การออกแบบระบบเทรด Passive Trading (เฉพาะสมาชิก)

การออกแบบพอร์ต

พอร์ตลงทุนของคุณคือ ขนาดเงินลงทุนที่คุณมีทั้งหมด ซึ่งจะใหญ่กว่าจำนวนเงินที่เข้าเทรดจะต้องมีประมาณ 5 เท่าของการฝากเข้าบัญชีเทรด MT4 ดังนั้น

  • พอร์ตที่คุณต้องบริหาร ถ้าคุณมีเงิน 1000 USD หรือประมาณ 30,000 บาท
  • คุณสามารถฝากเข้าต่อครั้งได้ที่ครั้งละ 200 USD
  • เราจะไม่ฝากเข้าอีก จนกว่าจะล้างพอร์ตและเงิน 200 USD จะใช้เป็นเงินตั้งต้น
  • ถ้าหากคุณมีเงินลงทุน Forex ประมาณ 10,000 USD คุณก็ลงทุนครั้งละ 2000 USD
  • วิธีคิดง่าย ๆ คือ เอาเงินที่คุณมีทั้งหมด หารด้วย 5
  • ดูตัวอย่างได้จากภาพด้านล่าง

จำนวนเงินที่ฝากเข้าต่อครั้ง

1 จำนวนเงินที่ฝากเข้าต่อครั้ง

เมื่อคุณฝากเข้าแล้วคุณจะเทรดด้วยเงินที่มีเท่านั้น สิ่งที่คุณต้องคำนวณคือ ขนาดของการเข้าออเดอร์ สำหรับเงิน 200 USD ให้คุณส่งคำสั่งด้วยขนาด 0.10 Lot ไม่เกิน 3 ชุด ต่อ 1 ค่าเงิน ถ้าหากคุณมีเงิน 2000 USD คุณก็ส่งคำสั่ง 1 Lot ดังนั้น

บัญชี Standard หรือ ECN

  • เงิน 100 USD ส่ง Lot 0.05
  • เงิน 200 USD ส่ง Lot 0.10
  • เงิน 500 USD ส่ง Lot 0.25

สูตรการคำนวณสำหรับการส่ง Lot คือ Balance/ 2000 = Lot ที่ต้องส่ง

บัญชี Cent บัญชี Mini

บัญชี Cent Lot 1 จะเทียบเท่ากับ Lot 0.01 บัญชี Standard ถ้าเงิน 200 USD ต้องส่ง Lot 10 ดังนั้นสูตรการหา Lot ของบัญชี Cent เท่ากับ

สูตรการคำนวณสำหรับการส่ง Lot คือ Balance/ 20 = Lot ที่ต้องส่ง

การวิเคราะห์เพื่อเข้าออเดอร์

การวิเคราะห์โดยใช้ Correlation หาค่าความสัมพันธ์ไม่ได้หาขึ้นตามเครื่องมือที่ใช้ทั่วไป ซึ่งเป็นการคำนวณพิเศษที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ ไม่ได้มีการคำนวณตามค่า Correlation แบบสถิติ ที่ให้บริการใน myfxbook หรือใน Tradingview จึงต้องคอย Signal เทรด อย่างเดียวเท่านั้น ปัจจุบันยังไม่มีระบบที่จะมาคำนวณเป็นระบบอัจริยะ ถ้าหากทำได้จะสร้าง EA แจก

  • จากการคำนวณค่าความสัมพันธ์เพื่อจัดการเข้าค่าเงินที่กำหนดและเวลาที่เข้า
  • สมัครสมาชิกเพื่อเข้าสู่ระบบ

การจัดการออเดอร์ช่วงขาดทุน

ระบบ Passive Trading ออกแบบมาเพื่อทนทางต่อการขาดทุนแบบล้างพอร์ต อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า ไม่ล้างพอร์ต และการเข้าเทรดครั้งแรกไม่ได้หมายความว่าจะกำไรได้เลย แล้วถ้าวิเคราะห์แล้ว ส่งคำสั่งแล้ว เข้าเทรดชุดแรกแล้ว ขาดทุนควรทำอย่างไร?

