวกลำดับแรกๆ เป็นกำไรพิเศษไปหลายตัวมาก
  • Pe ก็ต่ำมาก ค่า ROIC ก็ต้องสูงมากตามเหมือนกัน รู้สึกว่าลงตามนี้ มันไม่สบายใจที่จะถือ
  • เช่น ลำดับ 1 คือ jas ปีที่แล้วขายสายไฟเบอร์ทั้งบริษัทได้กำไรหมื่นล้านก็ติดลำดับมา
  • ถัดไปก็ขายทรัพย์สิน ต้นทุนกำไรลงเยอะเลยกำไรดี เป็นกำไรพิเศษสักครึ่งหนึ่ง
  • พอไปดู jitta jas ก็ติดอันดับ 1 เหมือนกัน แต่ใน jitta เป็น 1 ใน 4 ก็น่าสนใจกว่า
  • ซึ่งเขาไม่เปิดเผยสูตร ก็เลยนัดเจ้าของคุยด้วยเพราะอยากรู้ว่าคิดมาอย่างไร
  • พอถามๆดูก็คิดว่าเขามีมุมมองที่ดี เขาเคยทำ startup มาหลายบริษัท แนวคิดเลือกหุ้นเขาก็คล้ายๆกัน
  • พวก ratio ต่างๆที่เขาใช้ มัน make sense เลยถามเขาว่ามีหุ้นเหลือไหม อยากร่วมด้วย
  • สุดท้ายก็ได้ลงทุนด้วย ไม่ได้หวังผลตอบแทนอะไรเป็นพิเศษ