นั่นคือเหตุผลที่หลายคนสงสัย ว่าทำไมระบบความเสี่ยงของเราต่ำกว่าคนอื่นประมาณครึ่งหนึ่ง เพราะว่าปกติ ด้วยความเสี่ยงเท่านั้น จำนวนเงิน 200 USD ควรส่งออเดอร์ขนาด 0.2 Lot แต่เราส่ง 0.1 Lot เพราะว่า เราไม่มีทางรู้ว่าเราจะกำไรได้จากการเทรดชุดแรกหรือไม่ ถ้าได้ก็ดีไป แต่ถ้าไม่ได้หล่ะ? เรามีแนวทางดังนี้

  • ในการเทรดแบบ Passive Trading สามารถเทรดได้ถึง 3 ชุด ถ้ากราฟมันพุ่งผิดทางเยอะ ไม่ต้องคิดมาก เพราะแค่ชุดแรกก็เกิดเหตุการณ์ล้างพอร์ตได้ แต่เราออกแบบพอร์ตมาให้ล้างพอร์ตอยู่แล้วไม่ต้องกลัว มันมีรอบกำไรของมันอยู่
  • แล้วจะส่งเพิ่มเมื่อไหร่? ให้คุณดูว่า ขาดทุนมากกว่า 30 % โดยที่คุณไม่ต้องเฝ้าจอ ถ้าคุณเปิดจอมาเจอก็แค่ส่งเพิ่มไปในทิศทางเดียวกันกับที่เทรดเพิ่ม 1 ชุด
  • และถ้าเกินอีก 60 % อีก 1 ชุด ก็จะครบ 3 ชุดพอดี ที่เหลือเราจะเหลือพื้นที่ให้กราฟวิ่งผิดทางได้นิดหน่อย จึงต้องเหลือพื้นที่ไว้

กรณีที่วิ่งผิดทางมาก ๆ คุณสามารถปล่อยล้างพอร์ตและดึงมาจาก Block แรกได้เลยโดยที่ไม่ต้องสนใจ เพียงแค่ทำตามเงื่อนไขที่วางไว้เท่านั้น นี่คือหลักเรียกว่าการทำ Risk Adjust หรือการทำ Rebalance โดยจะต้องทำการปิด-เปิดออเดอร์เป็นชุดเพราะถ้าไม่ ออเดอร์เทรดที่มีมันจะไม่ Balance กัน

ข้อสำคัญของระบบที่ไม่ควรแหกกฏ

  • เพิ่มขนาด Lot จนเกินขนาด เราคำนวณมาดีแล้วถึงมีโอกาสล้างพอร์ตน้อย
  • เพิ่มจำนวนชุดไว้เยอะเกินกว่า 3 ชุดจะทำให้คุณล้างพอร์ตบ่อย นั่นไม่ได้ทำให้คุณโตได้และรีบส่งชุดเร็วเกินไป
  • สิ่งสำคัญคือ วินัย ที่คุณต้องรักษาวินัยในการเทรด

การปิดออเดอร์

การคำนวณค่า Correlation ใช้วิธีการ Moving Average หรือคือ การใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ทำให้ค่าที่ได้เป็นการคำนวณจากอดีต เมื่อระยะแท่งมีการขยับ ค่าจะปรับไปทุกเมื่อ ค่าที่เดิมทีไม่เหมือนกัน ก็จะกลับเหมือนกัน ค่าที่เหมือนกันกลับไม่เหมือนกันได้ ดังนั้น กำไรแล้วจึงควรเลือกปิด ไม่ควรโลภ โดยกำหนดกำไรเป็นระดับความเสี่ยง เช่น ควรปิดเมื่อกำไร 20 % ถ้ามีเงินทุน 200 USD กำไรก็เท่ากับ 40 USD ควรปิดออเดอร์ทั้งหมด ซึ่งไม่แตกต่างจากการกำหนดการตั้ง TP

คำแนะนำการปิด

ในตลาด Forex ต้องยอมรับอยู่อย่างหนึ่งคือ เราไม่รู้อะไรเลย สิ่งที่เรารู้คือ กำไรข้างหน้าคือกำไรระบบ Passive Trading ช่วยให้คุณเข้าเทรดได้ แต่ว่าไม่ได้ป้องกันคุณจากการล้างพอร์ต ช่วยให้คุณไม่ต้องเดาทางและขาดทุนไม่รุนแรงแม้ช่วงข่าว นั่นคือ ความจริงของตลาด

การถอนและฝากเพิ่ม

2 การถอนและฝากเพิ่ม

สำหรับเงื่อนไขต่อไปนี้ เป็นเงื่อนไขในบัญชีเทรด จำนวนเงิน 200 USD คำถามคือ เมื่อไหร่ที่ควรถอนออก ถ้าสมมุติว่าทำกำไรได้เราควรถอนออกไปบัญชีพักเมื่อไหร่ มีข้อแนะนำดังนี้

  • ควรถอนออกจากบัญชีเทรดเมื่อทำกำไรได้ 50 % ในตัวอย่างคือครบ 100 USD ให้ถอนไปบัญชีพัก ทำให้ Balance เหลือ 200 USD อีกครั้งและเทรดจนครบ 100 USD อีกครั้งแล้วค่อยทำการถอนไปเรื่อย ๆ
  • คุณจะทำตามกฏนี้หรือไม่ได้ทำตามกฏนี้ก็ได้ เพียงแต่ต้องมีการถอนอย่างสม่ำเสมอ หลักการลงทุนคือการกระจายความเสี่ยง ไม่ควรนำไข่ไปใส่ตะกร้าเดียวกันหมด คุณจะปรับกลยุทธ์อย่างไรก็ได้ แต่เราได้คำนวณโอกาสและการเติบโตมาในรูปแบบนี้แล้ว

การขยายพอร์ตและกลยุทธ์การแบ่ง Block

3 การขยายพอร์ตและกลยุทธ์การแบ่ง Block

เพื่อให้เข้าใจง่ายเราจึงขออธิบายเป็นสถานการณ์สมมุติสำหรับ Block Trading เป็นเทคนิคการบริหารจัดการพอร์ตเพื่อให้โตเร็วขณะที่ไม่ได้ใช้เงินสำรองมากเกินไป และมีความพอดีในช่วงแรก เพื่อระบบสามารถเติบโตได้จะสามารถเพิ่ม Block ได้รวดเร็วขึ้น โดยสมมุติสถานการณ์ต่อไปนี้

สมมุติว่า เรามีเงิน 1000 USD หรือ 30,000 บาทโดยประมาณฝากเข้ามาบัญชีพักเงินและกระจายเงินเป็น Block โดยแบ่งเป็นบล็อคตามที่กำหนดคือ แบ่ง 5 Block บล็อคละ 200 USD โดยใช้สูตรการส่ง Lot และสัญญาณการเทรดตามที่กำหนด

โหมด Nightmare

นี่เป็นโหมดขัดสนครับ ไปลุ้นเอาว่า จะโตหรือจะตาย มันคือ โหมดสำหรับคนทุนน้อย ที่แทนที่จะเริ่มจากเงิน 1000 USD ก็เริ่มแค่เงิน 200 USD แล้วไปวัดกันโดยเงื่อนไขอื่น ๆ ก็เหมือนเดิม โหมดนี้จะค่อย ๆ เริ่มสร้าง Block จาก 0 ความแย่ของมันคือ ถ้าหากล้างพอร์ตก็จบครับ เพราะว่าไม่มีโอกาสได้พลิกฟื้นอะไรขึ้นมา มันไม่ต่างอะไรกับนักเทรดรายย่อยบ้านเราที่เทรดแบบนี้เลย

4 โหมด Nightmare

เริ่มต้น

สำหรับคนที่อยากมาลงทุนเต็มตัว การลงทุนควรเริ่มจากการจัดสรรเงินลงทุน นั่นคือ คุณมีเงินน้อยเท่าไหร่ก็หาร 5 ไปเลย จะ Block น้อยก็ใช้เงินน้อย ๆ ได้เช่นกัน โดยที่ไม่ต้องรีบร้อยโดย นี่คือ จุดเริ่มต้นที่เราแนะนำและเราทดสอบมาแล้วทั้งเงินจริงและระบบ Backtest

5 เริ่มต้น

จะเห็นว่า พอเริ่มต้นก็สะสม Layer ใหม่เลยทันที โดยที่ถ้ากำไรครบ 50 % หรือ 100 USD ก็ถอนออกใส่ Block ใหม่สะสมจนครบ 200 USD จนครบ 4 block นั่นคือ คุณต้องทำกำไรได้ 800 USD หรือเกือบ 80 % ของเงินต้นที่มีเลยทีเดียว พอคุณขึ้น Block ใหม่อีก Layer คุณจะรู้ว่าทำไมคุณถึงโตแบบก้าวกระโดดได้

ขึ้น Layer ใหม่ควรทำอย่างไร

ที่ Layer 3 มันคือ การเอาผลรวมของ Blockที่ 1 Layer 1 กับ Layer 2 มารวมกัน ทำให้คุณไม่ได้เทรด้วย Balance แค่ 200 USD อีกแล้ว เพราะคุณจะได้เงินจาก Block 1 Layer แรก มารวมกับ Block 1 Layer 2 รวมกัน รวมเป็น คุณสามารถเทรดที่ Block นี้ด้วยเงิน 400 USD และ Lot เทรดเท่ากับ 0.2 แต่ว่าเวลากำไร คุณจะถอนเมื่อ 25 % หรือก็คือครบ 100 USD คุณก็ถอน เพราะว่า Block ใหม่ที่คุณต้องสร้างมันยังมีขนาด Block ละ 200 USD อยู่นั่นเอง

6 ขึ้น Layer ใหม่ควรทำอย่างไร

ที่ Block แรกของ Layer 3 บัญชีเทรดของคุณคือ 400 USD เมื่อคุณทำตาม Block ได้เต็มแล้ว แต่คุณไม่จำเป็นต้องถอนเงินเมื่อครบ 50 % ให้ถอนเมื่อครบ 25 % หรือก็คือ จำนวนเท่าเดิมก็ถอนก็คือ 100 เหรียญ มันทำให้คุณถึงเป้าหมายได้ง่าย ที่จะสร้าง Layer 3 Block ที่ 1

7 Layer 3 Block ที่ 1

มันคือการรวม 2 Block ซึ่งนั่นคือเงินจำนวน 400 USD จากเงินที่คุณสร้างขึ้นมาทั้งหมด 1800 USD รวมคิดเป็น 22% ของเงินทุนเท่านั้น นั่นคือเหตุผลของการขยับขนาดพอร์ตขึ้น

กรณีกำไร

กรณีกำไร คุณจะได้เทรดพอร์ตละ 400 USD ต่อไปเรื่อย ๆ จนขึ้น Layer ใหม่คุณจะได้เทรดพอร์ตใหญ่ขึ้น 600 และ 800 USD ตามลำดับ

8 กรณีกำไร

กรณี ล้างพอร์ต

เราต้องกลับมาใช้เงินเริ่มต้นที 200 USD อีกครั้งเพื่อเติม และทำการฟื้นฟู Block ที่ขาดทุนไป 2 Block ดังภาพ

9 กรณี ล้างพอร์ต

เมื่อล้างพอร์ต มันจะล้างตรงนี้ถึง 2 บล็อคและสิ่งที่เราต้องทำคือ เราต้องใช้ Block 2 ของ Layer 1 ในการสร้าง Block 1 Layer 1 ใหม่ ซึ่ง จะต้องใช้เวลาเพราะมันต้องสร้างถึง 2 block คือ block 1 layer 1 และ block 1 Layer 2 โดยกลับมาใช้ขนาดพอร์ตเทรดแค่ 200 USD

10 block 1 layer 1 และ block 1 Layer 2

 

หมายเหตุ: จะเห็นว่าเราไม่ได้ใช้ Block ละ 200 ไปตลอดเพราะว่า มันคือการเทรดแบบอนุรักษ์นิยมเกินไป ปล่อยเงินพักไว้เสียโอกาสเกินไป เราจึงทำการเพิ่มขนาดและทำให้การเพิ่มเงินทุนอย่างรวดเร็วด้วย เพราะว่า ทุกครั้งที่เพิ่ม Layer และเพิ่มขนาดหลายคนอาจจะว่าเยอะแต่จริง ๆ แล้วมันประมาณ 20 % เท่านั้น

แต่ถ้าใครคิดว่าอยากเน้นความปลอดภัย คุณสามารถรักษาระดับที่ 200 USD ไปเรื่อย ๆ ได้โดยไม่เพิ่มขนาด Block ในการเทรด

การขึ้น Layer 3 และ 4

สำหรับการขึ้น Layer 3 เมื่อคุณอยู่ Layer 3 จะไป Layer 4 ก็ทำกระบวนการซ้ำกัน คือ ขนาดการเทรด Passive Trading จะเพิ่มขึ้น โดยจะเป็นการรวมกันของ Block 1 ใน Layer 1-3 ทำให้มีเงินในการเทรด Block เท่ากับ 600 USD และจะถอนเมื่อกำไร 100 USD เช่นเดิม เพราะมันบล็อคละ 200 USD

11 การขึ้น Layer 3 และ 4

เมื่อเทรดจนเต็มแล้ว คุณไม่จำเป็นต้องเพิ่มขนาดพอร์ตหรือขนาด Block อีกแล้วเพราะว่า จำนวนเงินมันเยอะพอแล้ว หรือใครอยากจะเพิ่มก็ได้ เพียงแต่พอล้างพอร์ตทีนึงต้องกลับมาเติม 3 – 4 ช่องเลยจำนวนเงินมันค่อนข้างมากพอสมควร ดังนั้น สามารถคงขนาดไว้ที่ 600 USD ในบัญชีเทรดและทำกำไรให้ครบ 200 USD ให้เต็มทุกบล็อคได้เลย

ครบทุกบล็อกในการจัดการ Block แล้วขยายพอร์ตอย่างไร

ขอแสดงความยินดีด้วยพอร์ตของคุณเติบโตมาอย่างมีประสิทธิภาพและทำกำไรได้อย่างต่อเนื่อง คุณมาถึงขั้นตอนนี้ด้วยต้องขอบคุณตัวเองที่รักษาวินัยและอดทนทำตามระบบ น้อยคนที่จะทำตามระบบได้ นั่นคือเหตุผลว่าทำไมถึง ไม่ค่อยมีนักเทรดอาชีพเกิดขึ้นเท่าไหร่

12 ครบทุกบล็อกในการจัดการ Block

เมื่อครบ 200 ทุกบล็อคแล้ว คุณจะมีเงินทั้งหมด 3000 USD คุณทำผลตอบแทนโตมาถึง 300 % ในการบริหารพอร์ต ให้คุณกลับมาเริ่มนับ 1 ใหม่นั่นคือ เอาเงิน 3000 USD มาหาร 5 อีกครั้งและเริ่มกระบวนการใหม่ จะได้ บล็อคละ 500 USD (จะเห็นว่ามันเติบโตแบบก้าวกระโดด) โดยมาเริ่มที่จุดเริ่มต้นใหม่ดังภาพต่อไปนี้

13 เริ่มที่จุดเริ่มต้นใหม่

แล้วเราก็จะทำซ้ำกระบวนการเดิมตั้งแต่เริ่มต้นอีกครั้ง พร้อมพอร์ตลงทุนที่เติบโตอย่างมั่นคง อย่างไรก็ตาม มันไม่ได้ง่ายที่จะบริหารให้ราบรื่น และมีปัญหาสถานการณ์ที่ต้องเรียนรู้อีกมาก คุณต้องการการศึกษาโดยอ่านบทความที่เรามีให้และรับฟังคำแนะนำจากเราเพิ่มเติมได้

ทำไมต้อง Exness

มาถึงตรงนี้แล้วสิ่งที่คุณต้องทำคือเปิดบัญชีเทรด แล้วทำไมเราถึงเลือก Exness ทำไมต้อง Exness สาเหตุของคำตอบนั้นง่ายมาก เพราะว่า

  • Exness ไม่มีค่า Swap เพราะว่าถ้าถืออเดอร์ยาว ๆ หลายชุดอาจจะโดน Swap ได้
  • เรทฝากถอนถูกที่สุดแล้วเท่าที่รีวิวมา ฝากถอนเร็วสุด
  • ไม่มีค่าธรรมเนียม ไม่มีค่าคอมสำหรับบัญชีที่เราเลือก ทำให้ต้นทุนการส่งคำสั่งถูก
  • ชื่อเสียงในเมืองไทยมีมานานแล้ว ไม่ต้องมานั่งระวังพะวงกับเรื่องใบอนุญาต